หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

รู้จักกระต่ายกันอีกนิด

โพสท์โดย คุณกระต่าย

กระต่าย 🐰🐰🐰
ถือเป็นสัตว์เลี้ยงในกลุ่ม exotic species ที่ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบหรือใช้การดูแลแบบเดียวกับสุนัขและแมวได้ เพราะทั้งลักษณะทางกายวิภาค ธรรมชาติการใช้ชีวิต อาหาร และพฤติกรรมของกระต่ายนั้นแตกต่างจากสุนัขและแมวโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะเรื่องพื้นฐานอย่าง “อาหาร” ที่อยากให้เจ้าของน้องกระต่ายทุกคนหันมาศึกษาข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้น้องกระต่ายได้ชีวิตอย่างมีความสุขตามแบบของเค้า...และอยู่กับพวกเราไปนานๆ
.
รู้หรือไม่
.
🐰 กระต่าย จัดเป็นสัตว์กินพืช (herbivore) ที่มีกระเพาะเดียว (แตกต่างจากโค-กระบือที่มี 4 กระเพาะ)
🐰 กระต่ายอาเจียนไม่ได้ เพราะพวกมันมีหูรูดกระเพาะที่แข็งแรงมาก
🐰 ธรรมชาติกระต่ายจะกินอาหารประมาณ 30 ครั้งต่อวัน นานครั้งละ 3-4 นาที เป็นเหตุให้เราควรวางอาหารและน้ำทิ้งไว้ให้กระต่ายได้กินอย่างเพียงพอตลอด 24 ชั่วโมง (โดยกำหนดปริมาณต่อวัน) ไม่ได้ให้เป็นมื้อๆ เหมือนกับสุนัขและแมว
🐰 Hind gut fermentation กระต่ายไม่ได้ย่อยหญ้าและพืช (สารอาหารจำพวกไฟเบอร์) ที่กระเพาะอาหาร แต่หมักย่อยที่ลำไส้ใหญ่ส่วน caecum (อ่านว่า ซี-กั้ม) ที่มีความจุมากถึง 40% ของทางเดินอาหารทั้งหมด (มากกว่ากระเพาะถึง 10 เท่า)
🐰 กระต่ายกินอึตัวเอง หรือที่เรียกว่า caecotrophy (แตกต่างจาก coprophagy) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งกระบวนการจำเป็นของการย่อยและดูดซึมสารอาหาร
.
ทำไมอาหารไฟเบอร์สูง ถึงสำคัญ?
.
🐰 เมื่ออาหารผ่านกระเพาะและลำไส้เล็กมาแล้ว จะถูกแยกเป็นสองส่วน คือ อาหารที่มีเส้นใยไฟเบอร์ขนาดมากกว่า 0.5 มิลลิเมตร จะผ่านไปสู่ไส้ตรงและทวารหนัก ออกไปเป็นอุจจาระก้อนกลมๆ แข็งๆ ส่วนเส้นใยไฟเยอร์ที่มีขนาดเล็กกว่านั้น จะถูกแยกเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ส่วน caecum
.
🐰 กระต่ายมีแบคทีเรียอยู่ใน caecum ที่จะคอยทำหน้าที่หมักย่อยไฟเบอร์จากหญ้าและพืชต่างๆ จนได้ผลผลิตเป็นสารอาหารที่ดูดซึมได้ โดยกระต่ายได้รับแบคทีเรียเหล่านี้ครั้งแรกจากการกินอุจจาระของแม่กระต่ายตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ต่อมาแบคทีเรียก็เริ่มเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ และทำหน้าที่ของมันเอง ซึ่งกระบวนการนี้จะไม่เกิดขึ้นหากกระต่ายได้รับอาหารที่มีไฟเบอร์ไม่เพียงพอ นอกจากนี้การที่อาหารมีแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) มากเกินไป แบคทีเรียในลำไส้กระต่ายจะหมักย่อยได้เป็นกรด volatile fatty acid ซึ่งจะทำให้ pH ใน caecum กลายเป็นกรดมากขึ้นเรื่อยๆ (แทนที่ควรจะเป็นเบส) แบคทีเรียชนิดดีก็จะทยอยตายไป แบคทีเรียชนิดก่อโรคก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นแทน นั่นคือทำให้เกิดอาการท้องอืด และเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของกระต่ายที่ได้รับสัดส่วนอาหารอย่างไม่ถูกต้อง
.
🐰 เมื่อผ่านไป 8 ชั่วโมง (ส่วนมากตรงกับเวลากลางคืน เจ้าของจึงไม่ค่อยได้สังเกตเห็น) ผลผลิตที่ได้จากการหมักย่อยใน caecum จะออกมาเป็นอุจจาระเม็ดขนาดเล็กๆ และมีเมือกเหนียวหุ้มอยู่ ลักษณะคล้ายพวงองุ่น หรือที่เรียกว่า caecotroph ซึ่งกระต่ายจะกินอึชนิดนี้กลับเข้าไปใหม่ เพราะในอึชนิดนี้มีทั้งแบคทีเรียจำเป็นบางส่วน มีเอนไซม์ และสารอาหารบางขนิดที่สามารถย่อยและดูดซึมได้อีกครั้งที่ลำไส้เล็ก
.
สัดส่วนอาหารที่ควรให้กระต่ายกิน
🥗 หญ้า* 80%
🥗 ผักใบเขียว 10%
🥗 อาหารเม็ด ที่มีองค์ประกอบครบถ้วน 5%
🥗 อาหารอื่นๆ เช่น พืชหัว หรือผลไม้ 5%
*หญ้าและพืชที่ให้กระต่าย ควรมั่นใจว่าไม่มียาฆ่าแมลง
.
สิ่งที่ "ไม่ควร" ให้กินเป็นอาหาร "หลัก" 🙁🙁🙁
.
🥗 พืชที่มีไฟเบอร์ต่ำ (หรือผักกรอบๆ ที่เราไม่ต้องใช้แรงเคี้ยวมาก) เช่น กวางตุ้ง ตำลึง คะน้า กะหล่ำปลี ผักหวาน แตงกวา บวบ
🥗 พืชหัวหรือผลไม้ หลายชนิดแม้จะมีไฟเบอร์สูง แต่ก็มีคาร์โบไฮเดรตสูงเช่นกัน ซึ่งอาจรบกวนสภาพ pH และการหมักย่อยภายในลำไส้ใหญ่ได้ (สามารถให้กินได้บ้างเล็กน้อย เสริมกับหญ้า แต่ต้องไม่ใช่อาหารหลัก) เช่น แครอท (กระต่ายไม่ได้ชอบกินแครอท เพราะฉะนั้นอย่าเข้าใจผิด!) แอปเปิ้ล กล้วย ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ต่างๆ 
.
สิ่งที่ห้ามให้กระต่ายกิน ❎❎❎
.
🥗 พืชที่มียาง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อกระต่ายได้ เช่น ผักบุ้ง
🥗 Grain mix, เมล็ดพืช และถั่วชนิดต่างๆ เพราะมีไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูงที่อาจรบกวนสภาพ pH และการหมักย่อยภายในลำไส้ใหญ่ได้
🥗 ผักกาดแก้ว
🥗 หัวหอม, หอมใหญ่, กระเทียม
🥗 มันฝรั่ง, ขนมปัง, ข้าวโอ๊ต
.
โดยสรุปคือ แม้ว่าอาหารเม็ดบางชนิดจะระบุว่ามีส่วนประกอบไฟเบอร์ % สูงเพียงพอ หรือมีการผสมหญ้าที่ผ่านการตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ปนอยู่ด้วยก็ตาม แต่สัตวแพทย์ก็ยังคงแนะนำให้มีหญ้าหรือพืชไฟเบอร์สูงๆ วางไว้ให้กระต่ายได้เลือกกินเองในทุกๆ วัน (ตลอดทั้งวัน) เพราะนอกจากจะเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมการหากินตามธรรมชาติแล้ว การที่กระต่ายได้ใช้ฟันขบเคี้ยวใยอาหารจากพืชเหล่านั้น จะช่วยลดปัญหาฟันงอกยาวได้อีกด้วย
.
อ้างอิงข้อมูล
http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download…
https://www.unusualpetvets.com.au/…/Rabbit-and-Guinea-Pig-F…

