ผลไม้พื้นบ้าน...ใครเกิดทันบ้างสารภาพมา! (ต่อเวอร์. 2)
เวลาก็ผ่านไปทุกวัน เมื่อครั้งที่แล้วได้นำเสนอ "ผลไม้พื้นบ้าน...ใครเกิดทันบ้างสภาพ(สารภาพ)มา!" โดยนำเสนอภาพผลไม้ที่คุณอาจจะไม่รู้จักหรือรู้จักอยู่แล้ว เพื่อให้คิดถึงสมัยก่อนที่หากินได้ง่ายกว่าสมัยปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันหากินได้ยากและบางอย่างใกล้ที่จะสูญพันธ์ุ ตามชนบทในแถบภาคอีสานแต่ก่อนยอมรับว่าประเทศไทยอยู่ในช่วงที่ลำบากมาก ไม่มีเงินเพียงพอที่จะซื้อขนม ผลไม้ และของเล่นที่ดีมีคุณภาพ ฉะนั้น ความสุขเล็กของเด็กชนบท คือ การหาของป่ากินเมื่อติดตามพ่อ-แม่ ออกไปทำไร่นา หาของเล่นมาประยุกต์จากวัสดุธรรมชาติในพื้นที่บริเวณนั้น เห็นได้ว่าสามารถสร้างความสุขเล็กๆ น้อยๆ ได้เป็นอย่างดี โดยไม่รู้ว่าขาดแคลนแต่อย่างใด
ดังนั้น เพื่อลดการดาม่าการใช้ภาษา จึงขออนุญาตใช้ภาษาเขียนในครั้งนี้ อาจจะบรรยายไม่ครบสมบูรณ์ เพราะเกิดไม่ทันบางชนิด..จะใช้เป็นภาษาอีสาน เนื่องจากชื่อของผลไม้ในแต่ละภาคจะมีชื่อเรียกที่ไม่เหมือนกัน ส่วนคนไทยอีสานนิยมใช้คำว่า “หมาก” หรือ “บัก” สำหรับเรียกชื่อผลไม้ต่างๆ และนิยมใช้คำว่า “อี” คำนำหน้าผักต่างๆ ...มาชมต่อไปเวอร์ชั่น 2 ได้เลย
1.หมากเกลือ : เป็นจัดเป็นไม้ป่ายืนต้น นำผลมาคั้นน้ำดื่มเพื่อใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เปลือกมาใช้ย้อมผ้าซึ่งให้สีดำ เนื้อไม้ที่มีสำดำนำมาแปรรูปเป็นเครื่องเรือนได้
2.หมากกระเบา : เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลมีขนสั้นๆ เนื้อในมีสีขาวอมเหลือง เนื้อผลที่แก่จัดใช้รับประทานกับนํ้ากะทิ
3.หมากข่าลิ้น : คล้ายๆ ลำใย กินเยอะระวังร้อนใน (ไม่เคย 555++)
4.หมากแข้งโป๊ะ : ลักษณะคล้ายมะเขือเทศ เอาลูกเขียวๆมาตีหน้าผากกันมันแตกดัง โป๊ะ โป๊ะ โป๊ะ เลยเรียกว่า อิโป๊ะผลที่สุก
5.หมากงิ้ว : ผลอ่อนกินได้ นำมาเป็นอาหารได้ เช่น เมี่ยง ตำหมากงิ้ว ผลที่แก่ๆ นำใยสีขาวๆ ไปยัดใส่หมอนและที่นอนได้ ส่วนเปลือกนำไปเป็นเชื้อจุดไฟได้ 555++ (แต่ก่อนไม่มีเตาแก๊ส)
6.หมากเงี่ยงปลาดุก : (เงี่ยง แปลว่า หนวด 555++) ถ้าเหยีบหนามเงี่ยงปลาดุก คือแบบ..โอ้ยยยยย สมชื่อจริงๆ..ผลไม้ชนิดนี้กินได้มั้ย ใครเคยกินช่วยบอกรสชาติหน่อย
7.หมากแซว : (มะกอกน้ำ) ผลไม้ชนิดนี้ยังมีให้กินอยู่ ต้นทนน้ำท่วมเป็นไม้ยืนต้น ผลมีสีเขียว เปลือกบาง รสเปรี้ยวอมฝาด นำผลดิบมากินกับน้ำปลาหวาน พริกเกลือ ดอง แช่อิ่ม
8.หมากเดือยไก่ : กลีบดอกจึงติดกันดูคล้ายเดือยไก่ เป็นผลไม้ รากใช้เป็นส่วนผสมของยาบรรเทาอาการปวดเมื่อยหรือเคล็ดขัดยอก (ส่วนรสชาตินั้นไม่ทราบ...ใครเห็นกินช่วยบอกรสชาติด้วย)
9.หมากแดง : กินที่เม็ดข้างในฝัก (เพิ่งรู้เหมือนกันว่ากินได้ 55+++)
10.หมากตำยาน : ผลอ่อนๆ มีรสฝาดๆ นำมาทำเมี่ยง ยำ ต้ม ก็ได้ (รสชาติเป็นยังไง ใครรู้บอกหน่อย)
11.หมากแต้ : เป็นพืชยืนต้น ดอกดก ลูกแก่เอามาหมกกินได้ เครือหมากแต้เป็นยาสมุนไพร เช่น ส่วนของราก แก้ปวดท้อง แก้บิด แก้ไข้ บำรุงน้ำนม เถา แก้ไข้มาลาเรีย แก้วัณโรค ใบ ใช้ถอนพิษ เบื่อเมา ผล แก้เหน็บชา บำรุงโลหิต (ไม่รู้จักเลย..บอกตรงๆ)
12.หมากถั่วแฮ : รสชาติฝาดๆ แต่กินได้ นำมาทำอาหารเป็นตำเมี่ยง หรือกินกับน้ำพริกปลาร้า (แจ่วบอง..แปลถูกไม่นะ 555++)
13.หมากผ้าอ้อม : มีรสชาติเปรี้ยวๆ หวานๆ มีกลิ่นหอมแบบอ่อนๆ (ใครเห็นกินช่วยบอกรสชาติด้วย..)
