Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

IMF ชี้ GDP ของโลกปี 2020 จะหดตัว 4.9 % คนจะตกงานมากถึง 300 ล้านคน

แปลโดย Fukurou

IMF ชี้ GDP ของโลกปี 2020 จะหดตัว 4.9 % คนจะตกงานมากถึง 300 ล้านคน

 

วันพุธที่ 25 มิถุนายน 2020

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ชี้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของโลกปี 2020 จะหดตัว 4.9% คนจะตกงานมากถึง 300 ล้านคนและปรับลดคาดการณ์ในปี 2021 จากเดิมที่จะขยายตัว 5.8% ลงมาเหลือเพียง 5.4%

IMF แถลงการณ์ว่าสาเหตุของการปรับลดคาดการณ์ GDP โลกในครั้งนี้เป็นผลมาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบกับภาคเศรษฐกิจรุนแรงกว่าที่คาดไว้ และทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวรุนแรงมากที่สุด นับตั้งแต่เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ในปี 1930 ซึ่งทำให้หลายบริษัทลดการลงทุนลง เช่นเดียวกับการใช้จ่ายและการบริโภคที่ลดลง

IMF แถลงการณ์ว่าสาเหตุของการปรับลดคาดการณ์ GDP โลกในครั้งนี้เป็นผลมาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบกับภาคเศรษฐกิจรุนแรงกว่าที่คาดไว้ และทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวรุนแรงมากที่สุด นับตั้งแต่เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ในปี 1930 ซึ่งทำให้หลายบริษัทลดการลงทุนลง เช่นเดียวกับการใช้จ่ายและการบริโภคที่ลดลง ขณะที่การฟื้นตัวนั้นอาจทำได้ช้ากว่าที่คาดการณ์เนื่องจากหลายประเทศมีความเสี่ยงที่จะพบกับการระบาดในรอบที่ 2 ซึ่งอาจนำมาสู่การใช้มาตรการล็อกดาวน์ 

นอกจากนี้ IMF ได้คาดการณ์ว่าหลายประเทศจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯจะหดตัวมากถึง 8% เศรษฐกิจของญี่ปุ่นหดตัว 5.8% ขณะที่เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซนจะหดตัวมากถึง 10.2% โดยมีเพียงจีนเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1% ขณะที่ในส่วนหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 101.5% ในปีนี้ และเพิ่มขึ้นเป็น 103.2% ในปี 2021 และตัวเลขผู้ตกงานจะสูงถึง 300 ล้านคน   

ทั้งนี้ IMF ยังได้กล่าวว่าเพิ่มเติมว่า อัตราการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้จากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 นั้นขึ้นอยู่กับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลในหลายประเทศ รวมถึงหน่วยงานต่างๆได้ใช้งบประมาณ รวมถึงมาตรการต่างๆในการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นจำนวนเงินสูงถึง 11 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ทุกภูมิภาคของเศรษฐกิจโลกจะได้สัมผัสกับการเติบโตที่ติดลบเป็นครั้งแรก

เศรษฐกิจโลกจะหดตัวลงร้อยละ 4.9 เป็นการหดประจำปีที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 

นับเป็นครั้งแรกที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดการณ์ว่าทุกภูมิภาคจะมีอัตราการเติบโตติดลบในปี 2020

รายงานคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในสหรัฐอเมริกาจะลดลง 8% ซึ่งแย่กว่าที่คาดการณ์เมื่อเดือนเมษายน ที่ร่วงลง 5.9% 

สำหรับประเทศในยุโรป 19 ประเทศที่ใช้เงินยูโร รายงานกล่าวว่าพวกเขาจะมีการเติบโตที่ลดลง 10.7 เปอร์เซ็นต์

รัสเซียและซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกจะหดตัว 6.6% และ 6.8% ตามลำดับ

อินเดียคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 4.5 ​​เนื่องจากการฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ บราซิลและเม็กซิโกซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในละตินอเมริกาคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 9.1 และ 10.5 ตามลำดับ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม้จะมีมุมมองของ IMF ว่าทุกภูมิภาคทั่วโลกจะมีการเติบโตติดลบ แต่ก็คาดว่าจีนจะเติบโตเพิ่มขึ้น 1% ในปี 2020

Tags  GDP
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Fukurou's profile


โพสท์โดย: Fukurou
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: zerotype
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เที่ยวกระบี่ แวะไหว้พระ พร้อมชมธรรมชาติสวยๆรองผู้ว่า กรุงเทพมหานคร ยืนยัน สแกนพบรูปร่างมนุษย์ 6 จุด เกาะกลุ่มกันอยู่ เร่งระดมกำลังช่วยเหลือนักร้องดัง "คีย์" SHINee โดนชาวเน็ตด่าว่า "ยาจก" หลังเปิดบ้านให้ดู
กระทู้อื่นๆในบอร์ด MISCELLANEOUS-จิปาถะ
ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดในรอบ 20 ปี"เจี๊ยบ อมรัตน์"ยอมรับรู้จัก"พ่อกำนันนก"ข้าวปลูกครั้งแรกอย่างน้อย 9,400 ปีที่แล้วในจีนสหรัฐฯยอมยกเลิกการอาญัติกองทุนน้ำมันอิหร่านกว่าสองแสนล้านบาท เพื่อแลกกับนักโทษ 5 คน
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง