เรื่องนี้ ควรรู้ไม่รู้ไม่ได้ รีบๆอ่านนะ ต้องอ่านให้ได้ ด่วน
กรมอุทยานฯสำนัก11 ร่วมกับ ศปป.4 กอ.รมน.ใช้มาตราการใหม่ รื้อถอนสวนยางพาราของนายทุนในพื้นที่ป่าไม้ พ.ศ. 2484 โครงการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำก้อ-น้ำชุน จังหวัดเพชรบูรณ์ ภายใน30 วัน ☆
ตามนโยบายของนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายจตุพร บุรษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยฯ นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯให้ดำเนินการเด็ดขาดกับนายทุนผู้บุกรุกป่า
วันนี้ 31 ต.ค. 62 นายนิพนธ์ จำนงสิริศักดิ์ ผอ.สบอ.11 กรมอุทยานฯ พันเอกพงษ์เพชร เกษสุภะ หัวหน้าชุดปฎิบัติการ ศปป.4 กอ.รมน. นายสมชาย ภิญโญชูโต หัวหน้าโครงการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำก้อ-น้ำชุน จ.เพชรบูรณ์ ได้ร่วมกันออกติดป้ายประกาศ ให้นางสุกัญญาฯ นายประเวศฯ ผู้เป็นทายาท หรือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ทำการรื้อถอนสวนยางพารา แปลงที่ 1 เนื้อที่ 66 ไร่ 3งาน 8 ตารางวา จำนวน 5,875 ต้น และแปลงที่ 2 เนื้อที่ 21 ไร่ 1งาน 28 ตารางวา จำนวน 2,173 ต้น รวม 2 แปลง เนื้อที่ 88ไร่ 36 ตาราวา จำนวนยางพารา 8,048 ต้น ที่คณะเจ้าหน้าได้ตรวจยึดนำส่งพนักงานสอบสวนสภ.หล่มเก่า ดำเนินคดีไปเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562 และวันที่ 4 มีนาคม 2562 บริเวณพื้นที่ป่าไม้ 2484 โครงการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำก้อ-น้ำชุน บ้านภูโปด หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านเนิน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
โดยใช้มาตราการใหม่ ไม่ต้องไปฟ้องศาลเพ่งให้บังคับคดีรื้อถอนเหมือนเมื่อก่อนที่ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะรื้อถอนได้ ตามหนังสือกรมอุทยานแห่งชาติฯ ที่ ทส.0906.204/2503 ลงวันที่ 11 กันยายน 2562 ข้อ 2 ต้นไม้ที่ปลูกในพื้นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินในพื้นที่ป่าไม้ 2484 ต้นไม้ที่ปลูกย่อมไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ใด และไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ปลูก พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าวตามหลักวิชาการได้เลย และความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่7) เรื่องเสร็จที่723/2553 ที่ให้ความเห็นว่าพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปทำลายดินกั้นน้ำทะเลในพื้นที่นส.3 ที่ถูกเพิกถอนกลับกลายมาเป็นพื้นที่ป่าไม้ 2484ได้ และพ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 3 มาตรา 63/2 มาตรา 63/21 มาตรา 63/22 ที่ให้ใช้มาตราการบังคับทางปกครองตามกฏหมายวิธีปฎิบัตินี้ได้ ในกรณีกฎหมายอื่นไม่มีมาตราการทางปกครอง หรือมีมาตราการทางปกครองแต่มาตาการทางปกครองต่ำกว่า
หลังจากได้ปิดป้ายประกาศรื้อถอนแล้วก็ให้นางสุกัญญาฯนายประเวศ ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง และฟ้องศาลปกครองได้ ภายใน 90 วัน หากศาลปกครองชั้นต้นไม่มีคำสั่งให้คุ้มครองชั่วคราว แล้ว ถ้าครบกำหนดตามประกาศของเจ้าหน้าที่เมื่อใด คณะเจ้าหน้าที่จะได้ดำเนินการรื้อถอนโดยทันที
อนึ่งในพื้นที่ป่าไม้ 2484 กฏหมายป่าไม้ 2484 ไม่ได้บัญญติให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการรื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง พืชผล อาสิน ไว้ ไม่เหมือนกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติ หรือพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ มีกฎหมายอุทยานแห่งชาติ 2504 มาตรา 22 หรือกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ 2507 มาตรา 25 บัญญติไว้ให้ดำเนินการทางปกครองรื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง พืชผล อาสิน ได้ทันที โดยไม่ต้องรอคดีถึงที่สุด จึงเป็นช่องทางให้นายทุนบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ 2484 อย่างไม่เกรงกลัวกฏหมาย การที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้ออกแนวทางใหม่ในการรื้อถอน สวนยางพาราของนายทุน ในพื้นที่ป่าไม้ 2484 นี้ จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ป่าไม้ 2484 ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติฯในพื้นที่แห่งอื่น จะเข้มข้นและเด็ดขาดต่อไป
ปรีชา นุตจัรส รายงาน