ประชาธิปไตย
ประชาธิปไตย ตอนที่ ๑.
การเมืองเป็นเรื่องของใคร มันน่าจะเป็นเรื่องของคนไทยทั้งประเทศ แต่ประชาชนต้องทำมาหากินจึงเป็นเหตุ ให้มีการเลือกผู้แทนเพื่อเป็นปากเสียงแทนตน
แต่นักการเมืองบางคนบางกลุ่ม เมื่อได้รับเลือกเข้าไปนั่งในสภา กลับทำหน้าที่แทนประชาชนส่วนใหญ่ได้ไม่เต็มที่ เพราะต้องลงทุนหาเสียงไปหลายเงิน เงินอุดหนุนพรรค มาจากไหน ส่วนใหญ่ก็มาจาก ผู้มีอันจะกิน หรือผู้มีกิจการที่เกี่ยวข้องด้าน เศรษฐกิจ สังคม ดั้งนั้นเมื่อพรรคการเมือง หรือนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้ง ก็ต้องทดแทนคุณ เป็นวิสัย ประชาชนส่วนใหญ่ มีหลากหลายอาชีพ ผู้แทนที่พวกเขาเลือกเข้าไปในสภา ที่ดีก็มี แต่มีเสียงน้อย ยกมือทีไรก็แพ้ทุกที ที่มีเสียงข้างมาก ก็สนใจประชาชนน้อย ช่วยอาชีพหนึ่ง อีกอาชีพหนึ่งจนเหมือนเดิม หรือให้อาชีพหนึ่ง อีกอาชีพหนึ่งไม่ได้ เอาง่าย เรียกว่า แจกจ่ายทรัพยากร ให้กับประชาชน ไม่เท่าเทียมกัน ก็แสดงว่า ไม่ใช่ประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตย ประกอบไปด้วยหลายส่วน หลายอย่าง ไม่ใช่อย่างเดียว (จบตอนที่หนึ่ง)
ประชาธิปไตย ตอนที่ ๒
ในตอนที่ ๑ ข้าพเจ้าได้กล่าวเอาไว้แล้วว่า ประชาธิปไตยมีส่วนประกอบหลายอย่าง อย่างหนึ่ง คือ การที่ประชาชนได้รับแบ่งปันจัดสรรทรัพยากรจากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน”
หากจะกล่าวถึง หลักประชาธิปไตย โดยรวมแล้ว ประชาธิปไตย ก็คือ “การที่ประชาชนภายในประเทศ มีความเท่าเทียมกัน ทั้งในด้านความคิด(ใจ) และการแสดงออก ทั้งทางกาย วาจา”
การแสดงออกทั้งทางกาย วาจา และใจ ย่อมต้องไม่ละเมิด หรือทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย วัฒนธรรม ประเพณี ที่ดีงาม ของชุมชน ท้องถิ่น ของประเทศนั้นๆ
ทำไมรัฐบาล ที่มาจากรัฐประหาร หรือจะเรียกเป็นอย่างอื่น ก็ตามแต่จะใช้ศัพท์ภาษาแตกต่างกันไป จึงจำกัด สิทธิ เสรีภาพ จำกัด ความเท่าเทียมกัน ในบางเรื่อง บางอย่าง นั่นก็เป็นเพราะว่า หากไม่จำกัด สิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ก็จะเกิดความวุ่นวายในประเทศ ไม่เป็นอันทำมาหากิน ไม่เป็นอันที่จะทำงานเพื่อฟื้นฟู หรือปกครองประเทศให้เกิด เสถียรภาพ และความเจริญมั่นคงได้ จึงทำให้ รัฐบาลที่มาจากทหารจำต้องจำกัด สิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมกันในบางเรื่องบางอย่างเท่านั้น
บุคคล กลุ่มบุคคล นักวิชาการ อาจารย์ของสถาบัน บางบุคคล บางกลุ่ม บางสถาบัน มักจะออกมาโจมตี ให้สัมภาษณ์ ว่า รัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติ เป็นเผด็จการบ้าง ไม่มีประชาธิปไตยบ้าง นั่นก็เป็นเพราะ พวกเขาเหล่านั้น เป็นพวกประเภท ความรู้น้อย แต่อวดฉลาด ไม่รู้ว่า ประชาธิปไตย มีส่วนประกอบมากมายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพวกภายในประเทศ หรือ พวกต่างประเทศ ก็ตาม
รัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติ ทหารเหล่าทัพ ก็ใจดี ไม่ดำเนินคดี ฐานหมิ่นประมาท สร้างความเท็จทำให้เกิดความเสียหาย ต่อทหารเหล่าทัพ และรัฐบาล เพราะถ้าดำเนินคดี คงนับเป็นแสนคดีเป็นแน่ รัฐบาล ทหารเหล่าทัพ ก็อะลุ้มอล่วย นำตัวพวกเขาเหล่านั้นไปปรับทัศนะคติ แล้วก็ปล่อยตัวให้เป็นอิสระ เพราะเห็นว่าพวกเขาเหล่านั้นหลงผิด
ประชาชนโดยทั่วไปที่ไม่รู้ บ้างก็เห็นดีเห็นงามไปกับพวกที่หลงผิดเหล่านั้น แต่ส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับรัฐบาล และทหารเหล่าทัพ โดยเฉพาะประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการขัดแย้ง ของเหล่านักการเมือง ซึ่ง การที่มีรัฐบาลจากการรัฐประหาร สาเหตุ ก็มาจากพวกนักการเมือง ที่แย่งชิงผลประโยชน์ ขัดขวางผลประโยชน์ซึ่งกันและกันทั้งนั้น (จบตอนที่ ๒)
ประชาธิปไตย ตอนที่ ๓
ในตอนที่ ๒ ได้กล่าวไปแล้วว่า “ประชาธิปไตย นั้นมีส่วนประกอบหลายๆอย่าง”
ส่วนประกอบเหล่านั้นได้แก่
๑.ประชาชนย่อมมีส่วนร่วมในการปกครองและบริหารประเทศ “ภายใต้รัฐธรรมนูญ อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ในข้อนี้ ได้เคยอรรถาธิบายไปแล้วว่า “รัฐธรรมนูญ คือแม่บทแห่งกฎหมาย” รัฐธรรมนูญ จะเขียนอย่างไร นักการเมืองที่มีหัวใจเป็นนักประชาธิปไตยที่แท้จริง ย่อมสามารถทำให้ รัฐธรรมนูญ นั้นๆ เป็น ประชาธิปไตย อย่างสมบูรณ์ได้
๒.ประชาชนย่อมได้รับการแจกจ่าย หรือจัดสรรทรัพยากรอย่างเท่าเทียม ในข้อนี้ “ทรัพยากรของรัฐบาล มีหลากหลายรูปแบบ เช่น กฎหมาย เงินเดือนสวัสดิการ ลักษณะการทำงาน เครื่องอุปโภค บริโภค การป้องกันภัยสาธารณะ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การคมนาคม การเดินทาง ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ราคาสินค้าฯลฯ” สำหรับแต่ละอาชีพที่ควรได้รับการแจกจ่ายจัดสรร
๓.ประชาชนย่อมมีสิทธิ เสรีภาพ ทั้งทางกาย วาจา และใจ โดยเสมอกัน สำหรับข้อนี้เป็นประชาธิปไตยพื้นฐาน ที่พวกผู้มีความรู้ด้านกฎหมาย มักจะไม่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งความจริงแล้ว มันเป็นหลัก”สิทธิมนุษยชน” แสดงออกถึงความเป็นมนุษย์ ที่ไม่ถูกกดขี่โดยผู้มีอำนาจเหนือกว่า
๔.ประชาชนย่อมมีสิทธิเสรีภาพ ในการแสดงออก โดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ในข้อสี่นี้ ก็ย่อมสัมพันธ์กับข้อที่สาม มีสิทธิเสรีภาพทั้งทางกาย วาจา และใจ ก็ย่อมสามารถแสดงออกได้ โดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น “กรณี มีบุคคลที่เป็น ปรปักษ์ กับรัฐมนตรีท่านหนึ่ง ไปยืนชูป้าย นาฬิกาหรู นั่นเป็นการแสดงออกที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นอย่างชัดเจน โทษจะเป็นอย่างไรนั้น แล้วแต่จะมีกฎหมายกำหนด”(ไม่ได้เข้าข้างหรือซูฮกรัฐมนตรีท่านนั้น แต่ว่ากันตามระบอบประชาธิปไตย) (จบตอนที่ ๓)
ประชาธิปไตย ตอนที่ ๔.
