แมลงหนอนปลอกน้ำใช้ไมโครพลาสติกสร้างปลอกห่อหุ้มตัว แม้จะสวยงาม แต่แฝงอันตรายมาก
แมลงหนอนปลอกน้ำใช้ไมโครพลาสติกสร้างปลอกห่อหุ้มตัว แม้จะสวยงาม แต่แฝงอันตรายมาก
การดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด ถือเป็นสัญชาตญาณที่มีมาแต่กําเนิดของทุกๆสิ่งมีชีวิตบนโลก เช่นเดียวกันกับ 'Caddisflies' หรือ แมลงหนอนปลอกน้ำ นับเป็นแมลงอีกหนึ่งชนิดที่มีชีวิตที่แสนน่ามหัศจรรย์
รายงานระบุว่า เมื่อเร็วๆนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า แมลง Caddisfly ได้เลือกที่จะสร้างปลอกสำหรับห่อหุ้มตัวเองด้วยขยะพลาสติก โดยการรายงานผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Koblenz-Landau ในประเทศเยอรมนี ได้เปิดเผยว่า แมลง Caddis ได้ใช้ ไมโครพลาสติก (microplastics) ที่มีเพิ่มปริมาณมากขึ้นตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้มองเห็นพวกมันได้ง่ายขึ้น เนื่องจากสีสันของอนุภาคพลาสติกต่างๆ
แมลงหนอนปลอกน้ำ เป็นผีเสื้อราตรีขนาดเล็ก มีปีกใสบาง สองคู่ ตัวอ่อนจะอาศัยอยู่ในน้ำจืดที่ค่อนข้างสะอาด และมีออกซิเจนสูง และพวกมันจะสร้างปลอกขึ้นมาจากเศษ ทราย กรวด เปลือกหอย กิ่งไม้ ใบไม้ หรือสิ่งอื่นใดที่มีขนาดเล็ก จนก่อเกิดเป็นปลอกอย่างสวยงาม
แต่อย่างไรก็ตาม แมลงหนอนปลอกน้ำ ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศแม่น้ำ เนื่องจากพวกมันยังเป็นเหยื่อสำคัญของสัตว์อื่น ๆ อีกหลายชนิดเช่น ค้างคาว กบ และแมงมุม ซึ่งอาจสัมผัสกับวัสดุพลาสติกที่เป็นพิษ หลังจากแมลงหนอนปลอกน้ำเข้าไปได้
ทั้งนี้ ไมโครพลาสติกได้กลายเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากขยะพลาสติกจำนวนมากที่ถูกกระแสน้ำพัดพาเข้าไปในมหาสมุทรและแม่น้ำของโลกในแต่ละปี
จากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่ามีเศษพลาสติกขนาดเล็กเกือบ 2 ล้านชิ้น ต่อ 10 ตารางฟุตของทุกมหาสมุทรในโลก และนักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบไมโครพลาสติกในน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกเป็นครั้งแรก ซึ่งบ่งบอกว่าขยะพลาสติกจากโลกตะวันตกเดินทางไปไกลแค่ไหนหลังจากถูกโยนทิ้งไปในแหล่งน้ำ