3 ยานเกราะล้อยาง 8x8 ที่เกิดในประเทศไทย
ในช่วง5ปีที่ผ่านมานี้ มียานเกราะล้อยางที่พัฒนาโดยคนไทยออกมาแล้วถึง3แบบ
1.DTI Black Widow Spider
ยานเกราะล้อยาง8x8แบบแรกที่เปิดตัวออกมา ปี 2558 ในงาน Defense & Security 2015 เพื่อพัฒนายานเกราะขึ้นเองในประเทศ โดย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และ บริษัท อู่ปรีชาถาวร ซึ่งร่วมด้วยการร่วมมือจากบริษัทด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ST.Kinetics ของสิงคโปร์ ซึ่งได้รับการทดสอบประสิทธิภาพไปแล้ว และมียังมีการดำเนินการพัฒนาอยู่ในปัจจุบัน
**ก่อนหน้านี้ มีกลุ่มทางการทหารกลุ่มหนึ่งปล่อยข่าวว่า DTI ได้ยกเลิกการพัฒนายานเกราะรุ่นนี้ไปแล้ว ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด**
2.DTI Amphibious Armored Personnel Carrier (AAPC)
ยานเกราะแบบที่2ของไทย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และ ST.Kinetics แต่เปลี่ยนบริษัทเอกชนในประเทศจากเดิมที่เป็นบริษัท อู่ปรีชาถารวร เป็น บริษัท ช.ทวี ซึ่งการออกแบบนี้ไม่ใช่การนำมาแข่งขันหรือทดแทน ยานเกราะล้อยาง DTI Black Widow Spider แต่เป็นการออกแบบใหม่เพื่อตอบสนองภารกิจของนาวิกโยธินในการยกพลขึ้นบก เปิดตัวในงาน Defense & Security 2017 ปี 2560 ซึ่งตอนนี้ได้มีการส่งมอบให้นาวิกโยธินได้ทดสอบการใช้งานต่างๆแล้ว ซึ่งผลการทดสอบอยู่ในระดับ น่าพอใจ และได้มีการจัดหาไปแล้ว จำนวน 5 คัน
ข้อมูลรถทั่วไป
-ยาว 7-8 ม.
-กว้าง 2-3 ม.
-สูง 2-3.3 ม.
-น้ำหนัก 25 ตัน
ระบบต่างๆ ในตัวรถ
- เครื่องยนต์ดีเซล Caterpillar C9 ขนาด 400 แรงม้า
- ระบบแบบ Full Wheel Drive
- ระบบไฮโดลิคสำหรับการเลี้ยวแยกกับระบบอื่น
- ระบบสูบน้ำออกจากตัวรถ
- ระบบเติมลมยางอัตโนมัติ
- ระบบไฟฟ้า ขนาด 24โวลล์ 200แอมแปร์
- ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ และระบบเซ็นเซอร์เเจ้งเตือนความร้อนภายในรถ
การป้องกัน
- เกราะรอบรถ มาตราฐาน NATO STANAG 4569 ระดับ 2
(กันกระสุนปืนแบบเจาะเกราะขนาด 7.62x39มม. ที่ความเร็วกระสุน 695ม./วิ. ได้ที่ระยะไม่น้อยกว่า 30ม. ,กันแรงระเบิดจากกระสุนปืนใหญ่ขนาด 155มม. ในระยะไม่น้อยกว่า 80ม. ,กันระเบิดหรือกับระเบิดขนาด 6กก.)
- เกราะใต้ท้องรถ มาตราฐานNATO STANAG 4569 ระดับ 2B
(คุณสมบัติแบบเดียวกับระดับ2 แต่กันระเบิดหรือกับระเบิดขนาด 6กก. เฉพาะส่วนกลางใต้ท้องรถ)
สมรรถณะ
- ความเร็วสูงสุดบนถนน ไม่น้อยกว่า 80กม./ชม.
- ความเร็วในน้ำ(สามารถทนความแรงของคลื่นลมในทะเลได้ระดับ2-3) ไม่น้อยกว่า 10-15 กม./ชม.
- ระยะปฏิบัติการ 600กม.
- ไต่ทางลาดชันได้ 45-60 องศา
- ไต่ทางลาดเอียงได้ 30-45 องศา
ความสามารถในการบรรทุก
พลประจำรถ ผบ.รถ 1นาย,พลขับ 1นาย,พลปืน 1 นาย
สามารถบรรทุกทหารได้ 11 นาย
รวมทั้งหมด 14 นาย
อื่นๆ
- ระบบป้องกันสงครามนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี
- ระบบกล้องตรวจการณ์รอบคันและจอแสดงผล
- ระบบวิทยุสื่อสาร
- สามารถติดตั้งป้อมปืน Remote controlled weapon station รองรับปืน 12.7 มม.- 30มม. หรือเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติขนาด40มม.
