หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

กบฏพระยาทรงสุรเดช เหตุการณ์กบฏอีกครั้งหนึ่งในประเทศไทยหลัง พ.ศ. 2475

โพสท์โดย Somaster

กบฏพระยาทรงสุรเดช (กบฏ 18 ศพ, กบฏ พ.ศ. 2481) เป็นเหตุการณ์กบฏอีกครั้งหนึ่งในประเทศไทย หลังจากการเปลี่ยนแปลงปกครอง พ.ศ. 2475 สำหรับเหตุการณ์นี้นับว่าเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ประเทศไทย และประวัติศาสตร์ไทยต้องจารึก ซึ่งการก่อกบฏของพระยาทรงสุรเดช เป็นเรื่องที่น่าจดจำเป็นอย่างมาก

ที่มาของ กบฏพระยาทรงสุรเดช
กบฏพระยาทรงสุรเดช นับว่าเป็นเหตุการณ์การกล่าวหาว่ามีการกบฏต่อรัฐบาล พันเอก หลวงพิบูลสงคราม หลังจากที่ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงปลายปี พ.ศ. 2481 ในช่วงเวลานั้น และก่อนหน้านั้นไม่นานมีการพยายามลอบสังหารเอาชีวิต หลวงพิบูลสงคราม มากถึง 3 ครั้ง ติดต่อกัน (ลอบยิง 2 ครั้ง, วางยาพิษ 1 ครั้ง)
และหลังจากนั้นไม่นานรัฐบาลโดยกรมตำรวจ ได้มีการจับกุมหลายบุคคลในข้อหากบฏ รวมถึงแม้กระทั่งเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง ก็ถูกกล่าวหาด้วยเช่นกัน ซึ่งหนึ่งนั้นก็คือ พันเอก พระยาทรงสุรเดช 1 ใน 4 ทหารเสือ ผู้ที่กระทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ทั้งหมดได้ถูกฟ้อง และพิพากษาด้วยศาลพิเศษ ที่รัฐบาลเป็นผู้ตั้งขึ้น
โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีทนายเป็นผู้แก้ต่างให้ ที่สุดแม้จะมีการปล่อยตัวหลายบุคคล แต่ทว่าหลายคนก็ถูกจองจำคุก และที่สุดมีการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าทั้งหมด 18 คน ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2482

สาเหตุขงการก่อกบฏ


กบฏพระยาทรงสุรเดช เป็นเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2481 อันเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างตัวของ หลวงพิบูลสงคราม กับพระยาทรงสุรเดช ซึ่งก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 การสนับสนุนพระยามโนปกรณ์นิติธาดา กรณีกบฏบวรเดช
และเหตุการณ์พยายามลอบสังหารหลวงพิบูลสงครามติดต่อกันหลายครั้งก่อนหน้านั้น  ครั้งแรกเกิดขึ้นที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 โดย นายพุ่ม ทับสายทอง ในขณะที่เป็นประธานพิธีการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษ
การลอบสังหารครั้งที่ 2 ที่บ้านพักของตนเอง ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 โดย นายลี บุญตา คนรับใช้ที่สนิท ขณะที่หลวงพิบูลสงครามกำลังจะแต่งกายไปร่วมงานเลี้ยง และวางยาพิษ 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ปีเดียวกัน ในขณะรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับครอบครัว

จุดเริ่มต้นเหตุการณ์


เมื่อหลวงพิบูลสงคราม ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี สืบต่อจากพระยาพหลพลพยุหเสนา เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ฝ่ายพระยาทรงสุรเดช ในขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการโรงเรียนรบ จังหวัดเชียงใหม่ ได้นำนักศึกษาไปฝึกภาคสนามที่จังหวัดราชบุรี และยังได้ถูกคำสั่งให้พ้นจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัดบำนาญ และบังคับให้เดินทางออกนอกประเทศ ซึ่งก็คือเขมรโดยทันที พร้อมด้วยร้อยเอกสำรวจ กาญจนสิทธิ์ ท.ส. ประจำตัว
นอกจากนี้ได้มีการกวาดล้างโดย หลวงอดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จับตายนายทหารคนสนิทของพระยาทรงสุรเดช 3 คน จับกุมผู้ที่ต้องสงสัย จำนวน 51 คน เมื่อเวลาเช้ามืดของวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2481 ประกอบด้วย
*หมายเหตุ* การวางยาพิษพันเอก หลวงพิบูลสงคราม ในขณะกำลังรับประทานอาหารร่วมกับครอบครัว และคนสนิท ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2481 แต่ทว่าได้รอดชีวิตมาได้ หลังจากที่ถูกนำส่งโรงพยาบาลเสนารักษ์หลวงพิบูลสงครามจึงรอดมาได้