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
คุณกระต่าย's profile


โพสท์โดย: คุณกระต่าย
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
10 อันดับมหาวิทยาลัยไทย ได้คะแนนจากผู้จ้างงานสูง จบแล้วมีโอกาสได้งานทำสูงเบี้ยวไม่ไหว! เจ้าของรถขยะจัดหนัก แก้เผ็ดถึงหน้าบ้านวัดป่าภูทับเบิก วัดสวย ในเพชรบูรณ์10 เทคนิคง่าย ๆ ที่ทำให้บ้านเย็นขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งแอร์เปิดโลกหมึกดัมโบ้ เจ้าสัตว์ทะเลสุดน่ารักที่เหมือนหลุดจากการ์ตูนดิสนีย์"ทุ่งบัวตอง" มหัศจรรย์ทางธรรมที่อยากให้ทุกคนได้มาชม
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เบี้ยวไม่ไหว! เจ้าของรถขยะจัดหนัก แก้เผ็ดถึงหน้าบ้านตำรวจเตือนหญิงขับสกุ๊ตเตอร์ไฟฟ้าขึ้นถนนใหญ่ เจอสวนกลับ ถ้าห้ามขับไปบอกร้านว่าห้ามขายสิ"ทุ่งบัวตอง" มหัศจรรย์ทางธรรมที่อยากให้ทุกคนได้มาชม10 อันดับมหาวิทยาลัยไทย ได้คะแนนจากผู้จ้างงานสูง จบแล้วมีโอกาสได้งานทำสูงวัดป่าภูทับเบิก วัดสวย ในเพชรบูรณ์
กระทู้อื่นๆในบอร์ด Exotic Pet (สัตว์เลี้ยงพิเศษ)
แฮมสเตอร์สายพันธุ์โรโบ อยู่รวมกันได้ไหม?!?? | hamster (clip)ประสบการณ์พี่มีนพาแฮมสเตอร์ไปผ่าเนื้องอก!! | hamster (clip)โรคของแฮมสเตอร์ ภัยใกล้ตัว Hamster (clip)การเลี้ยงแฮมสเตอร์: วิธีสังเกตเมื่อแฮมสเตอร์ "ป่วย" (clip)
ตั้งกระทู้ใหม่