หมอบรัดเลย์กับภาษาไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ภาษา คือเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของภาษาพูด ภาษาเขียนหรือภาษากาย ย่อมทำให้ผู้ที่สื่อสารกันสามารถเข้าใจซึ่งกันและกันได้ แต่ภาษามีวิวัฒนาการไปตามยุคสมัยและแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ซึ่งทำให้คนต่างยุค ต่างสมัยหรือต่างท้องถิ่นอาจไม่เข้าใจความหมายของภาษาที่ใช้นั้น
ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ ซึ่งเป็นพจนานุกรมไทย-ไทย ที่หมอแดน บีช บรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) ร่วมทำกับอาจารย์ ทัด ซึ่งน่าจะเป็นครูสอนภาษาไทยของหมอบรัดเลย์ และได้นายเมืองมาช่วยทำอีกคน ที่เริ่มตีพิมพ์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2404 จนถึง พ.ศ. 2416 รวมใช้เวลาทั้งสิ้น 12 ปี ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้น มีคำศัพท์หลายคำที่ใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาบรรจุไว้ในพจนานุกรมเล่มนี้ ที่คนในรุ่นปัจจุบันไม่คุ้นเคยหรือไม่เข้าใจความหมาย เช่น คำที่ใช้ด่ากันที่มีความหมายหยาบคาย รุนแรง แต่หากไม่แปลความหมายให้เข้าใจแล้ว คนในรุ่นปัจจุบันอาจไม่รู้สึกถึงความรุนแรงของคำเหล่านั้น เช่น