พะเยา สถานการณ์ภัยแล้งกระทบต้นกำเนิดน้ำยม แหล่งกักเก็บน้ำ แห้งขอด
พะเยา สถานการณ์ภัยแล้งกระทบต้นกำเนิดน้ำยม แหล่งกักเก็บน้ำ แห้งขอด
วันที่ 7 เมษายน 2563 จังหวัดพะเยาได้ประสบกับปัญหา กับสภาพอากาศที่ร้อนและเกิดความแห้งแล้งขึ้น ส่งผลให้แหล่ง ต้นน้ำยมในเขตพื้นที่อำเภอปง จังหวัดพะเยา อยู่ในสภาพที่แห้งขอดไร้น้ำเนื่องจากปีนี้ฝนแล้งและเกิดความแห้งแล้งรุนแรงที่สุดส่งผลกระทบกับลำน้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงภาคเหนือและเป็นแม่น้ำยมเป็นแม่น้ำสายหลักส่งน้ำสู่เจ้าพระยา ต้นกำเนิดอยู่ที่อำเภอปง จังหวัดพะเยา และชาวบ้านที่อาศัยอยู่ต้นน้ำยม กว่า 5 หมื่นคน ได้รับผลกระทบ ขาดน้ำ ใช้ในการอุปโภคบริโภคและการเกษตร แต่ปีนี้ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมวิกฤตหนัก ไม่มีน้ำไหลลงไปถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ ชาวบ้านต้องได้รับผลกระทบ น้ำไม่พอใช้ จึงต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือโดยด่วน
สภาพลำน้ำยม เหลือแต่ดินทราย และบางจุดชาวบ้านได้มีการสร้างฝายกักเก็บน้ำเอาไว้ทำให้มีน้ำขังอยู่ได้ปริมาณที่แทบจะไม่มี น้ำ หากฝนไม่ตกลงมาคาดว่าน้ำเหนือฝายก็จะแห้งตามไปด้วย ส่งผลกระทบและสร้างปัญหาให้กับชาวบ้าน ต้องขาดแคลนน้ำ ใช้ ในการอุปโภคบริโภคและน้ำใช้ในทางการเกษตร
สำหรับแม่น้ำยมเป็นแม่น้ำสายหลักที่เกิดจากลำน้ำ 2 สาย คือ ลำน้ำควรและลำน้ำงิม ลำน้ำควร เกิดจากลำน้ำคางและลำน้ำปุก ไหลมาบรรจบกันที่บ้านนาอ้อม ตำบลขุนควร เรียกว่าลำน้ำควร ลำน้ำงิม เป็นลำน้ำที่ต้นกำเนิดมาจากดอยภูลังกาไหลผ่านตำบลงิม จึงเรียกว่าลำน้ำงิม ลำน้ำควรและลำน้ำงิมไหลมาบรรจบกันที่เขตติดต่อระหว่างบ้านบุญยืน หมู่ที่ 3 ตำบลนาปรัง กับบ้านเหล่า หมู่ที่ 9 ตำบลควร อำเภอปง จังหวัดพะเยา เรียกว่าแม่น้ำยม มีความยาวประมาณ 700 กิโลเมตร กระแสน้ำไหลผ่านที่ราบสูง จาก จ.พะเยา ผ่านไป จังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก และ พิจิตร ไปบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสงจังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแม่น้ำน่านจะไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เกิดเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายสำคัญของพื้นที่ราบลุ่ม ภาคกลางของประเทศไทยดังกล้าว
นายปาโมกข์ ปิงเมือง ผอ. โครงการชลประทานพะเยา กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดพะเยา น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางขนาดเล็ก และกว๊านพะเยา ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งหมด 60 แห่ง มีปริมาณน้ำเก็บกักรวม 142.119 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 59.321 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 42.68 ของความจุอ่างกักเก็บน้ำ
สำหรับ สถานการณ์น้ำในลำน้ำธรรมชาติ ลำน้ำอิง ปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ที่ น้ำ มี แนวโน้มลดลง มีน้ำไหลผ่าน 0.20 ลบม./วินาที ส่วนลำน้ำยม อยู่ในเกณฑ์ที่มีปริมาณน้ำลดลง เช่นกัน ปริมาณน้ำไหลผ่าน 0.06 ลบม./วินาที ปริมาณน้ำได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงขอฝากถึงประชาชนและเกษตรกรชาวไร่ ช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัด และควรงดการปลูกพืชผักที่ใช้ปริมาณน้ำมาก เพื่อให้น้ำตามแหล่งต่างๆจะได้มีเพียงพอใช้ในการอุปโภคและบริโภค ช่วงฤดูแล้งนี้