หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

Phu Quoc Prison ฟูก๊วก คุกนรกแห่งญวนใต้

โพสท์โดย warrior B

Phu Quoc Prison ฟูก๊วก คุกนรกแห่งญวนใต้

ย้อนเวลากลับไปในสมัยหนึ่ง ในสมัยที่ฝรั่งเศสเรืองอำนาจในแหลมอินโดจีน พวกเขาเก็บเกี่ยวเอาทรัพยากรอันมีค่าของประเทศภายใต้อาณานิคมไปอย่างมหาศาล ทั้งลิดรอนสิทธิเสรีภาพ สัมปทานทรัพยากรป่าไม้ ชลประทาน ระบบเศรษฐกิจ ฯลฯ

ครอบงำราชบัลลังก์กษัตริย์ แทรกแซงเปลี่ยนนโยบายระดับชาติเพื่อกอบโกยเอาผลประโยชน์ ถวายให้กลุ่มนายทุนที่กุมบังเหียนอยู่เบื้องหลังของการล่าอาณานิคม

รูปแบบการปกครองแบบจักรวรรดิ์กึ่งนายทาส สร้างบาดแผลอันโฉดฉกรรจ์ให้กับชาวพื้นเมืองเจ้าของบ้านมาอย่างยาวนาน ซ้ำร้าย ลูกขุนมูลนายก็เข้ารีตข่มเหงชนเชื้อเดียวกันเองอีกด้วย

มิตรสหายเอ๋ย มันเป็นเรื่องธรรมดา เมื่่อมีทรราชย์ ย่อมมีการคอรัปชั่น เมื่อมีการคอรัปชั่นก็ย่อมมีการต่อต้าน คุก จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับนักต่อต้านในนามกบฏ หนึ่งในคุกที่แสนจะทรมานนี้มีชื่อว่า "ฟูก๊วก"

ฟูก๊วก/ฟู้โกว๊ก (Phu Quoc) เป็นชื่อของเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ตั้งอยู่บริเวณอ่าวไทย อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดเกียนซาง เกาะซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นมะพร้าวนี้ มันจึงถูกเรียกให้เข้าใจต่อมาว่า เป็นเกาะต้นมะพร้าวแห่งเชื้อวัณโรค

เพราะเมื่อ พ.ศ. 2410 (ค.ศ.1867)ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองเกาะภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งเหนือโคชินจีนตอนล่าง ระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชา และ เวียดนาม ซึ่งกำลังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนฟูก๊วก เพื่อเป็นการหาข้อยุติ ฝรั่งเศสจึงเข้ามาไกล่เกลี่ยให้ แต่ในที่สุดก็ใช้เล่ห์ทางการเมืองชุบมือเปิบยึดครองเกาะไปโดยปริยาย

ช่วงระหว่างที่ฝรั่งเศสเข้ายึดครองเกาะฟูก๊วกนี้ กองกำลังเวียดมินห์เริ่มแข็งกล้า และการทำสงครามต่อต้านฝรั่งเศสยิ่งทวีความเข้มข้นมากขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 ฝรั่งเศสได้เริ่มสร้างคุกสำหรับกักขังนักโทษทางการเมืองไว้ที่ฟูก๊วกหมู่บ้าน อัน เท่ย (An Thới) มีเนื้อที่โดยรวม 40 ไร่ รองรับนักโทษได้มากถึง 14,000 คน

ในช่วงแรกระยะแรกมักเป็นกลุ่มนักโทษคดีอาญาร้ายแรงที่ต้องโทษ 10 ปีขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่ ที่จะได้สิทธิเข้าจำทัณฑสถานแห่งนี้ แต่ในช่วงที่สงครามอินโดจีนครั้งที่ 1 ทวีความรุนแรงขึ้น คุกฟูก๊วกจึงถูกแปรสภาพให้กลายเป็นค่ายกักกันเชลยศึกในบัดดล

