เผยความเหลื่อมล้ำ!! สังคมไทยจากมุมมองคนญี่ปุ่น การใช้ชิวิต การศึกษา ยัน ถนน ฟุตบาท
เมื่อเพจ JapanPerspective โพสต์เรื่องราวที่มีหลายคน อ่านแล้วคอมเม้นต์ไว้ว่า มันจริงทุกประการ เรื่องความเหลื่อมล้ำของไทย ที่มองลึกๆ ถึง การใช้ชิวิต ขอบคนกรุง ,การศึกษา,ระบบสาธารณะสุข, ขนส่งมวลชน ยัน ถนน ฟุตบาท ที่แจกแจงมาแต่ละหัวข้อหลักๆ มันจริงแค่ไหน ลองมาดูกัน
『 ความเหลื่อมล้ำสังคมไทยจากมุมมองคนญี่ปุ่น 』
เคยคุยกับคนญี่ปุ่น จากสมัยก่อนที่แค่มาเที่ยวเมืองไทย จนได้มาอยู่อาศัย เวลาผ่านไปหลายปีได้เรียนรู้และมองเห็นอะไรหลายอย่าง และนี่คือมุมมองของเขาที่ผมว่าน่าสนใจไม่น้อย
.
"ความเหลื่อมล้ำ" หรือก็คือ ความแตกต่างเกินไประหว่างสองสิ่งที่เปรียบเทียบกัน (ความไม่เท่าเทียม)
เวลาเราพูดถึงความเหลื่อมล้ำ เรามักนึกถึง "รายได้" ระหว่างคนจน x คนรวย ที่ห่างกันมากเหลือเกิน เป็นความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
แต่ความจริงความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยมีมิติที่ซับซ้อนกว่านั้นมาก และล้วนสอดแทรกอยู่ในชีวิตประจำวันของเราทุกคน อาทิเช่น
。。。。。。。。。。。。。。
กรุงเทพ x ต่างจังหวัด
ไทยรวมความเจริญแทบทุกอย่างมาลงที่กรุงเทพอย่างเดียว ทิ้งห่างเมืองรองทุกภูมิภาคแบบไม่เห็นฝุ่น เวลาออกนอกกรุงเทพแล้วเหมือนไปคนละประเทศ
ขณะที่เมืองใหญ่ของญี่ปุ่นรองจากโตเกียว มีการพัฒนาเมืองที่สูงไม่น้อยหน้ากระจายทุกภูมิภาค เราคุ้นชื่อดีอยู่แล้ว: โอซาก้า - โยโกฮาม่า - นาโกย่า - ฮิโรชิม่า - ซัปโปโร ฯลฯ
。。。。。。。。。。。。。。
โรงพยาบาลรัฐ x เอกชน
ครั้งแรกที่เดินเข้าโรงพยาบาลเอกชนนึกว่ากำลังเดินเข้าโรงแรม หรูหราอลังการมาก (เช่น BNH)
และพบว่า friendly กับชาวต่างชาติสุดๆ เช่น สมิติเวชตรงสุขุมวิทนี่ถึงกับมีล่ามญี่ปุ่นคอยเทคแคร์ทุกขั้นตอน โรงบาลเอกชนไทยคือหรูหราไฮโซกว่าญี่ปุ่นเยอะ(แถมราคาถูกกว่าด้วย)
แต่เมื่อออกจากเอกชนมาเข้าโรงบาลรัฐเป็นครั้งคราว ก็พบโลกคู่ขนาน ตึกรามอาคารเก่ากึ้ก เตียงผู้ป่วยที่นอนรอให้บริการรายล้อมข้างนอก แลดูทุกข์ทรมานอดสู
จริงอยู่ แม้จะพอรู้ว่ามีอาจารย์หมอจากโรงเรียนแพทย์เก่งๆหลายคน (ซึ่งเอกชนก็ดึงตัวไป) และ เครื่องไม้เครื่องมือบางอย่างก็ไม่ต่างจากเอกชนนัก แต่สภาพแวดล้อม การบริการและราคาก็ช่างแตกต่างกันเหลือเกิน
。。。。。。。。。。。。。。
รถเมล์ x รถไฟฟ้า
แม้แต่ในกรุงเทพเอง ความเหลื่อมล้ำก็สอดแทรกอยู่ทุกอณู รถเมล์ x รถไฟฟ้า เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน
ขึ้น BTS/MRT สะดวกสบายแอร์เย็น ครอบคลุมย่านกลางเมืองระดับหนึ่งและตอนนี้เริ่มขยายออกนอกรอบแล้ว แม้คนจะแน่นไปบ้าง รถไฟเสียบ่อยบ้าง(โดยเฉพาะเช้าวันจันทร์!) แต่ก็ยังมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าโหนรถเมล์
คนขับไม่สุภาพ / ปล่อยให้ขึ้นลงรถเลน 2 ของถนน / แอพไม่ reliable / ชม.นึงมาคัน / และเป็นรถร้อน
ถึงทุกวันนี้เค้ายังสงสัย ทำไมรถเมล์หลายคันถึงยังไม่มีแอร์เสียที ทำไมให้ผดส.สูดดมมลภาวะกันอย่างนั้น (ท่ามกลางรถติด!)
