คงมีพ่อแม่หลายท่านตั้งปณิธานปี 2019 ไว้ว่า
🌟"ฉันจะดราม่ากับลูกให้น้อยลงให้ได้" 🌟
.
ตั้งแบบนี้มาทุกปีแต่ก็ทำได้ไม่ดีพอซักที
จริงๆ คงไม่มีใครทำได้ perfect หรอก
แค่ตั้งใจพยายามก็คงเพียงพอแล้ว 🙏
.
ความดราม่ามันเกิดขึ้นจากมนุษย์ธรรมดาๆสองฝ่าย 🥊
แต่ถ้าอีกฝ่ายเป็นเด็กหรือวัยรุ่นมันยากที่จะควบคุมอารมณ์ตนหน้าที่การหยุดดราม่าจึงตกมาเป็นของพ่อแม่ไปโดยปริยาย
.
เราจึงมาแนะนำ 5 ขั้นตอนในการทำให้ชีวิตครอบครัวสงบสุขขึ้น มีความสุขมากขึ้น และ(น่าจะ)ทำให้ลูกให้ความร่วมมือมากขึ้นกัน
👍🏻👍🏻👍🏻👍🏻👍🏻👍🏻
.
1) เรียนรู้ที่จะควบคุมและบริหารอารมณ์ของตนเอง 😤
.
ไม่ใช่แค่การสงบสติอารมณ์เท่านั้น การจะพยายามบริหารอารมณ์ตัวเองในแต่ละวัน หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในแต่ละวันด้วย เช่นการนอนเร็วเพื่อให้ไม่เหนื่อย (และหงุดหงิด) การกินอาหารที่ดีให้ตรงเวลา 😴
.
เพราะความเครียดทางร่างกายส่งผลกับจิตใจโดยคุณไม่รู้ตัว เปลี่ยนคำวิจาร์ณด้านลบให้เป็นแรงผลักดัน ใช้ชิวิตให้ช้าลงซักนิดเพื่อจะไม่กดดันตัวเองจนเกินไป พยายามไม่เอาความเครียดจากเรื่องอื่นๆมาโยนที่ลูก เพราะคำสอนที่มีอารมณ์มักจะถูกปฏิเสธโดยคำว่า "ไม่" 🙅🏻♂️ เสมอ ไม่ว่ามันจะมีเหตุผลขนาดไหน เพราะคุณและลูกกำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่ง "ดราม่า" นั้นเอง
.
.
2) เรียนรู้ที่จะรักลูกในแบบที่เค้าเป็น 🥰
.
แน่นอนพ่อแม่ก็รักลูกตัวเองอยู่แล้ว แต่ลองถอยออกมาก้าวนึงแล้วมองตัวเองดีๆ ว่าคุณรักลูกในแบบที่เค้าเป็นรึเปล่า เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้าคุณมีลูกเป็นเด็กในอุตมคติเราก็ยินดีด้วย คุณยิ่งกว่าถูกล็อตเตอรรี่รางวัลที่ 1 แต่ถ้าไม่ใช่ก็อย่าพยายามผลักดันเค้าให้เป็นแบบที่คุณต้องการมากเกินไป เด็กที่ได้รับการยอมรับจากพ่อแม่ในแบบที่เค้าเป็นจะเติบโตได้ดีกว่าและที่สำคัญจะ "ดราม่า" ใส่คุณน้อยกว่าแน่นอน
.
.
3) เรียนรู้ที่จะมีความสัมพันธ์ที่ดีอย่างต่อเนื่อง 🤝
.
