ผู้ประกาศที่เป็นข่าว ชี้แจง สาเหตุอาจเป็นในห้องส่ง มีการถามความเห็นนักศึกษาจำนวน 100 คนที่มาร่วมฟังการดีเบตครั้งนี้ แบ่งเป็น 4 คำถาม ได้แก่
1. เห็นด้วยหรือไม่ที่ พล.อ.ประยุทธ์ ตัดสินใจไม่ร่วมดีเบต
2. เห็นด้วยหรือไม่ที่รัฐธรรมนูญ 2560 ในบทเฉพาะกาล 5 ปีแรกให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 250 คนร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี
3. เห็นด้วยหรือไม่ว่ายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จำเป็นสำหรับประเทศไทย
4. เห็นด้วยหรือไม่ว่าประเทศไทยจะมีการปกครองแบบประชาธิปไตยเต็มใบหรือครึ่งใบก็ได้ ถ้าทำให้ปากท้องประชาชนดีขึ้น
ทั้ง 4 คำถามนี้ นักศึกษาส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจาก 100 คน ล้วนแล้วแต่ไม่เห็นด้วยทั้งสิ้น จึงอาจทำให้ผู้มีอำนาจรู้สึกไม่พอใจและถูก "ขย่มขวัญ" จากคนรุ่นใหม่ และอาจเป็นที่มาของมติคณะบอร์ดในครั้งนี้ ให้ปลดตนจากการทำหน้าที่
ตนมองอีกว่า ประเด็นเหล่านี้คือสิ่งที่คนไทยมีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็น
"พวกเขาไม่ทราบคำถามล่วงหน้า มีเพียงข้าวกล่องและรถรับส่ง ในการมาร่วมรายการ แต่ 100 เสียงในคืนวันที่ 28 ก.พ.62 ของเหล่าเฟิร์สโหวตเตอร์เหล่านี้ กำลังขย่มขวัญไปถึงผู้มีอำนาจ จนมองว่านี่คือการชี้นำโจมตีรัฐบาล ทั้งที่เป็นประเด็นที่คนไทยทั้งประเทศมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นต่ออนาคตของพวกเราทุกคน"
ยอมรับมติแต่ไม่ยอมรับว่าลำเอียง
นางอรวรรณ ระบุต่อไปว่า ตนขอยอมรับการตัดสินใจของบอร์ด อ.ส.ม.ท. ให้ยุติการทำหน้าที่ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ในฐานะสื่อมวลชน ขอไม่ยอมรับคำตราหน้าว่าลำเอียง
"ในฐานะ 1 ในพิธีกร และผู้ทำหน้าที่คิดรูปแบบรายการดีเบต ทั้ง 2 ครั้งของช่อง9 ขอยอมรับการตัดสินใจของ บอร์ด อ.ส.ม.ท. และผู้บริหารในการให้ยุติการทำหน้าที่ ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชา
แต่ในฐานะ วิชาชีพสื่อสารมวลชนที่มีอายุงานเกือบ 30 ปี ดิฉันไม่ยินยอมรับการตราหน้าว่าทำหน้าที่ลำเอียง และขอขอบคุณต่อเสียงตอบรับในแง่ดีจากผู้ชมทีวีต่อรายการดีเบตของช่อง9เมื่อคืนที่ผ่านมา ณ โอกาสนี้" นางอรวรรณ โพสต์
ขอบคุณเสียงตอบรับดีท่วมท้น
---------------------------------