หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ประวัติเมืองร้อยเอ็ด

โพสท์โดย tonporkung

 

    พ.ศ. ๒๑๐๓ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้ทำไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในปีพ.ศ. ๒๑๐๖ ได้ย้ายราชธานีไปเวียงจันทน์ สร้างค่ายคูประตูหอรบสร้างวัดพระธาตุหลวงและวัดพระแก้วเปลี่ยนชื่อเมืองเซ่าหรือลานช้าง เป็นหลวงพระบาง   พระไชยเชษฐามีนโยบายเป็นมิตรกับคนไทยด้วยกัน และได้รักษาสัมพันธไมตรีอันดีเมื่อคราวที่พม่ามารบไทย พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้ยกทัพมาช่วย ทำให้พม่าเคียดแค้นจึงได้ยกทัพตีเมืองเวียงจันทน์ได้และพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้หายสาบสูญไป(บ้างว่าอพยพไปหลวงพระบาง) เหตุการณ์ระยะปี พ.ศ. ๒๑๑๒ ถึง ๒๑๓๓ พม่าได้ปกครองดินแดนลานช้างและพม่ากำลังเสื่อมอำนาจลงเพราะสิ้นบุเรงนอง ประกอบกับได้ทำสงครามติดพันกับกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (๒๑๓๓–๒๑๔๘) จึงทำให้ล้านช้างปลอดจากอิทธิพลพม่า

ในปี พ.ศ. ๒๑๓๔ พระสงฆ์ของเวียงจันทน์ได้ขอให้พม่าส่งพระหน่อแก้วเชื้อพระวงศ์พระไชยเชษฐาธิราชคืนกลับมาเป็นกษัตริย์ เมื่อกลับถึงเวียงจันทน์พระหน่อแก้วได้ประกาศเอกราชจากพม่า แล้วจึงยกทัพไปตีเมืองหลวงพระบางได้ไว้ในอำนาจ และมีความสงบอยู่เกือบร้อยปี

 

 

            เหตุที่ทำให้คนไทยลานช้างต้องอพยพลงใต้นั้น เนื่องจากพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ถึงแก่พิราลัยเมื่อพุทธศักราช ๒๒๓๑ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเพทราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์มีพระราชโอรส ๑ องค์นามว่า เจ้าองค์หล่อ  ซึ่งมีชนมายุ ๓ พรรษา และมีพระนางสุมังคละมเหสี กำลังทรงครรภ์อยู่ด้วย ขณะนั้นมีเสนาบดี ผู้ใหญ่คนหนึ่งชื่อว่า พระยาเมืองแสน มีอำนาจมากกว่าคนอื่นๆ ได้ราชาภิเษกให้แก่เจ้าองค์หล่อราชโอรสครองราชสมบัติ ต่อมาก็ยกตัวเองเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทน โดยอ้างว่าเจ้าองค์หล่อยังเยาว์นัก ประกาศว่าเมื่อเจ้าองค์หล่อเจริญวัยขึ้นจะถวายราชสมบัติ โดยสิทธิ์ขาดในภายหลัง ด้วยเล่ห์เหลี่ยมอันฉลาดแกมโกงของพระยาเมืองแสน  พระยาเมืองแสนก็ได้ครองบัลลังก์ โดยไม่มีการราชาภิเษกแต่อย่างใด ขับเจ้าองค์หล่อจากราชบัลลังก์อย่างเงียบๆ และคิดการจะรับเอามารดาของเจ้าองค์หล่อที่ทรงครรภ์มาเป็นภรรยาของตน แต่มารดาของเจ้าองค์หล่อทราบระแคะระคายจึงพาเจ้าองค์หล่อกับคนสนิทลอบหนีไปขออาศัยอยู่กับเจ้าครูโพนเสม็ด (สมเด็จเจ้าหัวครูโพนเสม็ดอยู่ในตำแหน่งเจ้าหัวครูยอดแก้ว "พระสังฆราช") ซึ่งเป็นที่เคารพและมีลูกศิษย์มาก เจ้าหัวครูโพนเสม็ดเห็นว่าถ้าให้นางอาศัยอยู่ด้วยก็เกรงความครหานินทาทั้งไม่เป็นการปลอดภัยจึงส่งไปไว้ที่ตำบลภูชะง้อหอคำ  และได้ประสูติพระโอรสอีกองค์หนึ่งนามว่า “เจ้าหน่อกษัตริย์” ที่นั้น

