การทดสอบจิตวิทยาสุดกดดัน เกมส์เเห่งความตาย มาช๊อตไฟฟ้าคนที่ไม่รู้จักกันเถอะ
ลองทายกันเล่นๆสิคะว่า ถ้ามีคนสั่งให้คุณทำโทษด้วยการซ๊อตไฟฟ้าคนที่คุณไม่รู้จัก(จากเบาๆ 15v – 450v) คุณจะทำไหม และมีกี่คนที่จะกล้าทำ??
เก็บคำตอบไว้ในใจ และไปหาคำตอบกันในงานวิจัยของ Stanley Milgram ค่ะ
เชื่อว่าหลายๆคนคงรู้จักการทดลองสุดคลาสสิคที่มีชื่อเสียงโด่งดังในแวดวงจิตวิทยาอันนี้เป็นแน่ กับการทดลอง “การเชื่อฟังคำสั่ง” ของ Milgram ที่ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองเล่นบทเป็นครู และ ทำโทษนักเรียน(ผู้เข้าร่วมการทดลองอีกคน*)ด้วยการช๊อตไฟฟ้าเมื่อนักเรียนตอบคำถามผิด ตั้งแต่เบาๆ 15v จนถึง 450v….
แต่คุณพระ!! มันจะเป็นไปได้จริงๆหรอที่จะมีคนใจโหดขนาดที่จะซ๊อตคนที่ไม่รู้จักเพียงเพราะมีคำสั่ง/คำบอก ให้ทำ ถ้าอยากรู้ ตามไปดูข้อมูลข้างล่างเลยค่ะ
*ผู้เข้าร่วมการทดลองที่เล่นบทเป็นนักเรียน จริงๆแล้วเป็นนักแสดงที่ถูกจ้างมาค่ะ ไม่มีการซ๊อตไฟฟ้าจริงๆแต่แกล้งทำเป็นโดนซ๊อตเฉยๆ แต่ ผู้เข้าร่วมทดลอง (จริง) ที่เล่นบทเป็นครูนั้นไม่รู้ นึกว่ากำลังช๊อตคนอื่นจริงๆอยู่
** เราจะใช้คำว่า ผู้เข้าร่วมการทดลอง(จริง) สำหรับ ผู้เข้าร่วมการทดลองตัวจริงนะคะ และ ผู้เข้าร่วมการทดลอง(ปลอม) สำหรับนักแสดงที่ถูกจ้างมานะคะ การทดลองแรกๆของ Stanley Milgram ที่ปัจจุบันนี้ก็ยังได้รับการกล่าวขานอย่างทั่วถึง และเป็นการทดลองที่คนรู้จักมากที่สุดคือ การทดลองที่ได้ถูกตีพิมพ์ในปี 1963 ชื่อว่า “Behavioral study of obedience” ^_^ ถือว่าเป็น baseline study (งานวิจัยทดลองพื้นฐาน ที่ถูกนำมาต่อยอดในงานวิจัยอื่นๆของ Milgram ค่ะ)
(ถึงเเม้ว่าจะถูกตีพิมพ์ในปี 1963 เเต่งานวิจัยจริงๆทำในช่วงปี 1961 ค่ะ)
อันนี้เป็นใบประกาศว่าต้องการคนมาเข้าร่วมการทดลองเกี่ยวกับความจำค่ะ ^_^ (ที่ต้องเขียนว่าเป็นการทดลองเกี่ยวกับความจำนั้น เพื่อเบี่ยงเบนไม่ให้ผู้เข้าร่วมรู้ถึงจุดประสงค์ของการทดลองจริงค่ะ) โดยทีจะใช้เวลาเพียง 1 ชม เท่านั้น เเละผู้เข้าร่วมการทดลองจะได้ค่าจ้าง 4 เหรียญ ค่ะ (เเละมีค่ารถเเยกต่างหาก 50 cent) ซึ่งในสมัยนั้นเงิน 4 เหรียญนี่มีค่าเยอะพอสมควรเลย ^_^