14.หมากแฟน : (ไม่ใช่มะไฟนะ) คล้ายๆ กับมะไฟ ทั้งรสชาติและข้างใน ต่างกันที่สีของเปลือก (เคยกิน 2 ครั้ง จำรสชาติไม่ได้แล้ว -..- )
15.หมากลำไซ : นำผลมาทุบเพื่อกินเม็ด ไม่มีรสชาติจะมันๆ (ตอนหา หาอย่างยาก พอทุบแล้วจะกินเหลือเนื้อนิดเดียว 555++...กินมากระวังเมา)
16.หมากลำดวน : ดอกลำดวนนั้นแหละ รู้กันไหมว่าสามารถกินได้? ผลสุกมีสีน้ำเงินดำ มีคราบสีขาว มีรสหวานอมเปรี้ยว (ส่วนตัวเพิ่งรู้เหมือนกันว่ากินได้ 555++)
17.หมากคันจ้อง : ผลอ่อนมีขนนุ่ม ผลแก่เกลี้ยงมีนวลสีขาวรับประทานได้ (ใครเคยกินบอกหน่อยรสชาติเป็นยังไง) รากใช้แช่น้ำดื่ม และอาบแก้ซางเด็ก (ซางเด็ก คือ เบื่ออาหาร ซึม มีเม็ดขึ้นในปาก และคอ ลิ้นเป็นฝ้า) ใบอ่อนรับประทานเป็นผักสด มีรสฝาดหวาน
18.หมากหมาว้อ : (หมาวอ คือ หมาบ้า แปลเป็นภาษาไทยอีกก็คือ สุนัขที่มีอาการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า -*-) ผลสีดำเพราะสุกแล้ว บางต้นฝาด บางต้นหวาน (กินแล้วลิ้นเป็นที่ดำ 555++) ที่เรียกหมาว้อ เพราะต้นหมาว้อเกิดตามป่า ชาวบ้านก็เรียกตามสภาพแวดล้อมว่า "โนนหมาว้อ" ถ้าแปลเป็นไทย คือ เป็นการเปรียบเปรยนั้นเอง
19.หมากหลอด : หมากหลอดมี 2 แบบ แบบชนิดหวาน กับ เปรี้ยว ผลเล็กกว่าสีอ่อนกว่ารสหวานอมฝาด สรรพคุณเป็นยาฝาดสมาน ยาระบาย แก้ท้องผูก เถาใช้แก้ไข้พิษ เปลือกต้นช่วยขับเสมหะ ดอกใช้แก้ริดสีดวงจมูก แก้ปวดศีรษะ และใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่นใช้ทำยาแก้ปวด (บอกตรงๆ ว่าไม่รู้จัก -*-)
20.หมากคายข้าว : ผลไม้ป่าชนิดหนึ่งที่มีผลสุกจะเป็นสีแดง ลักษณะลูกยาวรี ขนาดเท่าไข่ไก่ มีขนสีขาวโดยรอบ นิยมทานผลสุก รสชาติเปรี้ยวอมหวาน (บอกตรงๆ ว่าไม่รู้จัก!! -*-)
รับชมภาพแล้วเป็นอย่างไรกันบ้าง แน่นอน! บางท่านอาจจะรู้จัก บางท่านอาจจะมึนงงเหมือนกับคนเขียน
555++ บอกตรงๆ ไม่รู้จัก อาจจะเพราะว่าบางพื้นที่ต้นบางชนิดอาจจะขึ้นอยู่กับสภาพภูมิศาสตร์ ลักษณะของพื้นที่
ดังนั้น อยากจะเผยแพร่และฝากให้ลูกๆ หลานๆ ในอนาคต มีความรู้เกี่ยวกับวิธีพื้นบ้าน การเอาตัวรอดเมื่อยามฉุกเฉินได้
(อาจจะมีให้รับชมต่อ เวอร์.3)
