ฝ่ายพระยาเมืองแสนเห็นว่า เจ้าหัวครูโพนเสม็ดมีผู้รักใคร่นับถือมาก เกรงว่าจะคิดการแย่งชิงเอาบ้านเมือง จึงคิดการกำจัด แต่เจ้าหัวครูโพนเสม็ดรู้เสียก่อนจึงรวบรวมพวกพ้องเหล่าสานุศิษย์ประมาณ ๓,๐๐๐ คน เดินทางหลบไป เมื่อผ่านไปทางใดก็มีราษฎรอพยพตามไปด้วยจนเดินทางถึงแขวงเมืองบันทายเพชร์ ดินแดนเขมร ฝ่ายพระเจ้ากรุงกัมพูชาได้สั่งให้มีการสำรวจสำมะโนครัวและให้เรียกเก็บเงินจากชาวเวียงจันทน์ ครัวละ ๒ ตำลึง เจ้าหัวครูโพนเสม็ดเห็นว่า เป็นการเดือนร้อนแก่เหล่าศิษยานุศิษย์ จึงอพยพออกจากดินแดนเขมรจนบรรลุถึงเมืองนครกาละจำปากนาคบุรีศรี การเดินทางออกจากเมืองเวียนจันทน์จนถึงนครกาละจำปากนาคบุรีศรีนี้ เจ้าหัวครูโพนเสม็ดต้องอาศัยเจ้าแก้วมงคล (บรรพบุรุษชาวร้อยเอ็ด) เป็นแม่กองใหญ่ และจารย์หวด รองแม่กอง ในการควบคุมดูแลบริวารของท่านมาตลอดทาง

       ฝ่ายนางเภา นางแพง ซึ่งเป็นธิดาของผู้ครองเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรีเมื่อบิดาของนางถึงแก่พิราลัยแล้ว นางก็เป็นผู้บัญชาราชการบ้านเมืองต่อมา จนกระทั่งถึงปีที่เจ้าหัวครูโพนเสม็ดมาถึงเมือง นางทั้งสองทราบข่าวก็มีความเลื่อมใจ จึงพาแสนท้าวพญาเสนามาตย์ออกไปอาราธนาเจ้าหัวครูโพนเสด็ดเข้ามาในเมืองครั้งเวลาต่อมานางและประชาชนมีความเคารพนับถือเจ้าหัวครูโพนเสม็ดมากขึ้น และนางทั้งสองก็ชราลงมากจึงอาราธนาให้เจ้าหัวครูโพนเสม็ดเป็นผู้ช่วยทำนุบำรุงฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักรให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป

เมื่อเจ้าองค์หล่อได้เจริญวัยขึ้นหน่อยก็สามารถไปอยู่ที่ประเทศญวน ต่อมาได้เกลี้ยกล่อมสมัครพรรคพวกได้มากจึงยกกำลังมาล้อมเมืองเวียงจันทน์ เมื่อราว พ.ศ. ๒๒๔๕ จับ พระยาเมืองแสนประหารชีวิต เจ้าองค์หล่อได้ครองราชสมบัติต่อมา

        ครั้น พ.ศ. ๒๒๕๒ ปรากฏว่าชาวเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี บางพวกได้ซ่องสุมพรรคพวกก่อการกำเริบเป็นโจรผู้ร้ายเที่ยวปล้นสะดมในตำบลต่างๆ ทำให้ราษฎรผู้มีความสุจริตธรรมต้องเดือนร้อนทั่วไป เจ้าหัวครูโพนเสม็ดได้พยายามปราบปรามโดยการเที่ยวอบรมสั่งสอนในทางดีก็หาได้ผลไม่ ครั้นจะทำการบำราบปราบปรามโดยอำนาจอาชญา  ก็เป็นการเสื่อมเสียทางพรหมจรรย์ ทั้งจะเป็นที่ครหานินทาของประชาชนทั้งหลาย จึงดำริหาวิธีที่จะระงับเหตุร้ายโดยละม่อมที่สุดก็เห็นว่า เจ้าหน่อกษัตริย์ซึ่งอยู่ที่ตำบลงิ้วพันลำน้ำโสมสนุก เวลานี้ก็ทรงเจริญวัยขึ้นแล้ว และเป็นผู้ประกอบด้วยเกียรติยศเกียรติคุณอันดีงาน สมควรจะปกครองไพร่บ้านพลเมืองให้ได้รับความร่มเย็นได้ จึงจัดให้ท้าวพระยาเสนาบดีแลบ่าวไพร่ออกไปอัญเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์กับพระมารดาเข้ามายังเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี แล้วเจ้าหัวครูโพนเสม็ดก็กระทำพิธียกเจ้าหน่อกษัตริย์ขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินของนครกาละจำบากนาบุรีศรี และได้ถวายพระนามว่า “พระเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร” และได้เปลี่ยนนามเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรีเป็นเมือง “นครจำปาศักดิ์นัคบุรีศรี” ตั้งแต่นั้นมา เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร ได้จัดการปกครองแลปราบปรามยุคเข็ญสงบราบคาบลงได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยมีจารย์แก้วหรือเจ้าแก้วเป็นกำลังสำคัญในการปราบปรามยุคเข็ญนั้น