โดยที่ผู้เข้าร่วมการทดลองจะได้รับเงินเมื่อมาถึงเเลบจิตวิทยาของมหาลัยเยลค่ะ ได้รับเงินก่อนเข้าร่วมการทดลอง เเละนักวิจัยบอกว่าถึงเเม้ว่าผู้เข้าร่วมการทดลองจะออกจากการทดลองกลางคัน ก็ไม่ต้องคืนเงินค่ะ
เอาละ เข้าเรื่องการทดลองจริงๆ
ในงานวิจัยนี้มีผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมด 40 คน อยู่ในช่วงอายุ 20- 50 ปี และ เป็นเพศชายทั้งหมด (ต่อมามีการทดลองแบบหญิงล้วนด้วยค่ะ เดี๊ยวมีข้อมูลด้านล่างน้า)
โดยอยู่ในช่วงอายุ ดังต่อไปนี้
อายุ 20-29 ปี = 8 คน
อายุ 30-39 ปี = 16 คน
อายุ 40-49 ปี = 16 คน
ลักษณะการทดลอง (แบบคร่าวๆ)
1) พาผู้ทดลอง(จริง) กับ ผู้เข้าทดลอง(ปลอม) มาพบนักวิจัยและนักวิจัยก็อธิบายลายละเอียดว่าการทดอลงจะมาแนว มีคนหนี่งเล่นบทครู อีกคนเล่นบทนักเรียน โดยที่นักเรียนจะต้องจำ set คำศัพท์ให้ได้ และต้องตอบคำถามเกี่ยวกับ set คำศัพท์นั้นๆ ถ้าตอบผิดก็จะถูกลงโทษด้วยการซ๊อตไฟฟ้า นี่เป็นการทดลองเกี่ยวกับว่าคนเราจะจำได้ดีไหมถ้าถูกลงโทษ (ถ้าเข้าใจไม่ผิดจะเหมือนเกมส์จับคู่คำศัพท์นะคะ)
2) ให้ผู้ทดลอง (จริง) กับ ผู้ทดลอง(ปลอม) จับฉลากว่าใครจะเล่นบทอะไร (แต่ที่จริงมีการเซ็ตไว้แล้วว่าฉลากทั้ง 2 ใบ เขียนว่า ครู ทั้งคู่ ไม่ว่าผู้เข้าทดลอง(จริง) จะได้ใบไหนก็ได้เล่นบทครู)
3) ผู้เข้าทดลอง (ปลอม) ถูกพาไปนั่งเก้าอี้และเตรียมตัวถูกซ๊อต ผู้เข้าทดลองจริงจะอยู่อีกห้องและได้รับการอธิบายเกี่ยวกับเครื่องซ๊อตไฟฟ้า
4) มีการทดสอบก่อนเริ่มจริง เพื่อให้ผู้เข้าทดลองชินกับขบวนการ (ช่วง 15 v – 150 v) ด้วยการให้ผู้เข้าทดลอง (ปลอม) ตอบคำถามด้วยการกดปุ่ม (มีสี่ปุ่ม) ถ้าตอบผิดก็ให้ผู้เข้าทดลองจริงซ๊อตไฟฟ้า โดยลักษณะการตอบคำถามผิดถูก คือ ผิด 3 ข้อ ถูก 1 ข้อ ค่ะ
ข้อเพิ่มเติม
1) ก่อนการทดลอง ผู้เข้าทดลองจะได้รับการช๊อต 45v เพื่อให้รู้ว่าการถูกซ๊อตมันเป็นอย่างไร และเอาไว้หลอกผู้เข้าทดลองด้วยว่าเครื่องนี้เป็นเครื่องซ๊อตไฟฟ้าจริงๆ (แต่ที่จริงมันเป็นของปลอม)
2) เมื่อผู้เข้าทดลอง(ปลอม) ตอบคำถามผิด ผู้เข้าทดลอง(จริง)ต้องประกาศว่าจะซ๊อตไฟฟ้าที่กี่ volt ก่อนจะซ๊อตไฟฟ้า
