การใช้คำพูดสำคัญกับการเลี้ยงลูกมาก พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ได้ใส่ใจซักเท่าไหร่ ประโยคที่มีความหมายเดียวกันแต่ถ้าเปลี่ยนการใช้คำอาจจะได้ผลลัพธ์ต่างกัน
หรือบางประโยคที่พูดไปแล้วคิดว่าไม่มีความหมายต่อลูก อาจจะมีผลกระทบมากกว่าที่คิด
.
เรามาดูกันว่ามีประโยครูปแบบไหนบ้างที่เราควรใช้มากขึ้น
และประโยคที่เราควรเปลี่ยน
----------------------------------
.
1) “พ่อต้องการให้ลูก... ลูกจำเป็นต้อง....” ใช้ประโยคคำสั่งแทนประโยคคำถาม
.
อาจจะฟังดูใจ้ร้ายซักนิด แต่การใช้ประโยคคำสั่งแทนประโยคคำถาม
จะทำให้เราได้สิ่งที่ต้องการง่ายขึ้น ลืมประโยคแนวแบบ “ลูกๆพร้อมจะกินข้าวกันรึยังคะ?”
“ลูกจะเก็บของเล่นได้รึยังคะ?” อาจทำให้คุณฟังดูเป็นคุณแม่ใจดี แต่ประโยคแนวนี้มันเปิดให้ลูกยังมีโอกาสตัดสินใจเอง
สถานการ์ณแบบนี้ใช้ประโยคคำสั่งตรงๆเลยจะเคลียร์กว่า เช่น “แม่ต้องการให้ลูกมากินข้าวเดี๋ยวนี้คะ”
“ลูกจำเป็นต้องเก็บของเล่นเดียวนี้เลยคะ”
.
2) “เอ๊ะ แม่เห็น... เอ๋ แม่ได้ยิน...“ เริ่มต้นจากการแสดงตัวแทน การชี้ผิดถูกในทันที
.
“เอ๊ะ แม่ได้ยินเสียงโวยวายของน้องนะ” “เอ๋ เหมือนแม่ได้ยินเสียงน้ำหกนะคะ”
การแสดงออกว่ารับรู้ให้เหตุการณ์โดยที่ยังไม่ได้เริ่มต้นดุหรือชี้ไปว่าใครผิด จะดีกว่าเพราะว่า
คุณเริ่มต้นจากการรอรับฟังจากลูกเองว่าเกิดอะไรขึ้น
เริ่มต้นจากการอธิบายสิ่งที่เราเห็น แล้วให้เค้าเล่าเหตุการ์ณเอง และในหลายๆครั้งลูกก็จะยอมรับผิดเอง
.
3) “เล่าให้แม่ฟังซิว่า....” ให้ลูกเล่าเรื่องต่างๆให้ฟัง ดีกว่าการชมในทันที
.
คล้ายๆกับข้อข้างบน เวลาจะชมลูก ก็เปิดโอกาสให้ลูกเล่าเรื่องของเค้าก่อน
“ เล่าให้แม่ฟังสิเครื่องบินกระดาษอันนี้มันมาได้ยังไง” ดีกว่า “เครื่องบินเจ๋งจังเลย”
ให้โอกาสลูกได้อธิบายมันจะแสดงให้เห็นว่าเราสนใจจริงจัง ไม่ใช่แค่เราชมไปเป็นทีๆ
.
4) “พ่อชอบจังเวลาลูก...” ให้ลูกรู้ว่าเรามองอยู่และชื่นชมกับสิ่งที่เค้าทำอยู่
.
“แม่มีความสุขจังเวลาที่ดูลูกระบายสี” “แม่ชอบฟังลุกเล่นเปียโนจัง”
พูดได้บ่อยตามที่ต้องการ เพราะไม่ได้เป็นการชมเชยยกยอที่เกินไป แค่พียงให้ลุกรุ้ว่าเรากำลังมองทุกสิ่งที่เค้าทำอย่างชื่นชม
และในเวลาเดียวกันก็เสริมความั่นใจให้ลูกด้วยว่าสิ่งที่ทำอยู่มีความหมายต่อคนอื่นนะ
.
5) “ลูกจะทำยังไงได้บ้าง.... “ ให้ลูกช่วยแก้ปัญหา แทนที่เราจะเข้าไปแก้เองในทันที
.