         เมื่อบ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้ว เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร ก็เริ่มดำริหาเมืองขึ้น โดยให้มีการสร้างบ้านเมืองขึ้นใหม่หลายเมือง แล้วจัดให้บรรดาบุคคลที่มีปรีชาสามารถแลมีผู้รักใคร่นับถือออกไปเป็นเจ้าเมือง (เจ้าเมืองสมัยนั้นก็เสมือนกษัตริย์เมืองขึ้น เพราะการแต่งตั้งตำแหน่งหน้าที่ ตลอดจนคำพูดที่ใช้ในสำนักของเจ้าเมืองนั้นๆ ก็ใช้เป็นราชาศัพท์) ให้จารย์หวดไปสร้างเมืองขึ้นชื่อเมืองโขงตั้งจารย์หวดเป็นเจ้าเมือง ให้ท้าวจันทร์ (นับว่าเป็นน้องเจ้าแก้วมงคล) ไปรักษาเมืองตะโปน เมืองพิน เมืองนอง

ส่วนเจ้าแก้วมงคล หรือจารย์แก้วให้ไปสร้างเมืองทง (สุวรรณภูมิ) ให้เจ้าแก้วมงคลเป็นเจ้าเมือง (ชื่อของเจ้าแก้วมงคลในภายหลังก็ได้นำมาใช้เป็นชื่อเจ้าเมืองและนายอำเภอเมืองนี้ ต่อมาจนถึงรัชกาลที่ ๖ เช่น พระยารัตนวงศา พระรัตนวงศาฯ หลวงรัตนาวงศา (เมืองนี้ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่าเมืองสุวรรณภูมิแล้วยุบลงเป็นอำเภอสุวรรณภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด ราว พ.ศ. ๒๔๕๔)

 

 เจ้าแก้วมงคล ผู้มีเชื้อสายกษัตริย์

   เจ้าแก้วมงคล ผู้สร้างเมืองทุ่งศรีภูมิ เป็นโอรสของเจ้าศรีวิชัย, เป็นพระนัดดาของเจ้ามหาอุปราชศรีวรมงคล, เป็นพระราชปนัดดาของสมเด็จพระเจ้าศรีวรวงษาธิราช(พระมหาอุปราชวรวังโส)  ซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งนครเวียงจันทน์ศรีสัตนาคนหุต

เจ้าแก้วมงคล มีชื่อเรียกอีกอย่างว่าจารย์แก้ว เพราะเคยบวชเป็นศิษย์เจ้าราชครูหลวงวัดโพนเสม็ด

ปี พ.ศ. ๒๒๓๑ สมเด็จพระเจ้าสุริยวงษาธรรมิกราช แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต เสด็จสวรรคต พระยาแสนสุรินทรลือชัยไกรเสนาบดีศรีสรราชสงคราม(ท้าวมละ) ตำแหน่งเมืองแสน(อัครมหาเสนาบดี) ชิงเอาราชสมบัติ เจ้าแก้วมงคลจึงหนีราชภัยลงมาทางใต้พร้อมด้วยเจ้าราชครูหลวงวัดโพนเสม็ด

  ต่อมาปี พ.ศ. ๒๒๕๖ เจ้าแก้วมงคลช่วยเจ้าหน่อกษัตริย์และเจ้าราชครูหลวงสถาปนาราชอาณาจักรล้านช้างฝ่ายใต้สำเร็จ เจ้าหน่อกษัตริย์ขึ้นเป็นพระเจ้ามหาชีวิตทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร สำหรับเจ้าแก้วมงคลนั้นมีผลงานมากอีกทั้งเป็นเชื้อพระวงศ์ล้านช้างด้วย พระองค์จึงมีพระราชโองการให้เจ้าแก้วมงคลนำกำลังคนในสังกัดของตนข้ามแม่น้ำโขงไปยังบริเวณริมแม่น้ำ(แม่น้ำเสียว) ซึ่งเป็นทำเลทุ่งกว้างสำหรับทำนาและให้แหล่งเกลือด้วย แล้วตั้งเป็นเมืองชื่อว่า ทุ่งศรีภูมิ (อำเภอสุวรรณภูมิในปัจจุบัน)ให้เจ้าแก้วมงคล เป็นเจ้าผู้ครองเมือง มีอำนาจสิทธิ์ขาดจัดการบริหารบ้านเมืองแบบอาญาสี่เช่นเดียวกับนครจำปาศักดิ์ทุกประการ