ลักษณะการตอบคำถามของผู้นักวิจัย เมื่อผู้เข้าทดลอง (จริง) ต้องการจะหยุดงานวิจัย (ทำตามขั้นตอน 1-4 ไม่มีการข้ามขั้น ถ้าขั้นที่หนึ่งไม่ผ่าน ถึงจะเริ่มขั้นที่ 2 และถ้าผู้เข้าทดลอง(จริง)ต้องการจะหยุดอีกรอบ ก็เริ่มที่ขั้นที่ 1 ใหม่)
1) กรุณาดำเนินการต่อไป
2) การทดลองนี้กำหนดว่าคุณต้องดำเนินการต่อไป
3) มันสำคัญอย่างมากที่สุด ที่คุณต้องดำเนินการต่อไป
4) คุณไม่มีทางเลือกอื่น คุณต้องดำเนินการต่อไป
ถ้าหมด 4 ขั้นแล้วผู้เข้าทดลองยังไม่ยอมทำต่อ ก็ถือว่าสิ้นสุดการทดลองได้
ลักษณะการตอบคำถามเเบบพิเศษ
1)ถ้าผู้เข้าทดลอง(จริง)ถามว่า ผู้เข้าทดลอง(ปลอม)จะได้รับบาดเจ็บอย่างถาวรไหม (หมายถึงว่าการถูกซ๊อตไฟฟ้าจะทำให้ผู้เข้าทดลอง(ปลอม) นั้นพิการ หรือ เป็นแผล บาดเจ็บถาวร ไหม)
a. นักวิจัย ตอบว่า ถึงแม้ว่าการถุกซ๊อตไฟฟ้าจะทำให้รู้สึกเจ็บปวด แต่ว่าผู้เข้าทดลอง(ปลอม) จะไม่มีการบาดเจ็บถาวร ดังนั้นคุณดำเนินการต่อไปได้
2)ถ้าผู้เข้าทดลอง(จริง) บอกว่า ผู้เข้าทดลอง(ปลอม) ไม่อยากไปต่อแล้ว/อยากหยุดการทดลองแล้ว
a. นักวิจัยตอบว่า ไม่ว่าผู้เข้าทดลอง(ปลอม) อยากจะหยุดหรือไม่ก็ตาม คุณจะต้องดำเนินการต่อไปจนกว่า เขาจะจำ และจับคู่คำศัพท์ได้ทั้งหมด
E = นักวิจัย
T = ครู
L = นักเรียนระหว่างการทดลองตั้งแต่การทำโทษหนแรก (15v) จนมาถึง 275 v นั้น ผู้เข้าทดลอง(ปลอม) จะตอบคำถามตลอดโดยสัดส่วนข้อถูกต่อข้อผิดคือ 1:3 ค่ะ แต่พอมาถึงที่ 300v ผู้เข้าทดลองจะเริ่มทุบโต๊ะบอกให้หยุดการทดลอง และไม่ยอมตอบคำถาม ซึ่งเมื่อผู้เข้าทดลอง(จริง) หันไปถามความเห็นจากนักวิจัยว่าจะเอายังไงต่อ นักวิจัยจะบอกว่า ให้รอสัก 5-10 วิ ถ้าไม่ตอบ ก็ให้ถือว่าตอบผิด และทำโทษต่อไปได้ และจากคำถามที่ 315 v นั้นผู้เข้าทดลอง (ปลอม) ไม่ยอมตอบคำถามอีกต่อไปค่ะ แต่ว่ามีเสียงทุบโต๊ะหรือบอกให้หยุด นักวิจัยก็บอกว่า ถือว่าเป็นคำตอบที่ผิดและให้ทำโทษไปเรื่อยๆ และหลังจากนั้นประมาณที่ 375 v (แต่ไม่มั่นใจนะคะ เดี๋ยวต้องเช็คข้อมูลอีกนิด) ผู้เข้าทดลอง(ปลอม) ก็ไม่มีเสียงตอบกลับมาอีกค่ะ
ผู้เข้าทดลอง(ปลอม) เล่นบทนักเรียน
เครื่องช๊อตไฟฟ้า เเบ่งเป็น 8 ระดับ
เเละผลการทดลองอันน่าตกตะลึง คือ ผู้เข้าร่วมการทดลองจำนวน 24 คน (คิดเป็น 65%) นั้นอยู่จนจบการทดลองเเละช๊อตไฟฟ้าคนที่ไม่รู้จักที่ 450 volt เพียงเพราะทำตามคำสั่งนักวิจัย !!
