ผลไม้พื้นบ้าน...ใครเกิดทันบ้างสารภาพมา! (ต่อเวอร์. 3)
ตามที่ ได้นำเสนอ "ผลไม้พื้นบ้าน...ใครเกิดทันบ้างสารภาพมา! ซึ่งเป็นภาพผลไม้ที่คุณอาจจะไม่รู้จักหรือรู้จักอยู่แล้ว ปัจจุบันหากินได้ยากและบางอย่างใกล้ที่จะสูญพันธ์ุ และนำเสนอมาแล้ว 2 เวรอ์ชั่น คือ
เวอร์ชั่น 1 : https://board.postjung.com/1202066
เวอร์ชั่น 2 : https://board.postjung.com/1202253
ดังนั้น เพื่อลดการดาม่าการใช้ภาษา จึงขออนุญาตใช้ภาษาเขียนในครั้งนี้เป็นภาษาอีสาน เนื่องจากชื่อของผลไม้ในแต่ละภาคจะมีชื่อเรียกที่ไม่เหมือนกัน ส่วนคนไทยอีสานนิยมใช้คำว่า “หมาก” หรือ “บัก” สำหรับเรียกชื่อผลไม้ต่างๆ และนิยมใช้คำว่า “อี” คำนำหน้าผักต่างๆ
...มาชมต่อไปเวอร์ชั่น 3 กัน...
1.หมากกล้วยน้อย: ต้นมีลักษณะทรงเตี้ย ผลสุกกินได้จะมีรสหวานหอม แต่ละต้นจะมีกลิ่นที่ไม่เหมือนกัน บางต้นมีกลิ่นวาริลา เหมือนนมแมว จะมีกลิ่นหอมๆ เฉพาะตอนเย็นๆ (ส่งกลิ่นเหมือนดอกกระดังมา)
2.หมากผีผ่วน: แต่ละภาคมีชื่อเรียกไม่เหมือนกัน เช่น นมควาย (ภาคใต้), นมแมวป่า (เชียงใหม่), หำลิง (ตะวันออกเฉียงเหนือ), ติงตัง (นครราชสีมา), ตีนตั่งเครือ (อุบลฯ ศรีสะเกษ), พีพวน (อุดรธานี), สีม่วน (ชัยภูมิ), หำลิง พีพวนน้อย (ภาคอีสาน), นมแมว นมวัว (ภาคกลาง)...มีกลิ่นหอมแรงเวลากลางคืน ผลสุกกินได้มีรสชาติเปรี้ยว ต้องปอกเปลือกออกด้วย
3.หมากม่วงป่า (หมากม่วงกะล่อน): ลูกกลมเล็ก มียางเยอะต้องเอาผลไปแช่น้ำก่อนถึงจะกินได้ ลูกดิบมีรสชาติเปรี้ยวมาก ลูกสุกมีรสหวานและกลิ่นหอมมากถึงที่สุด (โคตรหอม) แต่ละภาคมีชื่อเรียกไม่เหมือนกัน เช่น มะม่วงเทพรส (ราชบุรี), มะม่วงละว้า ละโว้ ขี้ใต้ กะล่อน ราวา ราวอ (ภาคใต้)
4.หมากเม็ก: ใบอ่อนหรือยอดนำมากินเป็นผักมีรสฝาด มัน อมเปรี้ยว ชอบขึ้นตามทุ่งนาใกล้ๆ แหล่งน้ำ ผลมีกลิ่นหอมคล้ายๆแอปเปิ้ล ผลสุกผิวสีขาวโพลนมีรสฝาดอมหวาน..แต่ละภาคมีชื่อไม่เหมือนกัน เช่น ไคร้เม็ด (เชียงใหม่), เม็ก (ปราจีนบุรี), เม็ดชุน (นครศรีธรรมราช), เสม็ด (สกลนคร, สตูล), เสม็ดเขา, เสม็ดแดง (ตราด), เสม็ดชุน (ภาคกลาง), ยีมือแล (มลายู – ภาคใต้)
5.หมากเม่า: โบราณรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ใช้เป็นยาระบาย รสติดเปรี้ยวหวานอมฝาด (ลูกสีแดงเปรี้ยว สีดำจะหวานๆ เปรี้ยวนิดหนึ่ง คือ หวานมากกว่าเปรี้ยว...ส่วนตัวชอบ)
6.หมากข่อย: สมัยก่อนนำต้นข่อยมาแปรงฟันกับเกลือ (ตอนเด็กจัดๆ เคยเห็นรุ่นของพ่อของตาทำอ่ะ..ไม่รู้เหมือนกันจำภาพนั้นได้อย่างไง) ผลแก่จะมีสีเหลืองใสและมีรสหวาน พวกนกชอบกิน