 

  พ.ศ. ๒๒๖๘ เจ้าแก้วมงคล เจ้าเมืองท่งก็ถึงแก่พิราลัยเมื่อมีอายุ 84 ปีมีบุตรรวม ๓ คน คือ

  เมื่อเจ้าแก้วมงคลถึงแก่พิราลัยแล้ว พระเจ้าเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร ก็ตั้งให้เจ้ามืดเป็นเจ้าเมือง เจ้าสุทนต์มณีเป็นอุปราช รักษาบ้านเมือง ต่อไปในภายหลัง เจ้ามืดดำดลเจ้าเมืองถึงแก่กรรมลง เจ้าสุทนต์มณีน้องชายได้เป็นเจ้าเมืองแทน เจ้าสุทนต์มณีผู้นี้นับว่ายังเป็นผู้ยังไม่สิ้นเคราะห์พอขึ้นเป็นเจ้าเมืองไม่ทันไรก็ถูกอิจฉา โดยเจ้าเชียง เจ้าสูนบุตรของเจ้ามืดคำดลซึ่งเป็นหลานชาย อยากเป็นเจ้าเมืองเสียเอง จึงพากันลงไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (เจ้าฟ้าเอกทัศน์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) ณ พระนครศรีอยุธยา ขอกำลังมาทำการขับไล่เจ้าสุทนต์มณีผู้เป็นอา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพรหม พระยากรมท่าออกไปจัดการกับเจ้าเชียง เจ้าสูน โดยมีพระประสงค์จะให้ประนีประนอมกันแต่โดยทางดี

ฝ่ายเจ้าสุทนต์มณีเจ้าเมืองเมื่อทราบข่าวว่ากองทัพกรุงยกมาก็ดำริเห็นว่า เราเป็นเมืองน้อยมีกำลังน้อยไม่สามารถต้านทานกำลังของกองทัพกรุงได้ ถ้าหากมีการต่อสู้กันขึ้นมา คงเป็นฝ่ายย่อยยับจึงอพยพครอบครัวออกไปอยู่ที่ทุ่งตะมุม (หรือขมุม หรือกระหมุม ที่นั่นได้เรียกว่าดงเมืองจอกมาจนทุกวันนี้) ในครั้งนั้นมีประชาชนที่จงรักภักดีติดตามเจ้าสทนต์มณีไปอยู่ที่ทุ่งตะมุมด้วยเป็นจำนวนมาก

  ครั้นพระยาพรหม พระยากรมท่ามาถึงเมืองทงเมื่อทราบว่าเจ้าทนต์มณีได้หนีไปแล้ว จึงมีใบบอกขอตั้งเจ้าเชียงเป็นเจ้าเมือง   ให้เจ้าสูนเป็นอุปราช ได้โปรดพระราชทานตามที่ขอ แต่นั้นมาเมืองทง (ทุ่ง) ก็เป็นอันขาดจากความปกครองของเมืองนครจำปาศักดิ์  ครั้นเรียบร้อยแล้วพระยาพรหม พระยากรมท่าก็ออกไปตั้งสำนักอยู่ที่ทุ่งสนามโนนกระเบา (ในท้องที่อำเภอสุวรรณภูมิ)

เมืองร้อยเอ็ดได้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๖  ปรากฏในพงศาวดารภาคอีสานของหอสมุดว่า สมัครพรรคพวกที่ไปขอขึ้นด้วยเจ้าสุทนต์มณีมากขึ้นทุกที ในที่สุดพระยาพรหม พระยากรมท่าเห็นว่าเจ้าสุทนต์มณีนี้เป็นตระกูลสูงเก่าแก่ และมีความเฉลียวฉลาดประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมเป็นอันดีทั้งมีคนเคารพเลื่อมใสยอมตนเข้าเป็นพรรคพวกเป็นอันมาก สมควรจะเป็นเจ้าเมืองต่อไปอีกได้ จึงพร้อมด้วยเจ้าราชวงศ์เวียงจันทน์ เจ้าหมื่นน้อย เจ้าธรรมสุนทรซึ่งเป็นญาติของเจ้าสุทนต์มณี กับเจ้าเชียง เจ้าสูน มาว่ากล่าวประนีประนอมให้คืนดีกันจนเป็นผลสำเร็จแล้วพระยาพรหม พระยากรมท่าก็มีใบบอกขอยกเอาดงกุ่มขึ้นเป็นเมือง ขอเจ้าสุทนต์มณีเป็นเจ้าเมือง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าสุทนต์มณีเป็นพระขัติยะวงษา  ให้ยกดงกุ่ม (บ้านกุ่มร้าง บ้านกุ่มฮ้างก็ว่า)  อันเป็นเมืองเก่าชื่อเมืองร้อยเอ็ดประตู เป็นเมืองร้อยเอ็ดตามชื่อเดิม ในปี พ.ศ. ๒๓๑๖