เเล้วคนอื่นๆที่เหลือละ ความเเรงของไฟฟ้าที่ช๊อตก่อนไม่ยอมไปต่อนั้นอยู่ที่เท่าไหร่ ??
300 v = 5 คน (อันนี้เป็นจุดเเรกที่นักเรียนโวยวายว่าอยากหยุด)
315 v = 4 คน
330 v = 2 คน
345 v = 1 คน
360 v = 1 คน
375 v = 1 คน
ค่ะ
โอ้โห ไม่น่าเชื่อว่าคนเราจะเชื่อฟังคำสั่งได้ดีขนาดนี้ ... เเต่เเน่นอนว่าทุกคนที่เข้าร่วมการทดลองไม่ได้มีความสุขกับการช๊อตคนที่ไม่รู้จักนะคะ ทุกคนมีอาการตามด้านล่างนี้ อย่างน้อยคนละ 1 ข้อ
1) มีอาการชัก (รู้สึกว่ามีเเค่คนเดียว)
2) หัวเราะเเบบประสาทเสีย
3) โมโหนักวิจัย
4) มีอาการตึงเครียดอย่างเห็นได้ชัด
----------------------------------
เเต่จากการทดลองข้างบนบอกอะไรได้บ้าง นอกจากที่ว่าคนเรายอมทำตามคำสั่งของคนอื่น(ที่มีอำนาจ-ในที่นี้คือนักวิจัย) เราก็ยังมีคำถามอีกมากมาย เเต่จะเป็นอย่างนั้นในทุกสถานการณ์ไหม ใครจะสั่งก็ได้หรือ ถ้าผู้เข้าทดลองเป็นหญิงล้วนล่ะจะเเตกต่างกันไหม ผู้เข้าทดลองประท้วงกันบ่อยขนาดไหนระหว่างการทดลอง ....
ซึ่งคำตอบนั้นไม่มีบอกในงานวิจัยข้างต้น
เราเลยไปค้นหางานวิจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องมาอีก ซึ่งก็เจอ!!! กับงานวิจัยชื่อว่า Meta- Milgram : an Empirical synthesis of the obedience experiments ที่นำการทดลองทั้งหมด 21 งานวิจัยของ Milgram มาตีเเผ่ เปรียบเทียบ เเละวิเคราะห์ค่ะ (จากทั้งหมด 23 งานวิจัย)
จาก Meta- Milgram : an Empirical synthesis of the obedience experiments
์Haslam, Lounghnan, Perry (2014) ได้รวบรวมงานวิจัยที่ได้ทดลองโดย Stanley Milgram ตั้งเเต่เดือนสิงหายน ปี 1961 มาจนถึงเดือนมีนาคม ปี 1963 ทั้งหมด 23 งานวิจัย (เเต่มาวิเคราะห์จริงๆ 21 งานวิจัย) ดังต่อไปนี้ค่ะ
*ใครงงบอกได้นะคะ เผื่อเราเเปลไม่ชัดเจน
สัญลักษณ์ต่างๆ
T = ครู
L = นักเรียน
E = นักวิจัย
เเละมาดูกันว่าในเเต่ละสถานการณ์ มีคนที่ช๊อตถึง 450 volt นั้นเยอะขนาดไหนนะ (น่าสนใจมากๆที่งานวิจัยนี่ใช้คนน้อยมากค่ะ บางอันก็ 40 คน บางอันก็ 20 คน เท่านั้น การทดลองเท่าที่เข้าใจคือ ผู้เข้าทดลองเป็นชายล้วนหมดค่ะ ยกเว้น การทดลองในข้อที่ 21 ที่เป็นหญิงล้วน)
เเละพอลองมาไล่ดูจากน้อยไปมากเเล้ว
ในสถานการณ์ที่เราเลือกได้ว่าเราจะช๊อตเท่าไหร่ ไม่มีใครบังคับ มีเพียงคนเดียว (2.5%) เท่านั้นที่ช๊อตจนถึง 450v เเต่กลับกัน ถ้าเราไม่ได้เป็นคนช๊อตเอง เเต่อยู่ในเหตุการณ์ที่บอกให้คนอื่นช๊อตเเทนเรา ผู้เข้าทดลองถึง 37(92.5%) คน ยอมอยู่ต่อจนจบการทดลองค่ะ
