“ถ้าไม่มีพี่ชายผมคนนี้ ก็ไม่มีวันนี้” คำพูดจากใจ ทักษิณ ชินวัตร ถึง พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ หรือ บิ๊กจ๊อด เมื่อวันที่ดาวเทียมไทยคมถูกส่งขึ้นสู่ฟ้า
““ถ้าไม่มีพี่ชายผมคนนี้ ก็ไม่มีวันนี้” คำพูดจากใจ ทักษิณ ชินวัตร ถึง พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ หรือ บิ๊กจ๊อด เมื่อวันที่ดาวเทียมไทยคมถูกส่งขึ้นสู่ฟ้า (17 ธันวาคม 2536)
,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
โครงการดาวเทียมสื่อสาร เริ่มมาตั้งแต่ปี 2526 และเริ่มดำเนินการในปี 2528 โดยมีบริษัทเอกชนเสนอตัวมาหลายราย แต่ไม่สามารถทำข้อตกลงให้เป็นที่พอใจทั้ง 2 ฝ่าย กระทั่งปี 2533 จึงมีการประกาศเชิญชวนอีกครั้ง ผลปรากฎว่าบริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนคอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ได้ชัยชนะเหนือคู่แข่ โดยมีการลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2534 ในยุคที่ รสช.เรืองอำนา หลังก่อรัฐประหาร 7 เดือน”
เปลว สีเงิน ยังถลกหนังต่อไปอีกว่า ถ้ายังไม่เชื่อว่าทักษิณเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาได้เพราะเป็น “เห็บเกาะไข่ระบบรัฐประหาร” ไอ้พวกบริวารที่เห่า “ต่อต้านรัฐประหาร” แทนนาย ก็ลองไปถาม เสธ.อ้วน “พลเอกสัมพันธ์ บุญญานันต์” อดีตรัฐมนตรีกลาโหม ในรัฐบาลทักษิณปี 2547 ดูก็ได้
เพราะเสธ.อ้วน คือนายทหารผู้เป็น “เงาบิ๊กจ๊อด” ในยุคนั้น ก่อนจะตายบิ๊กจ๊อดยังให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมในนามของน้องยุ้ย “อัมพาพันธ์ ธเนศเดชสุนทร” ผู้สานตำนานรักชายเสื้อคับจนโลกร้อนฉ่า
เปลว สีเงิน ยังได้ยกตัวอย่างข้อความในเว็บไซต์แห่งหนึ่งที่ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่าง “หัวหน้ารัฐประหารจ๊อด” กับ “พ่อค้าทักษิณ” เสียดายที่เขาไม่ระบุชื่อว่าใครเขียนไว้ แต่สรุป “ประวัติศาสตร์สันถวะ” ระหว่าง 2 คนนี้ไว้ดีมาก และนำ “ส่วนหนึ่ง” มาขยายต่อ ดังนี้
...ในยุคของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณต้องการได้สัมปทานธุรกิจทางด้านการสื่อสาร พ.ต.ท.ทักษิณจึงไปนั่งเฝ้า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ในขณะนั้น
ด้วยความที่รักเพื่อน...
ร.ต.อ.เฉลิมก็วิ่งเต้นเอาสัมปทานให้โดยไม่มีการประมูล แต่ภายหลัง ทั้งสองเกิดความขัดแย้งในเรื่องสัมปทานขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณรู้สึกโกรธเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ร.ต.อ.เฉลิมไปให้สัมปทานกับคู่แข่ง
แต่ระหว่างที่จะกำลังดำเนินการให้สัมปทานนั้น จปร.รุ่น 5 ออกมาขู่ เป็นเหตุให้พลเอกชาติชายถึงกับต้องเรียกนายมนตรี พงษ์พานิช มาหารือ เพื่อเปิดสัมปทานโทรศัพท์ขั้นพื้นฐานให้กับพลเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดี ที่มีความสนิทสนมกับ ซี.พี. เนื่องจากต้องการลดความขัดแย้งกับ จปร.รุ่น ๕
แต่เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองที่พัฒนาต่อมาคือ การที่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้ไปปราศรัยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยเรื่องฉ้อราษฎร์บังหลวง ร.ต.อ.เฉลิมได้ออกมาตอบโต้ จนผลสุดท้าย พลเอกชวลิตได้ลาออกจากตำแหน่งทางการเมือง ทำให้เกิดช่องว่างทางการเมืองขึ้น
พลเอกชาติชาย ได้ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมด้วย และต่อมาได้เชิญหัวหน้าพรรคปวงชนชาวไทย “พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก” มาดำรงตำแหน่งรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง
ความสัมพันธ์ระหว่างนายทหารแห่งกองทัพบก จปร.รุ่น ๕ และรัฐบาลตึงเครียดขึ้นทันที การพบปะรับประทานอาหารเช้าในวันพุธเป็นประจำระหว่างนายทหารและนายกรัฐมนตรีเริ่มขาดตอน สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดยิ่งขึ้น
ฟางเส้นสุดท้ายบนหลังอูฐ คือ การที่พลเอกชาติชาย ตัดสินใจแต่งตั้งพลเอกอาทิตย์ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยกลาโหม โดยอ้างว่าเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของตน
ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 พลเอกชาติชาย และพลเอกอาทิตย์ มีกำหนดการเดินทางด้วยเครื่องบินเพื่อไปเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เชียงใหม่
แต่ก็กลายเป็นกับดักตกอับที่สนามบินกองทัพอากาศ โดยเป็นการปฏิวัติของคณะปฏิวัติที่เรียกตนเองว่า “คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)” โดยมี พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะ รสช. พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก เป็นรองหัวหน้าคณะ
พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.ร.อ.ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นรองหัวหน้าคณะ และมีพลเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นเลขานุการ
ทักษิณกลายเป็นผู้ผูกตัวเองเกาะไว้กับ “เผด็จการทหาร รสช.” ถึงได้เติบใหญ่ ร่ำรวยมาถึงทุกวันนี้.
แหล่งที่มา: https://www.facebook.com/Newsinvestigate/posts/355616751956572