7.หมากข้าวจี่ (พลาขน): ชื่อเรียกเยอะมาก เช่น สากกะเบือละว้า (สุโขทัย), กะปกกะปู (พิษณุโลก), หมากหอม (เหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ), หลาย (แม่ฮ่องสอน), คอมขน (ชัยภูมิ), มลาย (ชลบุรี, จันทบุรี, ตราด), น้ำลายควาย (ใต้), พลา (ยะลา,ปัตตานี, ระนอง), พลาขาว (ชุมพร), พลาลาย (ตรัง), ขี้เถา, คอมส้ม, คอม, เกลี้ยง, ข้าวจี่, ไม้ลาย, ม้าลาย -..- มีลักษณะเป็นไม่ยืนต้นหรือไม้พุ่ม ผนังผลคล้ายแผ่นหนังและมีขน ผลแก่สีเขียว ผลสุกสีม่วงดำ เมล็ดแข็ง ผลสุกรับประทานได้ (บอกตรงๆ ไม่รู้จัก..ใครเคยกิ่วยบอกรสชาติหน่อยจ๊ะ)
8.หมากโคยลิง (คือๆ ขอไม่แปลเป็นภาษากลางนะ 555++): ชื่ออื่น เช่น เครืออีเกิง, โคยลิง เดือยไก่, ตีนไก่, จึงจ๊าบ เจิงจ๊าบ, เล็บไก่...ผลสุกสีแดง รสหวานอมเปรี้ยว กินเป็นผลไม้
9.หมากเดื่อ: แมลงวี่ชอบอยู่ในลูกของมะเดื่อ คนเห็นว่ามันสกปรกก็ดูไม่น่ากิน แต่ต่างประเทศจะให้ความสำคัญกับมะเดื่ออย่างมากเพราะเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ส่วนรสมีความขม ฝาดเปรี้ยว อาจขมหวานนิดนึง (เลยไม่มีใครกินมันกินยาก แต่เอามาทำแบบอมแห้งได้)
10.หมากติดตั่ง: ลูกดิบสีเขียวกินไม่ได้ รอให้สุกสีแดงก่อนกินได้ มีรสเปรี้ยวหวานและคันลิ้นนิดๆ (ใครมีชื่ออื่นบ้างนอกจากหมากติดตั่ง..แชร์คลังความรู้หน่อยจ้า)
11.หมากมาย: รสชาติหวานหอม (อันนี้ไม่รู้เลย...ใครมีชื่ออื่นบ้างนอกจากหมากติดตั่ง..แชร์คลังความรู้หน่อยจ้า)
12.หมากยางต้น หมากน้ำนม ชื่ออินเตอร์ คือ สตาร์แอปเปิ้ล (Star apple) : ลูกดิบรสฝาด สุกแล้วหอมหวาน
13.หมากส้มลม : ใบ ดอก และผลมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้ ยอดอ่อน ใบอ่อน ใบแก่ มีรสเปรี้ยวพอประมาณ (ไม่เปรี้ยวเท่ากับใบมะขามอ่อน) ใช้รับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก เกลือ ลาบ ปลาร้าบอง ป่นกบ ป่นปลา ก้อย กะปอม เป็นต้น บางครั้งใช้แทนใบมะขาม ทำต้มส้มต่าง ๆ เช่น ต้มอึ่ง ต้มยำปลา เป็นต้น
14.หมากสีดาใจแดง (ฝรั่งขี้นก) : ที่มาของชื่อ คือ นกมากินแล้วก็อุจจาระออกมา ต้นสีดาใจแดงก็จะเกิดเอง ส่วนผลภายนอกมีสีเขียวเหมือนฝรั่งทั่วไป แต่จะมีลูกที่เล็กกว่ามาก วิธีสังเกตุว่าสุกหรือยังให้สังเกตุอิเกีย (อิเกีย คือ เเมลงชนิดหนึ่ง) กัดแล้ว ผลสุกจะหอมมาก
15.หมากไฟ : มีรสเปรี้ยวหวาน เป็นฝาแฝดกับหมากละไม
รับชมภาพแล้วเป็นอย่างไรกันบ้าง แน่นอน! บางท่านอาจจะรู้จัก บางท่านอาจจะมึนงงเหมือนกับคนเขียน 555++ บอกตรงๆ ไม่รู้จัก อาจจะเพราะว่าบางพื้นที่ต้นบางชนิดอาจจะขึ้นอยู่กับสภาพภูมิศาสตร์ ลักษณะของพื้นที่
ดังนั้น อยากจะเผยแพร่และฝากให้ลูกๆ หลานๆ ในอนาคต มีความรู้เกี่ยวกับวิธีพื้นบ้าน การเอาตัวรอดเมื่อยามฉุกเฉินได้
(อาจจะมีให้รับชมต่อ เวอร์.4)