วิถีชีวิต "ควายน้ำ" มรดกเกษตรโลกหนึ่งเดียวของไทย
วิถีชีวิต "ควายน้ำ" มรดกเกษตรโลกหนึ่งเดียวของไทย ว่ายน้ำไกล ดำน้ำกินหญ้าได้นาน อะเมซซิ่งไทยแลนด์!
•
ทุ่งหญ้าที่เป็นแหล่งหากินของควายในทะเลน้อย พัทลุง ต้องจมอยู่ใต้ผืนน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก จึงทำให้ควายในพื้นที่เหล่านี้จำเป็นต้องปรับตัวด้วยการว่ายน้ำเป็นระยะทางไกลขึ้น เพื่อดำน้ำลงไปกินหญ้าที่จมอยู่ใต้น้ำ มันสามารถดำน้ำได้นาน โดยมุดหัวลงน้ำเท้าหลังชี้ขึ้นฟ้ากินหญ้าน้ำได้คราวละหลายนาที
•
ซึ่งสำนักงานเกษตรต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำลังเตรียมผลักดัน การเลี้ยงควายน้ำ ทะเลน้อย จ.พัทลุง ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกเกษตรโลก (GIASH : Globally Important Agricultural Heritage Systems) ภายในปีนี้
•
ชาวบ้านทะเลน้อยพัทลุง นำควายมาเลี้ยงในพื้นที่นานกว่า 100 ปีมาแล้ว เป็นการปล่อยออกไปกินหญ้าเองตามทุ่งหญ้าขนาดใหญ่เหมือนชาวบ้านในพื้นที่อื่น
•
แต่ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ของทะเลน้อยทำให้ในช่วงฤดูน้ำหลาก ทุ่งหญ้าที่เป็นแหล่งหากินของควายต้องจมอยู่ใต้ผืนน้ำเป็นเวลา 5 เดือนใน 1 ปี ส่งผลให้ควายต้องปรับตัวอาศัยหากิน ด้วยการว่ายน้ำเป็นระยะทางไกล เพื่อดำน้ำลงไปกินหญ้าที่จมอยู่ใต้น้ำ
•
บางตัวสามารถดำน้ำได้นานจะมุดหัวลงน้ำ เท้าหลังชี้ขึ้นฟ้ากินหญ้าน้ำได้คราวละ หลายนาที ส่วนลูกควายตัวเล็กจะดำน้ำลงไปทั้งตัว เป็นภาพที่ชาวทะเลน้อยเห็นชินตามาหลายชั่วอายุคน จนเรียกขานควายในทะเลน้อยว่า "ควายน้ำ" ตามลักษณะการหากิน
•
แต่เดิมเป็นควายบ้านที่ชาวบ้านนำมาเลี้ยงแบบปล่อยทุ่งให้หากินหญ้ากันเอง ทำให้มีการผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ จนประชากรควายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีวิถีชีวิตคล้ายควายป่า
•
มันจะมีจ่าฝูงคอยควบคุมพาฝูงออกจากคอกไปหากินในทุกเช้า และกลับเข้าคอกเองในช่วงเย็น บางฝูงอาศัยนอนตามโคกเนิน หรือเกาะแก่งกลางน้ำ
•
จึงเป็นที่มาที่เราเรียกมันว่า "ควายน้ำ" คือควายทะเล (ทะเลน้อย) ในปัจจุบัน
•
ถ้าการขึ้นทะเบียนประสบผลสำเร็จ “ควายน้ำ ทะเลน้อย” นับเป็นปศุสัตว์ชนิดแรกของไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกเกษตรโลก
แหล่งที่มา: https://www.facebook.com/environman.th