หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

แลผ่านเลนส์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่

เนื้อหาโดย มอญหงอย

(รูปรัชกาลที่ 5 จากหนังสือ Je sais tout ปี 1907)

บันทึกประวัติศาสตร์ ผ่านภาพถ่ายฝีพระหัตถ์

"เวลาเช้าไปถ่ายรูปที่สวนเปนการทดลอง เพราะพ่อได้กล้องใหม่เรียกว่าปัลโมส์ เปนกล้องที่ใช้ม่านตั้งง่ายเป็นที่สุด แลรูปได้ดีที่สุด รักเหลือเกิน เปนกล้องที่คิดจะเอาไปใช้ที่นอร์เวย์ พ่อได้ถ่ายเห็นดีเข้าคิดถึงกรมดำรง (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ก่อนคนอื่น ตกลงใจว่ากล้องชักรูปอย่างนี้ เปนของที่ควรหาไปฝากพวกที่เล่นซักรูปด้วยกันได้ จะวานหมอฟิสเตอร์สั่งออกนึกว่า ตาหมอแกจะเห็นเราคลั่งอะไรจึงต้องอธิบายเสียก่อนว่าจะเอาไปให้พวกพ้องที่ชอบถ่ายรูปกัน"

(พระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล จากหนังสือพระราชนิพนธ์ ไกลบ้าน)

ล้นเกล้าฯรัชกาลที่๕ กษัตริย์ผู้ทรงล้ำสมัย

(พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดการถ่ายภาพมาก ดังเห็นได้ว่าการประพาสหัวเมืองต่างๆ นั้น พระองค์ทรงนำกล้องถ่ายรูปติดพระองค์ไปด้วยเสมอ ถาพนี้ฉายขณะประทับที่พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)

    บรรยากาศในสมัยรัชกาลที่ ๕ นับว่าเอื้ออำนวยให้เทคโนโลยีการถ่ายภาพก้าวหน้าอย่างแท้จริง ทั้งหนังสือพิมพ์ทั่วไปซึ่งจากเดิมใช้ภาพพิมพ์แม้พิมพ์สลักเอนเกรฟวิ่ง (Engraving) ต่างก็เริ่มหันมาใช้ภาพถ่ายในการตีพิมพ์มากขึ้น เนื่องจากช่วงวิกฤติสงครามโลกทำให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงทั้งหมึกและกระดาษมีราคาสูง เทคโนโลยีแม่พิมพ์แบบเดิมจึงมีราคาสูง ทั้งวิธีการก็ยุ่งยากจึงไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป

    ช่วงเวลานั้นทั่วโลกต่างเดินทางออกไปแสวงหาโอกาสยังประเทศต่างๆเป็นจำนวนมาก โดยบางส่วนได้เข้ามายังประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศเอกราชเพียงหนึ่งเดียวแถบนี้ ความที่สังคมไทยเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกในแบบที่พอดี มีความระมัดระวัง แต่ไม่ได้เข้มงวดมากเกินไปทำให้เปิดรับความก้าวหน้าใหม่ๆ ได้ง่าย

    เริ่มมีช่างชาวต่างชาติหลากหลายมาเปิดสตูดิโอในกรุงเทพฯ ผนวกกับความสนพระราชหฤทัยในเทคโนโลยีการถ่ายภาพอย่างแท้จริงของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ยิ่งทำให้ความนิยิมการถ่ายภาพนั้นแพร่หลาย "ยุคทอง" ของการถ่ายภาพในเมืองไทยจึงเริ่มต้นขึ้น

    แต่แม้จะเปิดกว้าง เมื่อแรกเริ่มที่การถ่ายภาพเข้ามาในประเทศไทยนั้น คนไทยทั่วไปยังกลัวการถ่ายภาพอยู่มาก จากที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงกล่าวเกี่ยวกับการถ่ายถาพในยุคนั้นว่า "หม่อมฉันเคยได้ยินคำเล่าว่าเมื่อแรกมีช่างถ่ายรูปพระฉายาลักษณ์เข้ามามิมีใครยอมให้ถ่ายด้วยเกรงว่าจะเอารูปไปใช้ทำร้ายด้วยกฤตยาคม"

(ภาพถ่ายโดย จอห์น ทอมสัน)

    ความเชื่อนี้ได้จางหายไปเมื่อพระบามสมเด็จพระจอลเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เป็นพระเจ้าแผ่นดินสยามพระองค์แรกที่ทรงยอมให้ฉายาลักษณ์ ด้วยพระราชดำริที่นำสมัยเช่นนี้ส่งผลให้พระโอรสและพระราชธิดารวมถึงล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๕ ไม่ทรงหวาดกลัวใดๆ ซ้ำยังคุ้นเคยกับกล้องเป็นอย่างดี โดยเริ่มจากความชอบในการทรงเป็นแบบให้ถ่ายภาพ

(4 มกราคม 2408 : พระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ (รัชกาลที่ 5)

    จะเห็นได้จากเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงอนุญาติให้ช่างภาพทั้งไทยและต่างชาติถ่ายรูปพระราชพิธีโสกันต์ ทั้งยังมีพระบรมฉายาลักษณ์ที่ล้วนงามสง่าในช่วงวัยต่างๆ ปรากฏให้เห็นต่อเนื่อง จากการสนพระราชหฤทัยในการเป็นแบบถ่ายภาพนี้เองที่สร้างแรงบัลดาลใจให้ทรงศึกษาการถ่ายภาพเพิ่มขึ้นอย่างจริงจัง กระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ที่นับเป็นปีทองของการถ่ายรูปในรัชสมัยของพระองค์

เนื้อหาโดย: มอญหงอย
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
มอญหงอย's profile


โพสท์โดย: มอญหงอย
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
13 VOTES (4.3/5 จาก 3 คน)
VOTED: Thorsten, zerotype, ไปเซเว่นเอาอะไรไหม๊
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เเตเเต มิสแกรนด์พม่า แต่งหน้าไม่สวยเหมือนตอนอยู่ไทยกองทัพยูเครน ยัน "เราปะทะกับทหารเกาหลีเหนือแล้ว!!"
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เเตเเต มิสแกรนด์พม่า แต่งหน้าไม่สวยเหมือนตอนอยู่ไทย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม
ฉะเชิงเทราฉะเชิงเทรากาญจนบุรีท่านใดสนใจกระทู้ประวัติศาสตร์ช่วยโหวตหน่อยครับ
ตั้งกระทู้ใหม่