(ปัจจุบันติดตั้งป้อม ST Engineering ADDER M30 Remote Weapon Station (RWS) turret)
3.Panus Assembly R600
--------------------------------------------
3 Type of 8x8 Wheeled Armored Vehicle which built in Thailand
R600 ของPanus Assembly
ยานเกราะรุ่นใหม่ล่าสุดของ Panus Assembly ซึ่งยานเกราะรุ่นนี้มีความพิเศษคือ เป็นการออกแบบยานเกราะโดยคนไทยทั้งหมด
R600 ถูกออกแบบจากการศึกษาข้อมูลภัยคุกคามรูปแบบต่างๆเพื่อให้ตอบสนองตามความต้องการของกองทัพไทย ทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ และ กองทัพอากาศ
โดยสามารถใช้เป็นรถรบทหารราบ สำหรับหน่วยยานเกราะของกองทัพบก รุ่นสะเทินน้ำสะเทินบก ที่กำลังพัฒนาในรุ่น R600A สำหรับนาวิกโยธิน หรือติดตั้ง อาวุธต่อต้านอากาศยานสำหรับกองทัพอากาศ
นอกจากนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการการใช้งานของกองทัพได้อีกด้วย
โดยทาง Panus Assembly ได้มีการเปิดตัวครั้งแรกในงาน Defense & Security 2019 ที่ผ่านมา
ข้อมูลรถทั่วไป
- ยาว 8.4 ม.
- กว้าง 3.2 ม.
- สูง 2.75 ม.
- น้ำหนัก 25 ตัน
ระบบต่างๆในตัวรถ
-เครื่องยนต์ ขนาด 600แรงม้า จำนวน 1 เครื่องยนต์
-ระบบเสริมเพลา แบบ Mechanical,Two way
-ระบบเติมลมยางอัตโนมัติ
-ระบบพยุงตัว Independent ARM-Type 4 เพลา
-ระบบบังคับเลี้ยว สามารถเลี้ยวทั้ง 8 ล้อ
-อื่นๆ
การป้องกัน
- เกราะรอบรถ,เกราะใต้ท้องรถ มาตราฐาน NATO STANAG 4569 ระดับ 2
(กันกระสุนปืนแบบเจาะเกราะขนาด 76.2x39มม.ที่ความเร็วกระสุน 695ม./วิ. ได้ที่ระยะไม่น้อยกว่า 30ม. ,กันแรงระเบิดจากกระสุนปืนใหญ่ขนาด 155มม. ในระยะไม่น้อยกว่า 80ม. ,กันระเบิดหรือกับระเบิดขนาด 6กก.)
สมรรถณะ
- ความเร็วสูงสุดบนถนน ไม่น้อยกว่า 110กม./ชม.
- ความเร็วในน้ำ ไม่น้อยกว่า 10-14 กม./ชม.
- ระยะปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า 800กม.
- ไต่ทางลาดชันได้ 60 องศา
- ไต่ทางลาดเอียงได้ 40 องศา
- สามารถข้ามสิ่งขีดขวางความสูงประมาณ 0.5 ม.
ความสามารถในการบรรทุก
พลประจำรถ ผบ.รถ 1นาย,พลขับ 1นาย,
สามารถบรรทุกทหารได้ไม่น้อย 15-20 นาย
รวมทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 22 นาย
อื่นๆ
- ระบบป้องกันสงครามนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี
- ระบบกล้องตรวจการณ์รอบคันและจอแสดงผล
- สามารถติดตั้งป้อมปืน Remote controlled weapon station รองรับปืน 12.7 มม.- 30มม. หรือเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติขนาด40มม.
-สามารถติดตั้งระบบต่อต้านอากาศยานได้
-สามารถติดตั้งระบบจรวดต่สู้รถถังแบบนำวิถีได้
-สามารถติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 60,81,120มม.
-ระบบดับเพลิงในห้องเครื่องยนต์และส่วนโดยสาร
นอกจากนี้ยังมียานเกราะล้อยาง 8X8 ของชัยเสรี ซึ่งเป็นแผนการพัฒนาของบริษัทที่อาจจะทำออกมาในอนาคต
ทุกวันนี้เราเห็นได้ว่าศักยภาพของคนไทยที่ออกแบบและพัฒนายานเกราะล้อยาง 8x8ได้ และหลายบริษัทของประเทศเราที่ผลิตยุทโธปกรณ์ และ ยุทธภัณฑ์ บริษัทเหล่านี้ช่วยสามารถที่สร้าง
"อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ"
ให้เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่จะเข้ามาผลักดันเศรษฐกิจของประเทศได้เช่นกัน
แต่ทั้งนี้ประเทศเรายังมีข้อจำกัดหลายๆ จากทาง กฏหมายทำให้เรายังไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และรวมถึงกลุ่มผู้ใช้งานที่ยังขาดความมั่นใจในคุณภาพ
เรายังคงหวังว่ารัฐบาลที่บริหารประเทศอยู่ในขณะนี้ จะเล็งเห็นและสนับสนุน อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศนี้ ให้ได้มาตรฐานสากล สามารถพึ่งพาตัวเอง และ การสร้างเม็ดเงินมุดเศรษฐกิจให้กับประเทศมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ครับ
https://aagth1.blogspot.com/2015/11/defense-security-2015.html
http://www.dti.or.th/pdfimage/index.php?cid=97&cno=5496#page-51-51
https://aagth1.blogspot.com/2017/11/dti-aapc_14.html
https://www.defnetofficial.com/post/panusassembly_unofficial_announcement_new_8x8_apc_thailand_thai_defence_news
https://www.blockdit.com/articles/5de08d744dff35590ad07e64