หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

“กวางผา…..แห่งป่าอมก๋อย”

โพสท์โดย TRUMPED

 

        เมื่อปี พ.ศ. 2528 สืบ นาคะเสถียร ได้เริ่มงานสำรวจและวิจัยกวางผา สัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งที่หายากของเมืองไทย ที่มีพื้นที่กระจายเฉพาะภาคเหนือ กล่าวคือตามแนวเทือกเขาถนนธงชัยจนถึงพื้นที่จังหวัดตาก โดยเฉพาะเทือกเขาที่เป็นสาขาของลุ่มน้ำปิงจนถึงเทือกเขาที่เป็นต้นน้ำของลุ่มน้ำสาละวินเท่านั้น

กวางผา บริเวณดอยม่อนจอง โดย สืบ นาคะเสถียร

        จากการสำรวจในครั้งนั้นทีมสำรวจพบกวางผาบริเวณดอยม่อนจองประมาณ 20 ตัว ส่วนพื้นที่อื่นๆที่ปรากฏว่ามีกวางผาอาศัยอยู่ ยังไม่รู้ว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด

ดอยม่อนจอง โดย สืบ นาคะเสถียร

        เวลาล่วงเลยมากว่า 30 ปี ปัจจุบันพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย มีการสำรวจพบกวางผา มากถึง 66 ตัว (กวางผาธรรมชาติและกวางผาจากสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอมก๋อย) จากข้อมูลการสำรวจประชากรกวางผา ของสถานีวิจัยสัตว์ป่าดอยเชียงดาว

        การเริ่มงานสำรวจของสืบ เป็นเสมือนใบเบิกทางให้กับเหล่านักวิจัยได้มีข้อมูลเกี่ยวกับกวางผาซึ่งถือเป็นสัตว์ปริศนา ณ เวลานั้นเลยก็ว่าได้

        จนปัจจุบันงานวิจัยนี้ก็ยังมีผู้ที่คอยสานต่อ และต่อยอดจากการศึกษาวิจัยมาเป็นการเพาะพันธุ์กวางผา ซึ่งปัจจุบันได้มีการปล่อยกวางผาจากการเพาะพันธุ์ในศูนย์เพาะเลี้ยงฯ กลับคืนสู่ธรรมชาติเป็นที่สำเร็จแล้ว จากการติดตามข้อมูลเราพบว่ากวางผาที่ปล่อยไปสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในธรรมชาติและสืบพันธุ์ได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปัญหาเลือดชิดในกลุ่มกวางผายังพอมีหนทางแก้ไขได้เช่นกัน

 

เจ้าหน้าที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอมก๋อย กำลังเตรียมให้อาหารกวางผา
กวางผา สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอมก๋อย

        ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้มีการพูดถึงเรื่องของกวางผาค่อนข้างหลายเวที อีกทั้งนักท่องเที่ยวที่ได้มีโอกาสขึ้นไปเยือนดอยหลวงเชียงดาวเองก็มีโอกาสได้พบเห็นกวางผาได้ค่อนข้างง่าย และมีการถ่ายรูปความน่ารักน่าชังของกวางผาลงโซเชียล จึงทำให้เจ้ากวางผาเป็นที่รู้จักมากขึ้น ส่วนคนที่เดินทางไปดอยหลวงเชียงดาวไม่ได้พียงไปเพื่อชมพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก และทะเลหมอกเพียงอย่างเดียว หากแต่มีจุดมุ่งหมายที่จะได้เห็นเจ้ากวางผายืนเด่นเป็นสง่าอยู่บนหน้าผาแห่งดอยหลวงเชียงดาวด้วย

        ส่วนการเดินทางในครั้งนี้เราจะพาไปยังแหล่งกำเนิดเรื่องราวของเจ้ากวางผา นั่นก็คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย บริเวณดอยม่อนจองและดอยม่อนเลี่ยม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัยตะวันออก เป็นเทือกเขาที่อยู่ระหว่างลำน้ำแม่แจ่ม ลำน้ำแม่ตื่น และลำน้ำแม่ปิง ลักษณะภูมิประเทศเป็นสันเขาสูงชัน มีหุบห้วยที่ลึกและมีที่ราบน้อย จุดสูงสุดคือดอยม่อนจอง ที่ระดับความสูง 1,929 เมตร ส่วนดอยม่อนเลี่ยมสูงตั้งแต่ 1,600 -1,900 เมตร

 

ผาหัวสิงห์ ดอยม่อนจอง
ดอยเลี่ยม
ลำน้ำแม่ตื่น
ผืนป่าที่ถูกปกคลุมไปด้วยเมฆหมอก

        การมาเฝ้ากวางผาในครั้งนี้ เราพบกวางผา 4 ตัว กิจกรรมในรอบวันดูเหมือนจะไม่มีอะไรมาก นอกจากกินหญ้า อาบแดด และนอนเคี้ยวเอื้อง ตามแนวผาที่เปิดโล่งและกลับเข้าไปนอนหลับในช่วงเวลาแดดจัด จะออกมาอีกครั้งในช่วงเวลาประมาณ 16.00 น.