ต่อจากนั้นพระขัติยะวงศา (สุทนต์มณี) ได้เริ่มอำนวยการให้ราษฎรแผ้วป่าดงกุ่มสร้างเมืองใหม่ตามมีพระบรมราชโองการ ต่อจากนั้นก็มีการสร้างวัดวาอาราม ปรับปรุงบ้านเมืองในด้านการปกครองการศาสนาตลอดจนส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎรให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

 

***(เหตุที่ให้นามว่า ขัติยะวงษา เพราะเจ้าแก้วมงคลต้นตระกูลเป็นผู้สืบสายจากกษัตริย์เวียงจันทน์)

 

ชื่อเมืองร้อยเอ็ดในเอกสารโบราณ

 

 

  ครั้น พ.ศ. ๒๓๒๖ พระขัติยะวงศา (สุทนต์มณี) ชราภาพลงมาก จึงกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระนิคมจางวาง พระนิคมจางวาง (สุทนต์มณี) ได้โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวศีลัง เป็นพระขัติยะวงษา เจ้าเมืองแทนบิดา ให้ท้าวภูเป็นอุปฮาช ท้าวอ่อนเป็นราชวงศ์ ต่อมาพระขัติยะวงศา (ศีลัง) มีความชอบในราชการสงครามจึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็น พระยาขัติยะวงศาพิสุทธาธิบดี และปี พ.ศ. ๒๓๘๐ หลังจากปราบปรามกบฏเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์สงบราบคาบแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเห็นว่า สามพี่น้องมีความชอบในราชการเป็นอันมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยาขัติยะวงศา (ศีลัง) ขึ้นเป็นพระยาชั้นพานทองและพระราชทานพานทองคำขนาดใหญ่ ๑ ใบ โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวภูเป็นพระรัตนวงศาเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ให้ท้าวอ่อนเข้าไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวงอยู่ในพระบรมหาราชวัง เมื่องพระรัตนวงศา (ภู) ผู้นี้ถึงอนิจ-กรรมแล้ว ก็โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวอ่อนมหาดเล็กออกมาเป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิต่อไป  เมืองร้อยเอ็ดมีความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นเป็นลำดับ 

 

ทิศเหนือ จดอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี

ทิศใต้ จดทุ่งลาดไถ ไปอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ทิศตะวันออก จดลำน้ำยัง ภูพาน

ทิศตะวันตก จดอำเภอภูเวียง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

 

ร้อยเอ็ดปกครองด้วยระบบการปกครองโบราณที่เรียกว่า อาญาสี่  

ระบบอาญาสี่ หมายถึง ตำแหน่งปกครองหัวเมืองในภาคอีสานโบราณตามธรรมเนียมล้านช้าง (ลาว) ซึ่งกำหนดตำแหน่งสำคัญไว้ 4 ตำแหน่งคือ

          1.เจ้าเมือง

          2.อุปราช (อุปฮาด) 

          3.ราชวงศ์

          4.ราชบุตร

 

          ซึ่งตำแหน่งนี้สามารถเลื่อนตำแหน่งกันได้ และส่วนใหญ่จะตั้งคนที่มีเชื้อสายเจ้าเมือง หรือมีเชื้อสายทางราชวงศ์เมืองอื่น ๆ ก็ได้ หากเมืองบริวารที่เล็กกว่า ตำแหน่งอาญาสี่จะเรียกดังนี้

          1.เจ้าเมือง

          2.อัคราช (อัครฮาด)

          3.อัครวงศ์

          4.อัครบุตร

  นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งอื่นแก่ข้าราชการนั้นๆอีกมากมาย เช่น เมืองแสน เมืองจันทร์ และตำแหน่ง เพี้ย ซึ่งเป็นตำแหน่งพิเศษที่เจ้าเมืองเป็นผู้ตั้ง เช่น เพี้ยเมืองแพน (พระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่น) เป็นตำแหน่งเพี้ยในเมืองสุวรรรภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ในพ.ศ. 2440  รัชกาลที่ ๕ ทรงประกาศ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่  ยกเลิกระบบอาญาสี่คือ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร และอื่นๆ มาเป็นผู้ว่าราชการเมือง ปลัดเมือง  ถือเป็นการสิ้นสุดระบบการปกครองแบบอาญาสี่ในเมืองร้อยเอ็ด

 

ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด

 