ในตอนที่ ๓. ได้กล่าวถึง ส่วนประกอบที่สำคัญของหลักประชาธิปไตย ไปแล้ว ๔ ข้อ ได้แก่
๑.การมีส่วนร่วมในการบริหารและปกครองประเทศ ของประชาชน
๒.การได้รับการแจกจ่ายแบ่งปันทรัพยากรจากรัฐสู่ประชาชน อย่างเท่าเทียมกัน
๓.การมีสิทธิ เสรีภาพ ทั้งทางกาย วาจา ใจ ของประชาชน อย่างเท่าเทียมกัน
๔.การมีสิทธิ เสรีภาพ ในการแสดงออก โดยไม่ละเมิดสิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น
การมีสิทธิ เสรีภาพ ในการแสดงออก โดยไม่ละเมิดสิทธิ เสรีภาพของผู้อื่นนั้น ย่อมหมายถึง การแสดงออก ที่ไม่ละเมิด สิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น ทั้งทาง กาย วาจา และใจ และไม่เกิดผลกระทบ ต่อ กาย และใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้อื่น ย่อมมีความหมายที่กว้างขวาง ดังได้ยกตัวอย่างไปแล้วในตอนที่ ๓ แต่ยังมีการแสดงออกที่ละเมิด ต่อ กาย และใจ ของผู้อื่นอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นก็คือ การล้อเลียน ด้วยข้อความ รูปภาพ หรือคำพูด อันก่อให้เกิดผลกระทบต่อใจ หรือ กาย ของผู้อื่น นั่นเป็นความผิดตามหลักประชาธิปไตย การล้อเลียน ด้วยข้อความ รูปภาพ หรือคำพูด เคยมีตัวอย่างในต่างประเทศมาแล้ว ถึงกับเกิดสงครามย่อย ทำลายชีวิต และทรัพย์สิน ของฝ่ายที่ ล้อเลียน กล่าวคือ ฝ่ายที่ล้อเลียน ไม่รู้จักประชาธิปไตย คิดว่าการกระทำของตน เป็นประชาธิปไตย แต่ไม่คำนึงถึง สิทธิ เสรีภาพของผู้ถูกล้อเลียน ว่าจะได้รับผลกระทบ ทางจิตใจ หรือทางกาย เช่นไร จนกลายเป็นข่าวใหญ่โด่งดังไปทั่วโลก
ดังนั้น สถาบัน บางสถาบัน ควรได้มีการควบคุม เพราะในการทำกิจกรรมของนักศึกษา ย่อมต้องมี อาจารย์ที่ปรึกษาอยู่แล้ว อย่าหลงความรู้ของตัวเองว่า ทำอย่างถูกต้อง จงพิจารณาให้ดีว่า “การล้อเลียน” ในหลายๆรูปแบบนั้น เป็นการ “ล้อเลียน”ที่ไปละเมิด หรือไปสร้างผลกระทบต่อผู้อื่นหรือไป ประการใด อย่าส่งเสริมให้พวก นักศึกษาที่ไม่รู้อะไรมากนักทำตัวอยากเด่น อยากดัง ทำเป็นอวดฉลาด “ล้อเลียน”โดยละเมิด สิทธิ และ เสรีภาพ ของผู้อื่น ที่ได้กล่าวไปข้างต้น เป็น “การมีสิทธิ เสรีภาพ -
-ในการแสดงออก โดยไม่ละเมิดสิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น”
๕. ประชาชน เป็นเจ้าของประเทศ ปกครองและบริหารประเทศโดยการเลือกผู้แทนราษฎรเข้าไปปกครองและบริหารแทน ข้อนี้สำคัญ เพราะการเลือกผู้แทนฯ เข้าไปบริหารและปกครองประเทศแทนนั้น “การเลือกตั้ง” ย่อมเป็นส่วนประกอบหนึ่ง ในหลักประชาธิปไตย เป็นการเลือกผู้แทนของประชาชน เข้าไปทำหน้าที่ในการปกครองและบริหารประเทศ โดยประชาชน เป็นผู้เลือก และบริหารปกครองเพื่อประชาชน
การเลือกตั้งฯจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญประการหนึ่งของหลักประชาธิปไตย ซึ่ง ฯผู้แทนราษฎร ที่ได้รับเลือก ย่อมต้องทำหน้าที่แทนประชาชน ในอันที่จะเสริมสร้างหลักประชาธิปไตย หรือส่วนประกอบของประชาธิปไตย ทั้ง ๔ ข้อที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น อย่างดีที่สุด
พรรคการเมืองของประเทศไทย มีมาก เพราะต่างคนต่างไม่อยากเป็นเบี้ยล่างให้ใคร อยากเป็นอิสระ ไม่อยากอยู่ใต้อำนาจนโยบายพรรคที่ตนเองไม่เห็นด้วย หรือเห็นต่าง อีกทั้งพรรคการเมือง รวมถึงผู้สมัคร ต่างต้องควักกระเป๋าตนเอง ลงทุน สมัคร หาเสียง การบริจาคเงินของประชาชนให้พรรคการเมืองที่ตนชอบหรือเห็นด้วยกับนโยบาย ยังมีน้อย ส่วนใหญ่ก็จะเป็นกลุ่มนายทุน องค์กร บริษัทห้างร้านที่เกี่ยวข้องกับ ระบบเศรษฐกิจ หรืออื่นๆ ให้เงินทุนสนับสนุน หรือสนับสนุนด้านอื่นๆต่อ พรรคการเมืองที่ตนคาดว่า จะได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนมากที่สุด หรือ ในรูปแบบอื่น ซึ่งในที่นี้ไม่ควรเขียน เพราะอาจจะทำให้ พรรคการเมือง หรือผู้สมัครฯบางคน บางกลุ่ม เสื่อมเสีย
ในอนาคต หากพรรคการเมืองไทย สามารถดึงหรือโน้มน้าวให้ประชาชนมาเป็นสมาชิกพรรค และสามารถเก็บเงินอุดหนุนพรรคการเมือง จากประชาชนที่เป็นสมาชิก หรือเป็นแนวร่วม เอาแค่ครั้งละ ๒๐ (ยี่สิบบาท)ต่อคน ต่อการเลือกตั้ง พรรคการเมืองไทย ก็คงจะแข็งแรง สามารถเป็นตัวแทนของประชาชน บริหารและปกครองประเทศ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนมาเป็นอันดับแรก (จบตอนที่ ๔)
ประชาธิปไตย ตอนที่ ๕.