เรากับลูกจะต้องมีเวลาที่ดีกันและเวลาที่เคืองกัน พ่อแม่หลายคนจะมีความรู้สึกว่าเวลาที่โกรธกันทำไม่ฉันต้องเข้าหาก่อน ลูกที่พูดจาไม่ดีต้องมาขอโทษก่อนสิ บางทีก็ทิ้งให้ห่างไปเป็นอาทิตย์เป็นเดือนโดยไม่พูดกันเลย อย่าปล่อยให้เป็นแบบนั้นเลย สอนให้ลูกรู้จักการให้อภัยการขอโทษด้วยการเริ่มต้นก่อน สอนให้ลูกรู้ว่าการขอโทษและการให้อภัยไม่ใช่เรื่องเสียหน้าแต่เป็นความกล้าต่างหาก
.
เวลาปกติก็พยายามใช้เวลากับลูกให้มากๆ ⏰ คุยกับเค้าก่อนนอน เวลาทานอาหารก็ไม่ใช้โทรศัพท์ไม่เปิดทีวี ลดระยะห่างลงมา ให้เค้ากล้าเปิดใจกับเรา เรื่อง "ดราม่า" ต่างๆในครอบครัวก็จะน้อยลงเอง
.
.
4) เรียนรู้ที่จะให้ความเคารพความคิดของลูก(โดยเฉพาะวัยรุ่น)
.
เมื่อลูกเริ่มโตขึ้น(บางที 6-7 ขวบก็เริ่มเถียงแล้ว) เค้าจะมีความคิดเป็นของตัวเอง ถูกบ้าง ผิดบ้าง มีเหตุผลบ้าง ไม่มีบ้าง แต่มันไม่ได้สำคัญขนาดนั้น การให้เกียรติและเคารพความคิดของเค้าสำคัญกว่า รู้จักรับฟังแบบเปิดใจและให้โอกาศเค้าอธิบาย พอใจเย็นลงกันค่อยมานั่งคุยกันว่าอะไรถูกไม่ถูก เมื่อเค้ารู้สึกว่าเราเคารพความคิดเค้า เค้าก็จะเคารพคำสอนของเรามากขึ้น โอกาศที่จะเกิด "ดราม่า" ก็จะน้อยลง 🤷🏻♂️
.
.
5) เรียนรู้ว่าลูกกำลังต้องการอะไรเมื่อเค้าสร้าง "ดราม่า"
.
เวลาที่ลูกกำลังหัวเสีย มันเหมือนสัญญานเตือนดัง 📳 ว่าลูกกำลังต้องการคนช่วยในการจัดการอารมณ์ของเค้าที่เราไม่ควรละเลยหรือปฏิเสธด้วยการลงโทษ ใช้เวลาดูซักนิดว่าเค้าต้องการอะไร หรือจะช่วยเค้ารับมือกับอารมณ์หรือความต้องการเหล่านั้นยังไง ใช้โอกาสนี้เรียนรู้ลูก อย่าเอาตัวเองเข้าไปช่วยเพิ่ม "ดราม่า" ให้กับลูก เพราะไม่ได้แก้ไขอะไรเลย อาจจะหยุดปัญหาได้เป็นทีๆไป แต่มันก็จะเกิดขึ้นอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็เท่านั้น
.
.
สุดท้ายอยากให้จำไว้ว่าลูกไม่ใช่เด็ก perfect และเราเองก็ไม่ใช่ พ่อแม่ perfect และไม่มีวันจะเป็นได้ ที่เราตั้งใจจะไม่ "ดราม่า" กับลูกในปีนี้ อาจจะไม่สำเร็จ แต่อย่างน้อยเราก็ได้เลือกมองโลกในแง่ดี เลือกปฏิบิติต่อกันไปในทางที่ดีขึ้น ลองเริ่มต้นวันนี้หลังจากอ่านบทความนี้จบเลยว่าเราจะเลือก "Love over Drama" แล้วคุณอาจจะตกใจกับผลที่ตามมาภายในวันเดียวนี้ก็ได้
.
บทความจากเพจ น้ำใจไปไหน http://www.facebook.com/namjaipainai
.
#drama #เลี้ยงลูก #น้ำใจไปไหน #พ่อแม่
เนื้อหาโดย: junce