  ใน ปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ทางราชการได้ย้ายกองพลทหารราบที่ ๑๐ จากจังหวัดอุบลราชธานี มาตั้งกองพลทหารราบที่ ๑๐ ที่จังหวัดร้อยเอ็ด จึงมีถนนสายหนึ่งชื่อถนนกองพล ๑๐ ซึ่งเป็นถนนสู่กองพลดังกล่าว ต่อมาได้ย้ายกรมทหารราบที่ ๒๐ จังหวัดอุดรธานีมารวมในกองพลทหารราบที่ ๑๐ ภายหลังได้ยุบกองพลทหารราบที่ ๑๐ เป็นกองพันทหารม้าที่ ๕ และได้ยุบกองทัพทหารม้าที่ ๕ ไปในที่สุด

 

  ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการจัดระเบียบการปกครอง และการบริหารราชการแผ่นดิน ทรงนำวิทยาการแผนใหม่จากประเทศตะวันตกมาใช้ ทรงตั้งกระทรวงขึ้น ๑๒ กระทรวง มีการแบ่งอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละกระทรวงให้แน่นอนและมีเสนาบดี รับผิดชอบบริหารงานของแต่ละกระทรวง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อยใน หัวเมือง หลังจากนั้นพระองค์ได้ทรงเริ่มการจัดตั้ง มณฑลขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๓๗ โดยรวมหลาย ๆ จังหวัดขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงหรือข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวง ซึ่งก่อนการเปลี่ยนแปลงนี้การปกครองหัวเมืองนั้น อำนาจปกครองบังคับบัญชามีความแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่น หัวเมืองหรือประเทศราชยิ่งไกลไปจากกรุงเทพฯเท่าใด ก็ยิ่งมีอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากการคมนาคมไปมาลำบาก หัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีแต่หัวเมืองจัตวาใกล้ ๆ ส่วนหัวเมืองอื่น ๆ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมืองและมีอำนาจกว้างขวาง แต่การจัดตั้งมณฑลนั้นข้าหลวงหรือข้าหลวงเทศาภิบาลขึ้นตรงต่อส่วนกลาง ปี พ.ศ.๒๔๓๕ ได้จัดตั้งมณฑลขึ้นโดยรวบรวมหัวเมืองเข้าด้วยกันมี ๖ มณฑล คือ มณฑลลาวเฉียง มณฑลลาวพวน มณฑล ลาวกาว มณฑลเขมร มณฑลนครราชสีมาและมณฑลภูเก็ต ซึ่งจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้นต่อมณฑลลาวกาว ปี พ.ศ.๒๔๓๗ ได้จัดระเบียบบริหารมณฑลแบบใหม่เป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้น ๓ มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี และมณฑลราชบุรี ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากมณฑลแบบเก่าและต่อมาได้ตั้งมณฑลต่าง ๆ ขึ้นอีกคือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลกรุงเก่า มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพร มณฑลไทรบุรี ( ภายหลังยกให้อังกฤษ เมื่อปี ๒๔๕๐) มณฑลเพชรบูรณ์ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร มณฑลอีสาน มณฑลปัตตานี มณฑลจันทบุรี และมณฑลมหาราช ซึ่งจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้นต่อมณฑลอีสาน ปี พ . ศ. ๒๔๕๕ ได้แยกมณฑลอีสานเป็น ๒ มณฑล คือ มณฑลอุบล และมณฑลร้อยเอ็ด มณฑลร้อยเอ็ดมี เมืองร้อยเอ็ด เมืองกาฬสินธุ์ เมืองมหาสารคาม ปี พ . ศ. ๒๔๖๕ ได้รวมมณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบล และมณฑลอุดร ขึ้นเป็นภาคเรียกว่า ภาคอีสาน ปี พ . ศ. ๒๔๖๙ ยุบปกครองภาคอีสาน ให้จังหวัดในมณฑลร้อยเอ็ดและมณฑลอุบล ไปขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา ระบอบมณฑลเทศาภิบาลนี้ได้ยกเลิกไปหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ.๒๔๗๕

การจัดรูปการปกครองในปัจจุบัน เมื่อ เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.๒๔๗๕ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุขแล้ว รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.๒๔๗๖จัดระเบียบบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ และได้ยกเลิกระบอบมณฑลเทศาภิบาล ขณะนั้นจังหวัดร้อยเอ็ดมี ๙ อำเภอ คือ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี อำเภอเสลภูมิ อำเภอโพนทอง อำเภออาจสามารถ อำเภอพนมไพร อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอเกษตรวิสัย และอำเภอจตุรพักตรพิมาน ต่อมาได้แบ่งพื้นที่เป็นอำเภอหนองพอก อำเภอปทุมรัตน์ อำเภอเมืองสรวง อำเภอโพธิ์ชัย กิ่งอำเภอโพนทราย และกิ่งอำเภอเมยวดี ต่อมาเมื่อได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๔๙๕ การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยก็เป็นไปตามพระราชบัญญัติฉบับนั้น และถือเป็นหลักหรือรากฐานของการแบ่งส่วนราชการไทยสมัยต่อๆ มา พระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ได้ถูกปรับปรุงแก้ไขโดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ ปี พ.ศ.๒๕๑๕ โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ และให้มีคณะกรรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหาร ราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ 