7 พฤษภาคม พ.ศ.2498 กองทัพสหภาพฝรั่งเศสพ่ายแพ้อย่างหมดรูปในยุทธการเดียนเบียนฟู

ฝรั่งเศสกับเวียดนามได้ทำสัญญาสงบศึกที่เรียกว่า อนุสัญญาเจนีวา อันเป็นผลให้สงครามอินโดจีนครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง โดยมีสาระสำคัญซึ่งนอกเหนือไปจากการหยุดยิง

คือ ให้แบ่งเวียดนามออกเป็นสองส่วน เวียดมินห์คุมตอนเหนือ และฝรั่งเศสรวมทั้งกองทัพฝ่ายเวียดนามใต้คุมตอนใต้ของประเทศ โดยใช้เส้นรุ้งที่ 17 เป็นมาตราฐาน ให้มีเขตแดนปลอดทหารด้านละไม่เกิน 5 กิโลเมตร

แต่ในความเป็นจริง กลับมีการปะทะและแทรกซึมโดยกำลังทหารทั้งสองฝ่ายอยู่เป็นระยะ เมื่อเป็นเช่นนั้น ฟูก๊วก ก็ยังคงทำหน้าที่กักขังเชลยศึกเวียดนามเหนือที่ถูกส่งเข้ามามิได้หยุดหย่อน

สามปีก่อนที่สงครามอินโดจีนครั้งที่ 1 จะสิ้นสุดลง สหรัฐอเมริกาหัวหอกในการทำสงครามต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในลาตินอเมริกา เริ่มเดินแต้มทางการเมืองในอินโดจีน ด้วยการช่วยเหลือฝรั่งเศสปราบขบวนการกู้ชาติของเวียดมินห์ และเริ่มครอบงำรัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนามใต้ ด้วยการอุดหนุนเงินมหาศาล หวังสร้างสังคมจักรพรรดินิยมใหม่

แต่ถึงกระนั้น ฝรั่งเศสก็ยังแพ้เวียดมินห์ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ด้วยเม็ดเงินสะพัดอย่างมหาศาล ซึ่งถูกนำมาในใช้บังหน้าในนามของความช่วยเหลือฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจ แต่พอเอาเข้าจริง หากไม่ถูกยักยอกไปเป็นบางส่วน ก็ถูกทุ่มไปเพื่อสัประยุทธ์สงครามทั้งหมด หนึ่งในเม็ดเงินนั้นก็คือคุกฟูก๊วกที่ได้ขยายกิจกรรมและเริ่มกระบวนการทรมานเชลยศึกอย่างเป็นระบบ

เมื่อกองทัพสหภาพฝรั่งเศสหมดน้ำยาในการสู้รบปรบมือกับกองทัพเวียดมินห์ กิจกรรมทัณฑสถานในฟูก๊วกก็ได้ถูกโอนถ่ายให้อยู่ในอำนาจของกองทัพเวียดนามใต้ โดยมีสหรัฐฯเป็นที่ปรึกษา วิมานมะพร้าวแห่งนี้ได้กลายเป็นศูนย์กลางกักกันนักโทษมากถึง 40,000 คน

ซึ่งรวมกับนักโทษทางการเมืองในยุคอาณานิคมเก่า แบ่งโดยประมาณการณ์เป็นเชลยศึกจากกองทัพเวียดนามเหนือ 12,000 คน เวียดกง 20,000 คน นักโทษที่เป็นเจ้าหน้าที่การเมืองฝ่ายเหนือ 2,000 นาย นักโทษที่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์อีก 100 คน

ศูนย์กักกันเชลยประกอบด้วย 12 เขต แบ่งพื้นที่ควบคุมนักโทษทั้งหญิง ชาย และคนชราออกจากกัน โครงสร้างภายในห้องขังบุด้วยสังกะสีเหล็ก รอบนอกขึงขวากด้วยลวดหนามสูงข่ม หอคอยตรวจการณ์ 2 หอ จุดรักษาความปลอดภัย 10 จุด