.
.
อีกอย่างคือเรื่อง "ราคา" แน่นอนเค้ามีรายได้ตามมาตรฐานคนญี่ปุ่นจึงไม่มีปัญหาอยู่แล้ว(มองว่าถูก)
แต่พอรู้ฐานรายได้เฉลี่ยคนไทยมากขึ้น รู้เรื่องค่าแรงขั้นต่ำมากขึ้น...BTS/MRT จึงกลายเป็นขนส่ง "มวลชน" ที่ถึงแม้คนรายได้น้อยจะอยากขึ้นก็ขึ้นไม่ไหวเพราะแพงไปตัวเองต้องประหยัด จึงไปขึ้นรถเมล์ที่ถูกกว่า(และคุณภาพต่ำกว่า)แทน 😭😭
.
.
ขณะที่ญี่ปุ่น รถเมล์ไม่ใช่ของห่วยแต่อย่างใด ทำหน้าที่เป็น feeder ทางเลือกป้อนคนสู่รถไฟ ยิ่งสถานีใหญ่ ยิ่งต้องมีฮับรถเมล์ที่ใหญ่ตาม (สังเกตได้มีทุกที่อยู่หน้าสถานี) และทั้งคู่มีราคาเข้าถึงได้ เหมาะสมกับค่าครองชีพ
。。。。。。。。。。。。。。
ถนนใหญ่ x ซอย
กรุงเทพมีโครงข่ายถนนระดับฝั่งละ 3-4 เลนเต็มไปหมด กว้างขวางใหญ่โต และเป็นพื้นที่แรกๆที่ทำการประดับตกแต่ง ปลูกต้นไม้ เอาสายไฟลงดิน...ปรับภูมิทัศน์
แต่แม้ถนนใหญ่จะสวยกว้างขวางแค่ไหน เมื่อเข้ามาในซอย มักมีสภาพที่ต่างกันสิ้นเชิง ซึ่งมักจะเล็กคับแคบ ผิวจราจรเสียหาย เส้นจราจรซีดจาง...ไม่ได้รับการปรับภูมิทัศน์ตามถนนใหญ่ไปด้วยแต่อย่างใด
.
.
