เหตุผลในการประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย
รายชื่อโรคติดต่ออันตราย ตามประกาศของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ตามพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558
- กาฬโรค
- ไข้ทรพิษ
- ไข้เลือดออกไครเมียนคองโก
- ไข้เวสต์ไนล์
- ไข้เหลือง
- โรคไข้ลาสซา
- โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์
- โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก
- โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
- โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา
- โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือโรคซาร์ส
- โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส
- วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก
- โควิด-19
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๔๙ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการ คณะกรรมการด้านวิชาการ
หรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๑๘ หรือคําสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตามมาตรา ๒๒ (๖)
หรือคําสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครตามมาตรา ๒๘ (๖) หรือคําสั่งของเจ้าพนักงาน
ควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๔๕ (๑) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งตามมาตรา ๓๑ ต้องระวางโทษปรับ
ไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๕๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๓๔
(๑) (๒) (๕) หรือ (๖) มาตรา ๓๙ (๑) (๒) (๓) หรือ (๕) มาตรา ๔๐ (๕) หรือไม่อํานวยความสะดวก
แก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๓๙ (๔) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๕๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๓๔
(๓) (๔) (๗) หรือ (๘) หรือมาตรา ๔๐ (๓) หรือ (๔) หรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ตามมาตรา ๓๕ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๓ ผู้ใดไม่อํานวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามมาตรา ๓๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๕๔ เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงาน
ควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๔๐ (๒) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท
หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๕ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคมโรคติดต่อ ตามมาตรา ๔๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
เหตุผลในการประกาศให้โรคทั้ง 14 โรคเป็นโรคระบาดร้ายแรง
1. นำเข้ายาได้กรณีฉุกเฉิน
ตัวอย่าง เช่นผู้ป่วยบางคนอาจไม่ตอบสนองกับยาที่มีอยู่ในประเทศ หากมียาอื่นในต่างประเทศ แม้จะยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน หรือผ่านการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) แต่ตามประกาศนี้จะสามารถนำเข้ามาใช้ในการรักษาผู้ป่วยได้ เพราะถือเป็นกรณียกเว้นเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินหรือสถานการณ์ระบาด
และกรณีที่เป็นผู้ป่วยหรือผู้ต้องสงสัย และเจ้าหน้าที่ลงความเห็นว่าจะต้องเข้ารับการกักกันโรค 14 วัน
2. ห้ามปฏิเสธรักษา
ตามพรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 มาตรา 34(1) กำหนดให้ผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตราย รวมถึงผู้ที่เป็นผู้สัมผัสโรคหรือเป็นพาหะ มารับการตรวจหรือรักษา หรือรับการชันสูตรทางการแพทย์
3. และเพื่อความปลอดภัยอาจดำเนินการโดยการแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกตในสถานที่ที่เจ้าหน้าที่กำหนดจนกว่าจะได้รับการตรวจและการชันสูตรทางการแพทย์ว่าพ้นระยะติดต่อของโรคหรือสิ้นสุดเหตุอันควรสงสัย
สรุป
ใช้เป็นเครื่องมือให้เจ้าหน้าที่ทำงานป้องกันโรคมากขึ้น
นำเข้ายาจำเป็นกรณีฉุกเฉินได้
มีอำนาจกักตัวคนป่วย คุมเข้มคนดื้อรั้นไม่ยอมรักษา