 

สภาพเมืองร้อยเอ็ดในอดีต

 

1.พระขัติยะวงษา ( ธน ธนสีลังกูร ) 2308 – 2326 

2.พระยาขัติยะวงษา ( สีลัง ธนสีลังกูร ) 2326 – 2389 

3.พระขัติยะวงษา ( อินทร์ ธนสีลังกูร ) 2389 – 2392 

4.พระขัติยะวงษา ( จันทร์ ธนสีลังกูร ) 2392 – 2408 

5.พระขัติยะวงษา ( สาร ธนสีลังกูร ) 2408 – 2419 

6.พระขัติยะวงษา ( เสือ ธนสีลังกูร ) 2420 – 2425 

7.พระขัติยะวงษา ( เภา ธนสีลังกูร ) 2429 – 2434 

8.พ.ท.พระยาพินิจสารา (ทับทิม บุญยรัตพันธุ์) 2434 – 2446 

9.พระยาขัติยะวงษาเอกธิกะสตานันท์ (เหลา ณ ร้อยเอ็ด) 2445 – 2450

10.มหาอำมาตย์โท ม.ล.ธำรงศิริ ศรีธวัช 2455 – 2457 

11.มหาเสวกโทพระยารณชัยชาญยุทธ (ถนอม บุญยเกตุ) 2457 – 2464 

 