ผังเมืองญี่ปุ่นเองก็เป็นลักษณะนี้ ถนนใหญ่-ซอยเล็ก แต่ตัวซอยนั้นได้รับการดูแลที่ดีไม่น้อยหน้า ราดยางเนี้ยบ เส้นจราจรชัด พอเป็นระเบียบเรียบร้อยระดับหนึ่ง
。。。。。。。。。。。。。。
ฟุตปาธ x ถนน
นี่คืออีกหนึ่งความเหลื่อมล้ำที่ชัดเจนที่สุดและเป็นเหมือนกันแทบทุกย่านไม่มีข้อยกเว้น
ถนนใหญ่มักกว้างใหญ่ไพศาลขนาบข้างไปกับฟุตปาธที่เล็กอดสู มองไกลๆต้องซูมดูถึงจะเห็น (เช่น สาทร)
เมื่อถึงคราวปรับภูมิทัศน์ ถนนจะได้รับอภิสิทธิ์ก่อนเสมอ ทางเท้าเป็นเรื่องรอง หลายแห่งถูกกระทำเป็นที่วางป้ายจราจรต่างๆนานา
เมื่อพื้นที่กายภาพจำกัด และถึงคราวต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียสละ... ถนนชนะฟุตปาธเสมอ
หั่นฟุตปาธเพิ่มพื้นที่ถนน เป็นเรื่องที่ได้ยินบ่อยๆ
แต่หั่นถนนเพิ่มพื้นที่ฟุตปาธ กลับเป็นเรื่องที่แทบไม่เกิดขึ้น (หรือไม่เคยเกิดขึ้นเลย)
.
.
ที่ญี่ปุ่นแม้กายภาพจำกัดแค่ไหน แต่ยังบาลานซ์ทั้งคู่ คนต้องพอมีที่เดิน รถต้องพอมีที่วิ่ง(แต่ไม่ถึงกับกว้างใหญ่ไพศาล)
บางแห่งยิ่งถนนกว้าง ฟุตปาธยิ่งต้องกว้างตาม (หรือกว้างกว่าในย่านการค้า)
。。。。。。。。。。。。。。
คนเดินฟุตปาธ x คนใช้ถนน
เมื่อมีฟุตปาธ x ถนน ก็จึงเกิดคนเดินฟุตปาธ x คนใช้รถใช้ถนน...ซึ่งสถานภาพก็ไม่ต่างจากเดิม
เขาพูดติดตลกว่า...
ไม่ว่าคุณจะขับรถยิ่งใหญ่แค่ไหน เมื่อลงมาเดิน...คุณอดสูและควรเจียมเนื้อเจียมตัว
ในทางกลับกัน ไม่ว่าคุณเดินฟุตปาธอดสูแค่ไหน เมื่อขึ้นมาอยู่หลังพวงมาลัย...คุณยิ่งใหญ่
.
.
ซึ่งเป็นเรื่องที่ตรงข้ามกันกับที่ญี่ปุ่น คนขับรถในญี่ปุ่นต้องเจียมเนื้อเจียมตัวและระวังคนเดินมากๆ และคนเดินสามารถเดินข้ามทางม้าลายได้แบบเชิดหน้าชูตาสโลว์ไลฟ์ โดยรถไม่สามารถบีบแตรด่าได้เลย (ด่าได้แต่ในใจ ถถถ)
。。。。。。。。。。。。。。
อ้อ เค้าปิดท้ายด้วยว่า ความเหลื่อมล้ำยังมีเรื่องของ "อากาศ" ด้วยนะ นอกร้อน x เย็นใน
ข้างนอกนี่ร้อนอบอ้าวเหงื่อแตกพลั่ก แต่พอเข้ามาในออฟฟิศ ในรถไฟฟ้า หรือแม้แต่ 7-11 นี่แอร์เย็นเจี๊ยบบบบจนใส่เสื้อหนาวได้เลย 😂
...ผมแซวไปว่า แอร์ 7-11 ยังเย็นสบายกว่าแอร์ชินคันเซ็นด้วยซ้ำ 555
。。。。。。。。。。。。。。
และนี่คือความเหลื่อมล้ำในสายตาเค้า...จริงๆผมว่าเป็นเรื่องที่เราๆรู้อยู่แล้วล่ะเนอะถ้าลองคิดดูดีๆ แต่อาจเพราะอยู่กับมันจนเคยชินเลยมองข้ามไปเท่านั้นเอง
แต่ยังไงก็ตาม ก็เป็นประเด็นที่น่านำมาขบคิดต่อไม่น้อยกับสภาพสังคมที่เป็นอยู่
=======================
ด้านคอมเม้นต์
https://www.facebook.com/JapanPerspectives/
https://www.facebook.com/JapanPerspectives/posts/1329609093882761