การลงโทษ


นักโทษการเมืองทั้งหมดถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำบางขวาง โดยนักโทษประหารชีวิต ถูกทยอยนำตัวออกมาประหารด้วยการยิงเป้าวันละ 4 คน ในเวลาเช้ามืด ในช่วงระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึงวันที่3 ธันวาคม พ.ศ. 2482 จนครบจำนวน 18 คน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ กบฏ 18 ศพ จนถึงทุกวันนี้
แต่ทว่านั่นก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าผู้ถูกลงโทษทั้งหมด มีผู้ใดกระทำผิดจริงหรือไม่ เพราะว่านักโทษทั้งหมดนั้นถูกตัดสินโดยศาลพิเศษ ที่บรรดาผู้พิพากษาคือผู้ที่รัฐบาลแต่งตั้ง และไม่มีทนายจำเลยตามหลักยุติธรรม กบฏพระยาทรงสุรเดช คือการกบฏที่รัฐบาลประกาศว่าเป็นทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีเหตุการณ์ร้ายแรงอะไร
และนอกจากเหตุการณ์ที่เกิดกับหลวงพิบูลสงคราม 3 ครั้งดังกล่าวข้างต้น จึงมีความชัดเจนว่าอุบัติการนี้สร้างขึ้นเพื่อหาเรื่องกำจัดบุคคลที่หลวงพิบูลสงครามเห็นว่าน่าจะเป็นศัตรูของตนเท่านั้น นอกจากนี้นักโทษการเมืองที่เหลือได้รับอภัยโทษ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2487 เมื่อนายควง อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อจากหลวงพิบูลสงครามที่หมดอำนาจลงก่อนจะสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนพระยาทรงสุรเดช ก็ถึงแก่กรรมอย่างยากไร้ในเขมร ก่อนหน้านั้นไม่นาน

การสร้างเป็นภาพยนตร์

จากเหตุการณ์ของกบฏครั้งนี้ และการลงโทษประหารชีวิต ได้มีความคิดที่จะนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ เมื่อ พ.ศ. 2531 ในชื่อเรื่อง “2482 นักโทษประหาร” ซึ่งภาพยนตร์ถูกำกับโดย ยุทธนา มุกดาสนิท โดยมีการวางตัวนักแสดงไว้แล้วมากมาย ได้แก่
1.ฉัตรชัย เปล่งพานิช (หลวงพิบูลสงคราม)
2.สปัน เสลาคุณ (คุณหญิงละเอียด พิบูลย์สงคราม)
3.ศรัณยู วงศ์กระจ่าง (ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน์)
4.สันติสุข พรหมศิริ (ร.ท.ณเณร ตาละลักษณ์ )
5.นพพล โกมารชุน (หลวงวิจิตรวาทการ)
6.เกรียงไกร อุณหะนันทน์ (พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา)
7.สหัสชัย ชุมรุม (หลวงอดุลเดชจรัส)
8.ส.อาสนจินดา (พระยาเทพหัสดิน)
9.ตฤณ เศรษฐโชค (ร.ท.เผ่าพงศ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
10.จรัล มโนเพชร (ร.ท.แสง วัณณะศิริ)
11.สินจัย หงส์ไทย
12.จินตหรา สุขพัฒน์
13.ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย
14.ศักราช ฤกษ์ธำรง
15.วัชระ สิทธิกุล
*หมายเหตุ*การสร้างภาพยนตร์ที่ กล่าวไปแล้วนั้นเป็นเพียงการวางแผนที่จะสร่างแต่ทางด้านของผู้กำกับไม่ได้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้แต่ อย่างใดเพราะเรื่องการกบฎในเป็นประวัติศาสตร์เรื่องหนึ่งที่ผู้ปกครองทุกยุคสมัยที่ต้องการลืม และไม่กล่าวถึง
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: http://thongkum.blogspot.com/2018/08/2475.html
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Somaster's profile


โพสท์โดย: Somaster
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: แสร์, zerotype
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
น้ำใจยิ่งใหญ่! หนุ่มไร้เงินขอติดรถกลับบ้าน เจอผู้ให้เต็มคันสุดอบอุ่น
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
วิธีล้างผักให้สะอาดปราศจากสารพิษตกค้างจริงไหมที่คำว่า ‘Salary’ มาจาก ‘Salt’ เพราะทหารโรมันรับค่าจ้างเป็นเกลือ?อยากโกอินเตอร์? เจาะลึกวิธีหางานต่างประเทศ 2567 แบบถูกกฎหมาย ได้สิทธิเต็มที่ ไม่มีโดนหลอก!ชาวต่างด้าวข้ามฝั่งมาคลอดฟรี คนไทยเสียงแตก งานนี้ใครได้ ใครเสีย
ตั้งกระทู้ใหม่