        ด้วยลักษณะของกวางผาเป็นสัตว์ในกลุ่มแพะภูเขา ที่อยู่อาศัยจึงเป็นพื้นที่โล่ง หน้าผา ทุ่งหญ้าตามหน้าผา และป่าละเมาะดิบเขาระหว่างหน้าผาที่มีความสูงชัน ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวนับว่ามีกระจายอยู่เพียงไม่กี่แห่งในผืนป่าอนุรักษ์ของภาคเหนือ และด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยของกวางผามีลักษณะคล้ายเกาะที่ไม่ได้เชื่อมต่อกันเป็นป่าผืนใหญ่ และค่อนข้างจำกัดด้วยลักษณะและขนาดของพื้นที่

 

หน้าผาที่เหมาะกับการเป็นที่อยู่ของกวางผา
กวางผาออกมาเดินเล่น

        สำหรับที่นี่ปัจจัยคุกคามต่อกวางผามาจากสัตว์ผู้ล่าโดยตรงอย่างหมาใน โดยในช่วงปลายปีที่แล้วพบว่าหมาในเข้ามาใช้ทางด่านเดียวกันกับกวางผาได้ และเริ่มเรียนรู้วิธีการล่ากวางผา โดยใช้วิธีการแบ่งทีมไล่ และดักซุ่มโจมตี จนประสบผลสำเร็จมาแล้ว นอกจากนี้ยังพบกองมูลหมาในที่มีขนของกวางผารวมอยู่ด้วยอีกจำนวนหลายกอง

        ในส่วนของการท่องเที่ยวในพื้นที่อาศัยของกวางผา ก็นับว่ามีปัญหาอยู่ไม่น้อย เพราะปัจจุบันนักท่องเที่ยวขึ้นไปเที่ยวดอยม่อนจองอย่างหนาแน่น บางกิจกรรมส่งผลกระทบกับกวางผา ซึ่งระยะหลังมานี้กวางผาบริเวณดอยม่อนจองพบเห็นได้ยากกว่าเมื่อก่อน เพราะส่วนใหญ่หนีไปอาศัยอยู่ยังหน้าผาที่ห่างไกลจากจุดท่องเที่ยวมากขึ้น

        ส่วนเรื่องของการการถูกล่าโดยมนุษย์ ปัจจุบันนับว่าเบาบางลง เพราะคนรุ่นเก่าๆในพื้นที่ไม่นิยมล่าสัตว์กันแล้ว ส่วนคนรุ่นใหม่เองก็เห็นความสำคัญของสัตว์ป่าและทรัพยากรในพื้นที่ตนเองมากขึ้น ประกอบกับมีอาชีพอื่นที่ให้รายได้ดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทำเกษตรกรรมหรือเข้ามาอยู่ในภาคส่วนของการท่องเที่ยว

 

วัยรุ่นชาวมูเซอ รับจ้างเป็นลูกหาบช่วงฤดูท่องเที่ยว
อีกมุมแห่งความแข็งแกร่งของดอยม่อนจอง

 


เรื่อง / ภาพ เกศรินทร์ เจริญรักษ์ เจ้าหน้าที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

โพสท์โดย: TRUMPED
แหล่งที่มา: มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
TRUMPED's profile


โพสท์โดย: TRUMPED
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
3 ขั้นตอน จัดบ้านรับปีใหม่ เสริมสิริมงคล ให้ปัง ตลอดทั้งปีเงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568น้ำใจยิ่งใหญ่! หนุ่มไร้เงินขอติดรถกลับบ้าน เจอผู้ให้เต็มคันสุดอบอุ่น
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เฮ! เงินไร่ละพันยังมาต่อเนื่อง! ชาวนารับเงินช่วยเหลือ ธ.ก.ส. กันอยู่หรือเปล่า? มาอัปเดตกันหน่อย!รีบมา! คืนนี้วันสุดท้ายแล้ว "ตำรวจตกน้ำ" ไวรัลสุดเสียวกาชาด 2567 หล่อ เปียก ฮา พุ่งกระจาย!
รายงานสถานการณ์ป่าไม้ไทย ประจำปี 2562 – 2563ทำความรู้จักกับ ‘นก’ ที่ปรากฎอยู่ในบทเพลงต่าง ๆ บนท้องถนนแห่งเสียงดนตรีEndangered เกมส์กระดานว่าด้วยความไม่ง่ายของงานอนุรักษ์สุดเศร้า!! กวางเสียชีวิต ในเขตอุทยานแห่งชาติขุนสถาน ผ่าชันสูตร พบพลาสติกในท้อง 7 กก.
ตั้งกระทู้ใหม่