อดีตคณะกรรมการฯ กสทช. !! ออกมาทวิต ให้กสทช. ตรวจสอบทุกสื่ออย่างเสมอภาคกัน กรณีสื่อดัง บิดเบือนข่าว ออกสู่สาธารณชน
สุภิญญา กลางณรงค์ อดีตคณะกรรมการฯ กสทช. ได้ออกมาทวิต ต่อเนื่องว้่า......
--กรณีการเผยแพร่คลิปข่าวปลอมนั้นเข้าข่ายผิดจรรยาบรรณสื่อแน่ ส่วนผิดกฎหมาย กกต.และ กสทช.ไหม ก็เป็นหน้าที่สองหน่วยงานนี้ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน โดยให้ผู้เกี่ยวข้องได้ชี้แจง และรวบรวมหลักฐานทั้งหมดก่อนเพื่อตัดสินทางปกครองต่อไป (ถ้าหน่่วยงานรัฐหยิบเรื่องขึ้นมาพิจารณานะ)
--สื่อใดที่พลาดบ่อยๆเรื่องเผยแพร่ข่าวลวง/ข่าวปลอม ควรตั้ง Newsroom alert ได้แล้ว คือมีทีมกอง บก.ที่เน้นตรวจสอบกรองข่าวจากออนไลน์ก่อนเผยแพร่อย่างรัดกุม จริงๆเป็นหน้าที่กองบรรณาธิการปรกติ แต่ถ้าไม่ไหวก็ตั้งทีม fact check ในหน่วยงานกันเถอะ เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของสื่อเอง
--ในยุคดิจิทัลที่ใครก็เป็นสื่อได้ สื่อเดิมที่เคยเป็นสื่อหลักควรทำหน้าที่ verify facts หรือตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนเผยแพร่ ไม่ใช่กระพือข่าวลวง/ปลอมให้แพร่กระจายเอง ยิ่งทำให้เกิดวิกฤติศรัทธาต่อวิชาชีพสื่อสารมวลชนภาพรวมที่ตกลงอยู่แล้ว องค์กรสื่อต้องกอบกู้วิชาชีพด้วยจรรยาบรรณ
--จริยธรรมธรรมสืื่อนั้นจริงๆสูงส่งกว่ากฎหมาย เพราะสังคมให้สิทธิ์กับสื่อเป็นฐานันดรที่สี่ คือมีเสรีภาพที่จะนำเสนอข่าว เจาะลึก ขุดคุ้ยพาดพิงผู้อื่นได้เต็มที่ แต่ต้องอยู่บนฐานข้อเท็จจริง มีประโยชน์ต่อสาธารณะ เคารพสิทธิมนุษยชน และ มีกรอบจรรยาบรรณกำกับไม่ให้ล้ำเส้นเกินไป
--กรณี #เนชั่น สังคมก็ยังคงรอดูท่าทีขององค์กรวิชาชีพสื่ออยู่นะ แม้ว่าสุดท้ายจะ sanction อะไรไม่ได้เลยก็ตาม แต่ก็ควรแสดงจุดยืนเรื่องจรรยาบรรณสื่อ และ ตักเตือนเรื่องหน้าที่กองบรรณาธิการในการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนนำเสนอหน่อยก็ยังดีกว่าเงียบเกินไป
--ส่วนท่าที กสทช. ก็ควรใช้โอกาสนี้พิสูจน์ตนเองว่าทำงานตรวจสอบทุกสื่ออย่างเสมอภาคกัน เพราะก่อนนี้ทำมาตรฐานไว้โหดมากถึงขั้นพักใช้ใบอนุญาตบางช่องเลยทีเดียว พอรอบนี้ถ้า กสทช.ดูชิลล์เกิน สังคมก็คงอดคลางแคลงใจไม่ได้นั่นล่ะ - ไม่ได้เห็นด้วยให้แบนสื่อนะแต่ให้มีมาตรฐานที่ชัดเจนขึ้น
--สื่อตรวจสอบคนอื่นได้ ก็ต้องยอมให้สังคมตรวจสอบกลับ เป็นวิถีปรกติ เราอยากให้คนอื่นใจกว้าง เราก็ต้องใจกว้างด้วย สู้กันด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริง #เนชั่น ส่วนสังคมก็ใจเย็น วิจารณ์สื่อเรื่องงานเต็มที่เลยแต่เลี่ยงขุดภาพที่กระทบสิทธิความเป็นส่วนตัวเขา อันนี้ขอฝากทุกฝ่ายทุกกรณีเลย
ท่านคิดว่าใครควรกำกับ ตัดสิน จริยธรรมของสื่อและเนื้อหาที่นำเสนอผ่านสื่อ
สุภิญญา กลางณรงค์ (เกิด พ.ศ. 2519 ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็นนักกิจกรรมสังคมด้านสื่อ เริ่มต้นทำงานที่ป่าใหญ่ครีเอชั่น ในฝ่ายผลิตและเขียนบทสารคดีโทรทัศน์ในปี 2537 จากนั้นร่วมงานเป็นฝ่ายสื่อและเผยแพร่ของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเป็นผู้ประสานงานคณะทำงานติดตามมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ซึ่งเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรสื่อสาร สุภิญญาร่วมก่อตั้งคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการและรองประธานคปส. หลังจากนั้นมีความสนใจในสื่อใหม่และร่วมก่อตั้งและเป็นผู้ประสานงานคนแรกของเครือข่ายพลเมืองเน็ต ในปี 2551 ก่อนจะลาออกจากทุกตำแหน่งเพื่อเข้ากระบวนการสรรหาคัดเลือกเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการกสทช.ในปี 2554
บทบาทกับกสทช. สุภิญญาดำรงตำแหน่งประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมการกำกับดูแลกันเอง และประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยระหว่างดำรงตำแหน่ง ได้ทวีตแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานที่ทำอย่างต่อเนื่อง ผ่านบัญชีทวิตเตอร์ @supinya
เมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 สุภิญญาประกาศยุติการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หลังจากที่ศาลฎีกาพิพากษาว่ามีความผิดจากคดีปีนรั้วสภาเมื่อปี พ.ศ. 2560ต่อมามีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 สุภิญญาปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 7 ตุลาคม 2554 ถึง 14 มีนาคม 2560
แหล่งที่มา: https://twitter.com/supinyahttps://en.wikipedia.org/wiki/Supinya_Klangnarong
https://twitter.com/supinya