ชาวเน็ตร่วมต่อต้าน!! ฉากมอมเหล้าสาวในละครไทยเพื่อลากไปมิดี มิร้าย
เพจ Drama-addict แชร์โพสต์ อีกประเด็นที่น่ากลัวคือ เรามักเห็นฉากมอมเหล้าสาวในละครไทยเพื่อลากไปข่มขืนบ่อย ตราบใดที่ละครไทยยังมีฉากพวกนี้ และหลายๆกรณีคนทำในละครก็ไม่ได้รับโทษทางกฏหมายใดๆ คนดูที่แยกแยะไม่ได้เขาก็อาจจะซึมซับเรื่องพวกนี้เข้าไปในหัวได้
ด้านเพจต้นเรื่อง เก้ากระบี่เดียวดาย โพสต์ไว้ว่า ...
เมื่อเช้า โพสต์แรก เลยเวลาโพสต์ไปหลายชั่วโมง เพราะเมื่อคืนชั่งใจอยู่ว่าจะชวนสนทนาเรื่องนี้ก่อนดีหรือไม่ แต่สุดท้ายก็ลงบทความ เทียนฟงคนตรง 3000 ปีก่อน เผื่อสหายท่านใดจะพาบุตรหลานไปท่องเที่ยวในวันหยุด
"ปล้ำเลย ปล้ำเลย ปล้ำเลย" เสียงดังแว่วมาจากข้างบ้านในช่วงเวลาที่ละครดาวพระศุกร์กำลังโด่งดัง และ คุณภาคย์ตัวละครพระเอกกำลังจะขืนใจดาวพระศุกร์
"โดนๆสักที เล่นตัวอยู่ได้ โกโบริก็นะ แต่งมาตั้งนานจับปล้ำซะตั้งแต่คืนแรกก็จบ" เสียงแม่ค้าคุยกันกับลูกค้าถึงละครดัง คู่กรรมที่ออกอากาศเมื่อคืน
ข้าพเจ้าเองมิได้ชมชอบการดูละครไทยเสียเท่าไหร่ ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ติดแต่ละครชุดจากฮ่องกง นับว่าเป็นความโชคดีอย่างนึงที่ชีวิตก็ว่าได้
ยังจำได้ดีว่าตอนวัยเยาว์ทางช่องห้ามักจะนำ ละครญี่ปุ่นที่เกี่ยวกับกีฬา พวก "ยอดหญิงชิงโอลิมปิก : จุงโคชิกะ" หรือ การ์ตูนที่เกี่ยวกับกีฬา ต่างๆ มาให้รับชม นับว่าเป็นวาสนาของเยาวชนในยุคนั้น
การนำสื่อบันเทิงมาพัฒนาคนในชาติเป็นสิ่งที่หลายประเทศในเอเซียทำ อย่างญี่ปุ่น ในยุค 70s-80s มักจะเน้นตัวเอกที่เป็นนักกีฬา ทั้งละคร และการ์่ตูน จนคนในยุคนั้นพัฒนาตนเองเป็นนักกีฬาแนวหน้าของโลกหลายต่อหลายคน ส่วนเยาวชนที่ดูก็จะรู้ว่าต้องฝึกฝนตนเองอย่างหนักถึงจะประสบความสำเร็จ
เกาหลีก็เช่นกัน เกาหลีมีวัฒนธรรมเรื่องการที่ผู้หญิงแต่งงานไปแล้วจะเป็นสมบัติของบ้านสามีทันที สามีจะมีสิทธิขาดในตัวภรรยา ดังนั้นผู้ผลิตละครจึงสร้างตัวละครพระเอก ให้ความเป็นสุภาพบุรุษ ใส่ใจ ให้เกียรติตัวละครหญิงในเรื่อง เพื่อปลูกฝังความเป็นสุภาพบุรุษแก่ผู้ชายในชาติ
ฮ่องกงเอง เน้นสร้างละครชุดหรือภาพยนตร์ที่เน้นเรื่องคุณธรรมน้ำมิตร การทำความดีช่วยเหลือผู้คน การตั้งใจทำงานสร้างฐานะให้ตนเอง และการดูแลครอบครัว
วันสองวันนี้มีข่าวการมอมเหล้าพริตตี้เพื่อกระทำชำเรา คนขับแกร๊บแท็กซี่ข่มขืนผู้โดยสาร ขณะที่ผู้สร้างละครไทยบอกกับประชาชนว่า สิ่งที่เขาทำคือการสะท้อนสังคม ต้องถามกลับว่า ทุกวันนี้เราได้อะไรจากการทำละครเพื่อสะท้อนสังคมของเขาบ้าง?
ตัวเลขคดีข่มขืนที่มากขึ้น การชาชินกับข่าวการข่มขืน ล่อลวง เราจะไม่ชาชินจนกว่าคนที่ถูกกระทำจะเป็นคนใกล้ชิด หรือคนที่เรารู้จัก
ที่ข้าพเจ้าเขียนถึงเพื่อชี้ให้เห็นส่วนนึงของปัญหา และยกตัวอย่าง ซึ่งตัวละครพระเอกในละครไทยเมื่อข่มขืนนางเอกเสร็จมักจะพูดประโยคว่า "ขอโทษนะผมเมา" เหมือนกับคำสารภาพของจำเลยในสองสามคดีที่ได้อ่านในช่วงเวลานี้ ที่กระทำผิดเพราะมึนเมา
ทั้งหมดนั้นเกิดจากการนำเสนอการข่มขืนกระทำชำเราที่นำเสนอมาในรูปแบบนวนิยายหรือละครไทย ที่นำเสนอว่า ช่มชืน = พระเอก หรือไม่?
ปัจจุบันมีหน่วยงานรัฐเข้าไปดูแลตรวจสอบสื่อมากมาย เซ็นเซอร์ไปถึงหัวนมของตัวการ์ตูน แต่บริบทใหญ่อย่างเช่นการข่มขืนแล้วได้เป็นพระเอกในละครกลับไม่ได้รับการตรวจสอบ
เรื่องนี้สมควรที่ถูกผลักดัน ให้มีการตรวจสอบการนำเสนอละครในรูปแบบนี้หรือไม่ ก่อนที่จะมีอีกหลายคนที่ต้องเจ็บปวดหรือสูญเสียกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นนี้ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า
ปล ต้องขออภัยที่นำเสนอประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เคยได้นำเสนอ
คอมเม้นต์ชาวเน็ตทั้ง 2 เพจ
อ้างอิงจาก: https://www.facebook.com/DramaAdd/
https://www.facebook.com/9independentswords/posts/497960664115636?__xts__[0]=68.ARAnoVHY2f20b0T8s6Ov8LmaqxPuWgOVbxChZLY6U9nTtzOsGseI9k1TaPyW5hDQL__zJ3PJQa5KejQBKYCCurffC7LqoXj_VesGMqLRZ7WDsQi0WJuf5pZaM5hvkZ-HkiMY7gPP-_3V6OJ7u8UdlFKJyHg4KrHVg0LC_c-UosSd3EXGT4g_Ew79uItcTJS8FLes--xj7gcCWGU5iA-GUhu7D1dO7TzwoPrvNhi_6Gmvu2tWS77KicD0BUZjNlk8Au8qFGx_GkdBRpy4Y9BJcMWLLF02S05UIyVAlYqNW9WTBoQps-lvakX3W6CUi-HyaAaV6oTO0xywQerBOTI5bjg&__tn__=-R