1.ม.อ.ต.พระยาสุริยเดชวิเศษฤทธิ์ทศทิศวิชัย (จาบ สุวรรณฑัต) 2451–2464 

2.อ.ท.พระยาแก้วโกรพ (ทองสุข ผลพันธ์ทิน) 2464 – 2469 

3.อ.อ.พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) 2469 – 2470 

4.อ.ค.พระนรินทร์ ภักดี (สุข ทังศุภูดิ) 2471 – 2472 

5.อ.ท.พระวิจารย์ภักดี (เอี๋ยน โอวาทสาร) 2472 – 2476

6.อ.ท.พระชาติตระการ (ม.ร.ว.จิตร คเณจร ณ อยุธยา) 2476 – 2478 

7.หลวงพำนักนิกรชน (อุ่น สมิตตามร) 2478 – 2480 

8.พ.อ.พระศรีราชสงคราม (ศรี สุขวาที) 2480 – 2481 

9.พระบริบูรณ์วุฒิราษฎณ์ (ชุบ ศรลัมภ์) 2481 – 2486 

10.พระบรรณศาตร์สาธร (สง่า คุปตารัตน์) 2487 – 2490 

11.หลวงเดิมบางบริบาล (ไชยศรี กุลฑลบุตร) 2490 – 2490 

12.นายยุทธ จรัญยานนท์ 2490 – 2494 

13.นายสง่า ศุขรัตน์ 2494 – 2495 

14.นายสวัสดิ์ พิบูลย์นครินทร์ 2495 – 2496 

15.ขุนบำรุงรัตนบุรี (กุหลาบ จูฑะพุทธิ) 2496 – 2496 

16.นายสนิท วิไลจิตต์ 2496 – 2497 

17.ขุนอักษรสารสิทธิ์ (พินิต อักษรสารสิทธิ์) 2497-2500 

18.นายกิตติ โยธการี 2500 – 2501 

19.นายสมบัติ สมบัติทวี 2501 – 2502 

20.นายสมาส อมาสตยกุล 2502 – 2507 

 21.นายวิญญู อังคณารักษ์ 2507 – 2509 

22.ร.ต.ต.ชั้น สุวรรณทรรภ 2509 – 2512

23.นายประจักษ์ วัชรปาน 2512 – 2514 

24.นายประมูล ศรัทธาทิพย์ 2514 – 2516 

25.พลตรีชาย อุบลเดชประชารักษ์ 2516 – 2516 

26.นายประมวญ รังสีคุต 2516 – 2517 

27นายประมูล จันทรจำนง 2517 – 2520

28.นายเดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ 2520 – 2520 

29.นายศักดา อ้อพงษ์ 2520 – 2522

30.นายปราโมทย์ หงสกุล 2522 – 2524 

31.นายธวัชชัย สมสมาน 2524 – 2526 

32.นายปรีชา คชพลายุกต์ 2526 – 2528 

33.นายปราโมทย์ แก้วพรรณนา 2528 – 2531

34.นายปรีชา พงศ์อิศวรานนท์ 2531 – 2532

35.นายดำรง รัตนพานิช 2532 – 2533

36.นายสุพร สุภสร 2533 – 2534

37.นายฮึกหาญ โตมรศักดิ์ 2534 – 2537

38.นายมานิต ศิลปะอาชา 2537 – 2538

39.นายวีระ เสรีรัตน์ 2538 – 2541

40.นายอัครพงศ์ พยัคฆันตร 2541 – 2543

41.นายประสงค์ศักดิ์ บุญเดช 2543 – 2544

42.นายกวี มินวงษ์ 2544 – 2546 

43.นายนพพร จันทรถง 2546 – 2549 

44.นายพินิจ พิชยกัลป์ 2549 - 2551

45.นายพงษ์ศิริ กุสุมภ์ 2551-2552 

46. นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์  2552

47.นายธวัชชัย   ฟักอังกูร      2552  -   2553  

48.นายสมศักดิ์  ขำทวีพรหม   2553 - 2555

49.นายวันชาติ  วงษ์ชัยชนะ    2555 

48.นายสมศักดิ์  ขำทวีพรหม   2555 -ปัจจุบัน

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://www.facebook.com/notes/ร้อยเอ็ดซิตี้/ประวัติเมืองร้อยเอ็ด/350419951739054/
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
tonporkung's profile


โพสท์โดย: tonporkung
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: อ้ายเติ่ง, น้องขนุนเป็นสาวแล้ว
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
คู่รักแต่งงาน 10 ปี พร้อมลูกสามคน ผลตรวจ DNA ทำภรรยาช็อกถึงขั้นจะอ้วก!ย้อนดูบ้าน บอสพอล ในสลัมคลองเตย กว่าจะมาเป็นเจ้าของธุรกิจพันล้านวิธีนอนให้หน้าเด็ก หน้าเด็กได้ด้วยการนอน เคล็ดลับความสวยด้วย การนอนหลับ‘กันต์ กันตถาวร’ เคลื่อนไหวแล้ว ชาวเน็ตแห่ถล่มไลก์ หลังเห็นโพสต์นี้หลวงพ่อบิณฑบาตอาหารได้ มอบให้เด็กนร.หญิง นั่งรอตักบาตร รู้สาเหตุมีน้ำตาซึมดราม่าร้อน! เพจเจ๊ม้อยแฉ “ตั๊ก-เบียร์” จัดฉากเซอร์ไพรส์แม่บ้านมิสแกรนด์คอสตาริกา “มากาเรนา แชมเบอร์เลน” ถอนตัวจาก Miss Grand International 2024 หลังเหตุวุ่นวายในกัมพูชาเสน่ห์ของคุณคืออะไร? บ่งบอกได้จากหมายเลขบัตรประชาชนตัวสุดท้ายของคุณ BY หมอกิฟท์นางมารพยากรณ์ผู้นำเกาหลีเหนือ คิม จองอึน ส่งสารอวยพรวันเกิดถึงประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูตินช้าง 'หนูนา' ย้ายจาก 'คุณเล็ก' แล้ว 1 เชือกแบบนี้ก็ได้ ! พี่หนุ่ม กรรชัย ถูกขู่ผ่านข้อความขณะอ่านข่าวอีลอน มัสก์เผยความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เขาเชื่อว่าอยู่เบื้องหลังการพบเห็น UFO ในมะกัน
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สาวงาม Miss Grand International 2024 เยี่ยมชมวัดอรุณ นักท่องเที่ยว แห่ขอถ่ายภาพคึกคักย้อนดูบ้าน บอสพอล ในสลัมคลองเตย กว่าจะมาเป็นเจ้าของธุรกิจพันล้านระอุ มิสแกรนด์ หนีด่วนจากเขมร บอสทนไม่ไหว หอบนางงามกลับไทยด่วนฮิซบอลเลาะห์ชักธงขาว ประกาศหนุนข้อตกลงหยุดยิงในเลบานอนเอาแล้วๆ เอาแล้ว ผู้เสียหายรวมตัวกันแล้ว ใครเสียหายจากบริษัทดาราดัง ต้องเข้ามาที่นี่
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ความรัก ไม่ใช่เรื่องของความสมบูรณ์แบบ!control: ควบคุมทำไม 1 ปีถึงมี 365 วันแต่บางปีมี 366 วัน?prepare: เตรียมพร้อม เตรียมตัว
ตั้งกระทู้ใหม่