ศูนย์กักกันแต่ละแห่งมีป้อมปราการป้องกันด้วยปืนกล รอบนอกมีรถตรวจการณ์ลาดตระเวนทั้งกลางวันและกลางคืน รอบนอกที่ชายหาดมีทหารยามลาดตระเวนป้องกันการหลบหนีอีกชั้นหนึ่ง

 

แผนผังโครงสร้างบริหารองค์กรมีกำลังทหารมากถึง 4 กองพัน อันได้แก่ กองพันทหารช่าง กองพันทหารรักษาการณ์ กองพันทหารจากกองทัพเรือ และกองพันสุนัขสงคราม ซึ่งแต่ละเขตแบ่งการปกครองเป็น 4 แห่ง ได้แก่ Site A,B,CและSite D และห้องกักขังแยกย่อยอีก 400 ห้อง แต่ละห้องจะมีห้องพัก 11 ห้อง 2 ห้องสำหรับสอบปากคำ และอีก 9 ห้องสำหรับรีดทรมานโดยเฉพาะ

และเนื่องจากคุกฟูก๊วกได้ถูกแปรสภาพเป็นค่ายกักกันนักโทษคอมมิวนิสต์ มันจึงหนีไม่พ้นเรื่องวิธีการทรมาน ซึ่งจะถูกนำมาใช้สำหรับรีดข้อมูล จากคำบอกเล่าของเหยื่อหลายรายที่ถูกกระทำ หรือได้พบเห็น

1. ตอก 
ใช้เข็มหรืออาจจะเป็นเหล็กแหลม สำหรับใช้ตอกสวนเล็บทั้งสิบนิ้ว หรือเป็นสิ่วสำหรับตอกเพื่อเลาะเอาฟันออกมา ตะปูใช้ตอกข้อมือ ข้อเท้า หัวเข่า แต่หากใช้เพื่อตอกกระโหลกจะไม่ตอกให้เหยื่อตาย แต่ใช้วิธีการตอกเพื่อหมุนตะปูให้เหยื่อทรมาน

2. กรงเสือ 
ถักจากลวดหนามสูงไม่เกิน 80 ซม. พื้นเป็นทราย และมีลักษณะความสูง-ต่ำแตกต่างกัน สำหรับให้เหยื่อเข้าไปนั่งหรือเพียงแค่นอนได้อย่างเดียวเท่านั้น กรงเสือจะถูกตั้งไว้อยู่นอกอาคารเพื่อให้เหยื่อถูกจำขังไว้ตากแดดตากฝนตลอดวันตลอดคืน

ผลจากการถูกขังในกรงเสือในระยะเวลาที่ยาวนาน ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงจนถึงขั้นพิการในที่สุด

3. ฉายไฟสปอต์ทไลท์ 
กรณีนี้เป็นการจับมัดมือเท้าและฉายไฟแรงสูงใส่ดวงตา ผลระยะยาวคือทำให้เหยื่อตาบอด

4. จี้ด้วยเหล็กร้อน
เพื่อให้เหยื่อเป็นแผล และถูกจับถูกับทรายหรือฝังใส่หลุมทรายกลางแดดร้อน

5. เคาะ
เหยื่อจะถูกจับมัดมือเท้าให้นั่งอยู่ในถังน้ำมันขนาด 200 ลิตรบรรจุน้ำ และผู้คุมจะเคาะถัง ยังผลให้เหยื่อปวดศรีษะและหูหนวกในที่สุด

6. ต้มน้ำร้อน
เหยื่อจะถูกจับมัดมือเท้าโยนใส่กระทะใบใหญ่ หลังจากนั้นผู้คุมจะเริ่มสุมไฟต้มน้ำจนเดือด เหยื่อบางรายถูกต้มจนตาย