สำหรับพ่อแม่ใจร้อนมักจะแก้ปัญหาต่างๆให้ลูกในทันที
แต่รุ้หรือไม่ว่าเป็นการสอนไม่ให้ลูกแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
“ลูกคิดว่าจะทำยังไงได้บ้างให้น้องหยุดร้อง?”
“ลุกคิดว่าจะทำยังไงได้บ้างถ้าลืมการบ้านไว้ที่โรงเรียน?”
นอกจากจะให้เค้าแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเองแล้ว จะช่วยให้เค้าไม่กลัวปัญหาด้วย
หรือหากที่วิธีแก้ปัญหาของลูกไม่ค่อยดี เราก็ได้แนะนำไปในตัวเลย
.
6) “มีอะไรให้พ่อช่วยมั้ย...” ถามลูกว่าต้องการความช่วยเหลือมั้ย? ก่อนจะเข้าไปจัดการอะไร
.
ก่อนที่จะเข้าไปช่วยเหลือเราต้องแน่ใจก่อนว่าลูกต้องการให้ช่วย
“พอจะมีอะไรให้พ่อช่วยลูกเรื่องการบ้านได้รึเปล่า?” “ลูกอยากให้พ่อช่วยต่อเลโก้นั้นมั้ย?”
หลายครั้งจะได้คำตอบว่า "ไม่เป็นไรครับ ทำเองได้" ซึ่งดีเพราะแสดงให้เห็นความุ่งมั่นของเค้า
และยังสอนการรับผิดชอบกับสิ่งที่ทำอยู่ด้วยตัวเอง
แต่อย่างน้อยเค้าก็รู้แล้วละว่าเราพร้อมจะช่วยเมื่อเค้าต้องการ
.
7) ใช้คำ "ขอโทษ" และ "ขอบคุณ" ให้มากขึ้น
.
ในวัฒนธรรมไทยบางทีมันดูเป็นเรื่องผิดปกติที่ผู้ใหญ่จะขอโทษเด็กก่อน
เด็กเวลาเห็นผู้ใหญ่ทำผิดไม่ใช่ไม่รู้ เพียงแค่เค้าไม่กล้าพูด
ผู้ใหญ่จึงกลายเป็นตัวอย่างกับเด็ก การขอโทษกลายเป็นเรื่องของศักดิ์ศรี
เราควรใช้คำขอโทษกับลูกมากขึ้น ให้ลูกเข้าใจว่ามันเป็นเรื่องของความกล้ามากกว่า
ที่จะออกมายอมรับผิดและให้อภัยต่อกัน
.
เช่นเดียวกับการขอบคุณ ถึงอาจจะไม่พูดออกมายากเท่าคำว่าขอโทษ
แ ต่เราก้ต้องสอนให้ลูกรู้ว่ามันไม่ใช่เรื่องของบุญคุญหรือศักดิ์ศรี
มันก็แค่เป็นการแสดงการให้คนอื่นรู้ว่าเราชื่นชมต่อสิ่งที่เค้าทำเท่านั้นเอง
.
8) พูดคำว่า “พ่อ/แม่รักลูก” ให้บ่อยแม้ในสถานการ์ณที่ยากลำบาก
.
พูดว่ารักลูกทุกครั้งที่มีโอกาส โดยเฉพาะเวลาที่ลูกรู้สึกไม่ดีกับเรา
เพราะลูกจำเป็นต้องรู้ว่า ไม่ว่าเวลาที่มีความสุขหรือความทุกข์ เราก็รักเค้าเสมอ
บางทีเราคิดไปว่าการกระทำสำคัญกว่าคำพูด แต่เชื่อเถอะบางครั้งลูกไม่เห็นสิ่งที่เราทำหรอก หรือบางทีคิดไปอีกแบบเลยก็มี
.
---------------------
ลองไปปรับใช้กับครอบครัวตัวเองดูนะจ๊ะ คำพูดที่ให้ผลลัพท์เหมือนกัน แต่ในใจลูก
รู้สึกไม่เหมือนกันก็มี ลองดูตามสถานการณ์และปรับกันไป ที่สำคัญคือเรื่องคำพูดที่จะทำให้ลูกหมด
ความมั่นใจ ต้องหลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุด ส่งเสริมด้วยคำพูดในแง่ดีให้ลูกภูมิใจในตัวเองดีกว่าจ้า
#เลี้ยงลูก #น้ำใจไปไหน
เนื้อหาโดย: junce