อย่าลืมอ่านฉลากโภชนาการ
อย่าลืมอ่านฉลากโภชนาการ
แม้จะมีฉลากโภชนาการอยู่ในทุกบรรจุภัณฑ์ แต่ข้อสงสัยในแง่สารอาหารหรือคำเตือนต่างๆ เกี่ยวกับการทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังคงปรากฎอยู่เป็นคำถามในสังคมช่วงตลอดหลายปีที่ผ่านมา เพื่อเคลียร์ให้ครบจบทุกประเด็น เราจึงรวบรวม 6 คำถามที่คนสงสัยมากที่สุดในโลก อินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไปหา 'พศิษฐ์ คณาศิริชัยนนท์' นักกำหนดอาหารวิชาชีพ และวิทยากรด้านอาหาร เพื่อให้เขาไขข้อสงสัยเรื่องหลักโภชนาการ ภายใต้เส้นสีเหลืองและผงเครื่องปรุงมีอะไรซ่อนอยู่ นี่คือคำตอบที่เราได้แบบไม่ต้องรอ 3 นาทีบทความโดย lucabetasia
ในหนึ่งมื้อกินแค่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อย่างเดียวพอไหม
ถ้าดูฉลากโภชนาการของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแต่ละยี่ห้อ เราจะเห็นว่า แต่ละซองหรือถ้วยล้วนมีชนิดสารอาหารจำกัด ดังนั้นการกินบะหมี่กึ่ง สำเร็จรูปแค่อย่งเดียวในหนึ่งมื้อจึงหนีไม่พันปัญหาที่จะตามมาแน่ๆ คือ การได้รับสารอาหารไม่หลากหลายเพียงพอ หลายคนมักจะแนะนำให้ใส่ วัตถุดิบอย่างอื่นลงไปเพื่อชดชย อย่างน้อยขอให้มีเนื้อสัตว์และผักสักหน่อย ก็ยังดี แต่ถ้าเราเจาะจงลงไปเฉพาะสารอาหารที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมี ในส่วน นี้ก็มีมิติที่นำพูดถึงอยู่เช่นกัน จากตาราง Thai RDI จะเห็นว่าสารอาหารเกือบทั้งหมดล้วนอยู่ใน ปริมาณที่ไม่ได้มากเกินจนน่าเป็นห่วง ยกเว้นแต่เพียงโซเดียม ที่ในบะหมี่ กึ่งสำเร็จรูปแค่หนึ่งซองหรือหนึ่งถ้วยก็มีตัวเลขเกือบเทียบเท่าปริมาณที่ ควรได้รับใน 1 วัน จุดนี้เองทีพศิษฐ์บอกกับเราว่าควรคำนึงถึงมากที่สุด และอยากชวนเราขยายความ
ถ้ากินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากๆ จะเป็นอันตรายหรือเปล่า
กับคำถามนีพศิษฐ์ทำความเข้ใจกับเราในขั้นตันว่าไม่ใช่ แค่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรอก การกินอาหารอย่างเดียวซ้ำๆ ไม่ว่า จะอะไรก็ตามล้วนไม่ดีต่อร่างกายทั้งนั้น สารอาหารที่ได้จะไม่มี ความหลากหลาย แต่ในกรณีของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลอย่างใหญ่หลวงคือโซเดียม ในสภาวะปกติโซเดียมจะทำหน้าที่หลักๆ คือปรับแรงดัน ภายในเซลล์และเป็นกลไกหลักของกระบวนการดูดซึมที่กระเพาะ อาหารและไต ดังนั้นในสภาวะที่โซเดียมมากเกินผลกระทบที่ ตามมาคือโซเดียมในเลือดจะดึงน้ำจากเซลล์เข้ามา สิ่งที่ตามมา ในระยะยาวคืออาการความดันสูงและไตวายเนื่องจากปริมาณ ของโซเดียมที่ไม่สมดุล ทั้งสองอาการนี้เองที่พบในคนไทย ส่วนมากเนื่องจากเราถือเป็นชนชาติที่มีวัฒนธรรมการกิน อาหารติดเค็ม
ใครบ้างที่ห้ามกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โดยเด็ดขาด
ถ้าคิดกันแบบไวๆ เราคงตอบคำถามนี้ได้ทันทีว่าคนที่เสี่ยงหรือเป็นโรคความดันสูง หรือมีอาการไตวาย แต่ในฐานะของนักกำหนดอาหาร พศิษฐ์อธิบายกับเราอย่างลงลึกไป กว่านั้นว่าให้ดูที่ตัวเลขสารอาหารดีกว่า ในแต่ละเคสของความผิดปกติ ปริมาณโซเดียมที่ร่างกายควรได้รับใน 1 วันจะลดลง แตกต่างกันไปตามความหนักของอาการ ดังนั้นในแง่หนึ่งนี่จึงไม่ได้แปลว่าเราไม่สามารถ รับโซเดียมได้แม้แต่มิลลิกรัมเดียว ความเป็นจริงคือเรายังกินอาหารที่มีโซเดียมได้ แต่อยู่ใน ปริมาณที่ 'จำกัด ดังนั้นต่อให้ไม่ใช่ะหกึ่งสำเร็จรูป แต่ถ้าอยากกินอาหารบางอย่างมาก ขอแค่โซเดียมที่ได้รับไม่เกินจำนวนที่ควรจะเป็นก็ถือว่าเพียงพอแล้ว แต่พูดก็พูดเถอะ ถ้าเราป่วยจนถึงกับต้องควบคุมอาหารจริงๆ ใครจะอยากกินของที่ทำร้ายสุขภาพกันล่ะ จริงไหม