7. กรอกน้ำ
วิธีการทรมานสุดคลาสสิค ทั้งจับกรอกปากจนท้องบวมน้ำและถูกผู้คุมเตะท้องเพื่อเอาน้ำที่กรอกเข้าไปออกมา หรือกรอกใส่จมูก เหยื่อจะได้สัมผัสอย่างใกล้ชิดกับอาการจมน้ำทั้งๆที่อยู่บนบก

 

8. ช็อตไฟฟ้าใส่หรือใช้ไฟเผาที่ปลายหำ

9.... พอก่อนเถอะ มันเหลือคณานับจริงๆ

ในปี พ.ศ.2512 เริ่มมีรายงานสำรวจจากองค์การกาชาดสากล ถึงกรณีทรมานนักโทษในคุกฟูก๊วกออกสู่ประชาคมโลก แต่ถึงกระนั้น รายงานดังกล่าว ก็ไม่ได้มีผลกระทบต่อวิธีการสอบสวนเชลยยังทัณฑสถานแห่งอื่นของกองทัพเวียดนามใต้ หรือคุกลับของซีไอเอในที่ต่างๆแต่อย่างใด

ยังคงมีการฝ่าฝืนต่ออนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือลงโทษที่โหดร้าย เครื่องมือที่ประชาชาติร่วมกันสร้างขึ้นเป็นเพียงแค่หัวหัวตอเท่านั้น

วิธีการทรมานยังคงสืบทอด และเป็นของคู่กันกับคุกนรกแห่งอื่นในญวนใต้มาโดยตลอด จนกระทั่งสงครามอินโดจีนได้สิ้นสุดลงจริงๆ แต่ในขณะที่สงครามอื่นก็เกิดขึ้นและดำเนินอยู่ ณ ปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2538 คุกฟุก๊วกได้รับการยอมรับจากกระทรวงวัฒนธรรมเวียดนาม และมีการบูรณะใหม่ ให้เป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ร่องรอยแห่งประวัติศาสตร์ของคุกฟูก๊วกรวมถึงรูปปั้น ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งการปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม และการทำลายจิตวิญญาณแห่งความรักชาติโดยจักรพรรดินิยมอเมริกา...

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
warrior B's profile


โพสท์โดย: warrior B
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
11 VOTES (3.7/5 จาก 3 คน)
VOTED: เยี่ยหัว, หมีอ้วนซ่า, Thorsten
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ชื่นชมพยาบาลช่วยอพยพผู้ป่วย หลังพายุฤดูร้อนถล่มหนักรวมความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับการอาบน้ำ บางอย่างเพื่อนๆอาจจะเข้าใจผิดอยู่ก็ได้นะ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เงินดิจิตอล 10,000 บาท ช้อปปิ้งอะไรคุ้ม? เตรียมตัวให้พร้อมก่อนใช้ฮือฮาทั้งโซเชียล พระเอกเกาหลีพูดชื่อเต็มกรุงเทพฯ ชัดมาก "Frankly Speaking พูดตรงๆ คงต้องรัก""แสวง" เลขาฯ กกต. ไม่ห้ามสื่อเสนอข่าว-จัดเวทีฯ ขู่จับตาดูผู้สมัคร ชี้ "ธนาธร" ทำได้ชวนลง สว."แจ็คแฟนฉัน" แจกพัดลมให้พี่น้องชาวไทย300ตัว"ลุงดอนใจดี" ย้ำอาหารที่ร้านไม่แพง และยังคงขายราคาเดิม
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
เจ้าจอมคนสุดท้ายรัชกาลที่ 5เงินดิจิตอล 10,000 บาท ช้อปปิ้งอะไรคุ้ม? เตรียมตัวให้พร้อมก่อนใช้Google rewardsวิธีต้มไข่แบบประหยัดไฟและน้ำ"ฉบับญี่ปุ่น"
ตั้งกระทู้ใหม่