เเต่ที่น่าสนใจมากในการวิเคราะห์ของ Haslam, Lounghnan, Perry (2014) คือ เขาเเบ่งการทดลองของทั้ง 21 ของ Milgram เป็น 14 ส่วนด้วยกันคะ ตามนี้เลย
อันนี้ฉบับเเปลไทยเเล้ว (ที่เราบอกว่าตามตารางเรา เพราะเราเรียงงานวิจัยต่างจากของHaslam, Lounghnan, Perry (2014) นิดหน่อยค่ะ )
จากนั้นได้นำค่าเฉลี่ยของเเต่ละกลุ่มมาเทียบกัน ดูว่าในสถานการณ์เเบบไหน จะมีผู้ยอมทำตามคำสั่งมากกว่ากัน
ตรงนี้ต้องรู้จักค่าในสถิติก่อนนะคะ คือ ค่า P-value เป็นการดูว่า
1) ความของคะเเนนของทั้ง 2 กลุ่มนั้น ต่างกันจริงๆหรือว่าต่างกันเพราะดวง/โชคช่วย กันเเน่
2) ผลลัพท์นั้นมีนัยยะสำคัญไหม ยิ่งค่า P-value ต่ำเท่าไรยิ่งดีค่ะ
3) ยิ่งค่า p-value น้อยเท่าไหร่ ยิ่งเเปลว่าผลของานวิจัย 2 กลุ่มต่างกันมากเท่านั้นนั้นค่ะ
ในการทดลองจิตวิทยาส่วนใหญ่จะตัดค่า p-value ที่ 0.05 (p<0.05) หรือ 0.01 (p<0.01) ซึ่งเเปลได้ว่า ผลลัพท์ของงานวิจัยนี้เกิดขึ้นเพราะโชคช่วย/ดวง น้อยกว่า 5% หรือ 1% ค่ะ หรืออีกเเง่คือ ผลลัพท์ของงานวิจัยนั้นเกิดจากสถานการณ์ที่นักวิจัยทดลองถึง 95-99% ค่ะ
ส่วนใครสงสัยว่า เเล้ว x^2 นั้นคืออะไร อันนี้คือค่า t^2 จากการนำผลการทดลองไปเข้าสู่ขบวนการของ independent -t test ค่ะ ^_^ เป็นค่าที่บอกว่าความเเตกต่างของ 2 กลุ่มนั้นต่างกันเเค่ไหน
เอาละมาดูตารางกัน
ยกตัวอย่างเช่น
กลุ่มนักวิจัย สถานการณ์ 1) number มีนักวิจัย 2 คนอยู่ในการทดลอง คือ การทดลองที่ 16, 17
กลุ่ม code 1 : การทดลองที่ 16 มีคนทำตามคำสั่ง 20% การทดลองที่ 17 มีคนทำตามคำสั่ง 65% ค่าเฉลี่ยของคะเเนน คือ 43% (0.43) ค่ะ
กลุ่ม code 0 : การทดลองที่เหลือ มีคะเเนนเฉลี่ยที่ 44% (0.44) ค่ะ
เเละเมื่อเปรียบเทียบคะเเนนของทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าค่า p-value อยู่ที่ 0.879 นั้นก็คือ ความเเตกต่างของคะเเนนระหว่างกลุ่ม code 1 กับ code 0 นั้น เกิดขึ้นเพราะดวงช่วยถึง 87.9% (ไม่มีนัยยะสำคัญ) หรืออีกเเง่คือ ระหว่างมีนักทดลองเเค่คนเดียวหรือสองคน ไม่ได้ทำให้ผลการทดลองเเตกต่างกันเลยค่ะ
เเต่ถ้ามองกลุ่ม teacher ผู้หญิง เทียบกับ ผู้ชายเเล้ว
กลุ่ม code 1: การทดลองที่ 21 หญิงล้วน คะเเนนคิดเป็น % ที่ 65% (0.65)
