จนทของรัฐไม่ลาออก!! มาลงเลือกตั้งได้จริงหรือ!! ความหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายมหาชน
จากข่าวที่พรรคไทยรักษาชาติ ยื่น กกต. ตรวจสอบ พปชร. ทำผิดกฎหมายเลือกตั้งกรณีเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. อยู่ในบัญชีนายกรัฐมนตรีของพรรค เพราะยังเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเป็นข้าราชการ มาดูความหมายในข้อกฏหมายกัน ว่าผิดจริงไหม>???
ข้าราชการ หมายถึง เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวง ทบวง กรม มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บริการแก่ประชาชนโดยไม่หวังผลตอบแทน นอกจากเงินเดือนที่รัฐจ่ายเป็นค่าตอบแทน และการสวัสดิการที่รัฐจัดให้เพื่อการดำรงชีพตามสมควรแห่งฐานะ
ข้าราชการ เป็นทรัพยากรของรัฐ ที่เป็นหนึ่งในสามขององค์ประกอบขององค์การ และยังเป็น องค์ประกอบที่สำคัญในการบริหารงานที่สามารถทำให้การบริการสาธารณะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของเจ้าหน้าที่ของรัฐ : ระบบราชการไทยในปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ของรัฐแบ่งออกเป็น 13 ประเภท คือ
- ข้าราชการการเมือง
- ข้าราชการพลเรือน
- ข้าราชการทหาร
- ข้าราชการตำรวจ
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการ
- ข้าราชการฝ่ายอัยการ
- ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
- ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
- ข้าราชการส่วนจังหวัด
- ข้าราชการกรุงเทพมหานคร
- ข้าราชการครู
- พนักงานเทศบาล
- พนักงานสุขาภิบาล
ข้าราชการพลเรือน แบ่งย่อยออกเป็น 4 ประเภท คือ
- ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ
- ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการในสังกัดสำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ
- ข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ ได้แก่ ข้าราชการในสังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข
- ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ ได้แก่ บรรดาทูตต่าง ๆ ประจำสถานทูตในต่างประเทศ กงสุล
ข้าราชการฝ่ายตุลาการ แบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเภท คือ
- ข้าราชการตุลาการ ได้แก่ ผู้พิพากษา ผู้ช่วยผู้พิพากษา เลขานุการศาลต่าง ๆ
- ดะโต๊ะยุติธรรม ได้แก่ ข้าราชการผู้มีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม
- ข้าราชการธุรการ ได้แก่ ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง จ่าศาล เสมียนศาล
ข้าราชการฝ่ายอัยการ แบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ข้าราชการอัยการ ได้แก่ อัยการสูงสุด รองอัยการสูงสุด อัยการต่าง ๆ
- ข้าราชการธุรการ ได้แก่ ข้าราชการในสายงานธุรการ งานบริหารบุคคล
ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา แบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ได้แก่ ข้าราชการในตำแหน่งประจำ
- ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ได้แก่ ประธานรัฐสภา รองประธานรัฐสภา เลขาธิการรัฐสภา
ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย แบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเภท คือ
- ผู้ดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่สอน วิจัยและบริการวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ต่างๆ (ข้าราชการสาย ก.)
- ผู้ดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่ให้บริการทางวิชาการ เช่น บรรณารักษ์ พนักงานวจัย (ข้าราชการสาย ข.)
- ผู้ดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานบริหารและธุรการ ได้แก่ อธิการบดี คณบดี (ข้าราชการสาย ค.)
ข้าราชการส่วนจังหวัด แบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ข้าราชการส่วนจังหวัดสามัญ ได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในจังหวัด ยกเว้นครู
- ข้าราชการครูส่วนจังหวัด ได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สอนประจำสถานศึกษาของจังหวัด
ข้าราชการกรุงเทพมหานคร แบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร ยกเว้นครู
- ข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สอนประจำสถานศึกษาของกรุงเทพฯ
ข้าราชการครู แบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเภท คือ
- ตำแหน่งที่มีหน้าที่สอนในหน่วยงานการศึกษา เช่น ครู อาจารย์ ฯลฯ
- ตำแหน่งที่มีหน้าที่เป็นผู้บริหารและให้การศึกษา เช่น ครูใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ฯ
- ตำแหน่งที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาที่ไม่สังกัดสถานศึกษา เช่น ศึกษานิเทศก์ศึกษาธิการอำเภอ สารวัตรนักเรียนนักศึกษา
พนักงานเทศบาล แบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท คือ
- พนักงานเทศบาลสามัญ ได้แก่ พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ยกเว้นครู
- พนักงานครูเทศบาล ได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สอนประจำสถานศึกษาของเทศบาล
แหล่งที่มา: https://www.secnia.go.th/2015/05/29/ความหมายของเจ้าหน้าที่/