ย้อนรอยอดีตกับฉากการต่อสู้กองทัพหนูที่ระบาดหนักที่สุดในออสเตรเลีย
ย้อนรอยอดีตกับฉากการต่อสู้กองทัพหนูที่ระบาดหนักที่สุดในออสเตรเลีย
มนุษย์กับสิ่งมีชีวิตสุดแสบอย่าง "หนู" ที่ดูเหมือนจะเป็นศัตรูคู่อาฆาตกันมานานแสนนาน เนื่องจากมีการขุดค้นทางซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นฟันของหนู และทำให้พบว่าเจ้าสัตว์ฟันแทะสายพันธุ์นี้ได้เข้ามาอยู่ในชุมชนมนุษย์เพื่อคุ้ยหาอาหารมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 15,000 ปีมาแล้ว
ปัญหาการระบาดของ"หนู"ถูกพบมากในเขตที่มีการปลูกข้าวในภาคใต้และทางตะวันออกของออสเตรเลีย โดยมีรายงานว่า ในทุก ๆ สองสามปีประชากรของหนูจะมีขนาดใหญ่และบุกเข้าไปทำลายพืชผลและสวน รวมไปถึงการบุกรุกบ้าน โรงแรม และร้านอาหาร ตามเมืองต่างๆจำนวนมากกว่า 500 ล้านถึงหนึ่งพันล้านตัว
นี่คือภาพของกลุ่มชายหนุ่มที่ยืนอยู่ด้านหลังของกองซากหนูจำนวน 500,000 ตัวที่ถูกจับได้ใน เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1917 ที่เมือง Lascelles รัฐวิกตอเรีย
ทั้งนี้ หนึ่งในการระบาดที่ใหญ่ที่สุด หรือ เหตุหนูระบาดหนักนั้นเกิดขึ้นในปี 2460 เมื่อส่วนต่าง ๆ ของรัฐควีนส์แลนด์และรัฐวิกตอเรีย ถูกหนูรุกรานอย่างแท้จริง พวกมันเข้าไปกัดทำลายข้าวสาลี, รองเท้าบูท, รองเท้า, ผ้าปูโต๊ะ, พรม, ผ้าม่าน, เสื้อผ้าเตียง และหนังสือ
รวมไปถึงการไปกัดทำร้ายเด็กทารกที่นอนหลับในเปลนอน การเคี้ยวผ่านสายโทรศัพท์และโทรเลข กัดแทะที่ตรายางและพัสดุในสถานีรถไฟ และอื่นๆอีกมากมาย
และหลังจากนั้น หนูก็ถูกจับและถูกสังหารนับหมื่นตัวต่อวัน ถือเป็นการจับหนูที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ใน Lascelles รัฐวิกตอเรีย ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของหนูในปี 1917 นั้นมีความสำคัญมาก เพราะถือเป็นตัวทำลายล้างทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยเกิดขึ้นในปี 1993