กลุ่ม code 0 : การทดลองที่เหลือ ชายล้วน คะเเนนเฉลี่ยอยู่ที่ 42% (0.42)
พบว่าค่า p-value อยู่ที่ p=0.005 เเปลว่า ความเเตกต่างจำนวนผู้หญิงเเละผู้ชายที่ยอมทำตามคำสั่งนั้น เเตกต่างกันจริงๆ เเละโอกาศที่คะเเนนที่ต่างกันนั้นเกิดเพราะโชคช่วย อยู่ที่ 0.5% เท่านั้น จึงสรุปได้ว่า การทดลองนี้มีนัยยะสำคัญ ผู้หญิงนั้นง่ายต่อการถูกกดดันให้ทำตามคำสั่งมากกว่าผู้ชายค่ะ
** เเต่ส่วนตัวเราไม่มั่นใจว่ามันจะเทียบกันจริงๆได้ไหมนะคะ เพราะว่า condition ต่างๆในการทดลองเเตกต่างกันค่อนข้างมากจริงๆ เเต่เรานำเสนอตามที่นักวิจัยได้กล่าวไว้ค่ะ
คำถามต่อไปที่เรามี หลังจากที่รู้เเล้วว่าในเต่ละสถานการณ์นั้นมันจะได้ผลลัพท์ประมาณไหน คือ เเล้วคนทั่วไปเขาไม่ขอหยุดการทดลองหรอ เเละถ้าขอหยุด จะขอหยุดที่ volt เท่าไหร่กัน จากงานวิจัยของ Dominic J. Packer ที่ชื่อว่า Identifying Systematic Disobedience in Milgram’s Obedience Experiments A Meta-Analytic Review โดยดูที่ 8 งานวิจัยเเรกๆของ Stanley Milgram
พบว่าคนส่วนใหญ่จะเริ่มขอหยุดตอนที่ 150 volt ค่ะ เเละไปหยุดกันอีกทีที่ 450 volt
ทำไมหยุดที่ 150 volt ละ ที่ 150 volt นั้นเป็นจุดสำคัญ เพราะเป็นหนเเรกเลยที่ นักเรียน ขอให้หยุด (จำได้ไหมเอ่ยว่ามีการ practice ช่วง 15v-150v ก่อนที่จะเข้าคำถามจริง) พอจะเริ่มเข้าการทดลองจริง นักเรียนก็ขอให้หยุดก่อน โดยบอกมาเเนวว่า นักเรียนมีสิทธิที่จะหยุด ซึ่ง Packer ได้วิเคราะห์ว่า การหยุดในช่วง 150 volt นั้น ไม่ได้หยุดเพราะว่านักเรียนรู้สึกเจ็บปวด เเต่เป็นเพราะว่า ผู้เข้าทดลองที่เล่นบทครูนั้นมองถึงสิทธิของนักเรียนมากกว่าที่จะหยุดเพราะนักเรียนเจ็บค่ะ (เพราะนักเรียนเริ่มบอกว่าเจ็บที่ 300v)
ดร. โธมัส แบลส แห่งมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ บัลติมอร์เคาน์ตี ทำการอภิวิเคราะห์ต่อผลของพฤติกรรมที่แสดงออกมาซ้ำ ๆ ในการทดลอง เขาพบว่าร้อยละของอาสาสมัครที่เตรียมช็อกด้วยกระแสไฟฟ้าที่ถึงตายยังคงมีสูงอยู่อย่างประหลาด คือ 61-66% โดยไม่ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ทดลอง
เคยมีหนังอยู่เรื่องหนึ่ง จขกท. เคยดู ลองหามาดูนะจ้าาา
Experimenter Official Trailer 1 (2015)
แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/การทดลองของมิลแกรม
https://pantip.com/topic/32625444
https://www.youtube.com/watch?v=O1VOZhwRvWo