รายชื่อประเทศที่ไม่มีการเกณฑ์ทหาร
1. ออสเตรเลีย ยกเลิก พ.ศ.2512
2. บาฮามาส
3. บังคลาเทศ
4. เบลเยี่ยม ยกเลิก พ.ศ.2537
5. เบลิซ
6. บัลแกเรีย ยกเลิก พ.ศ.2551
7. โครเอเชีย ยกเลิก พ.ศ.2551
8. จีบูติ
9. ฝรั่งเศส ยกเลิก พ.ศ.2544
10. แกมเบีย
11. เกรนาดา (ไม่มีอาชีพทหาร)
12. อินเดีย
13. จาเมกา
14. ญี่ปุ่น
15. เลบานอน ยกเลิก พ.ศ.2550
16. ลักเซมเบิร์ก
17. มัลดีฟส์
18. มอลตา
19. เนเธอร์แลนด์
20. นิวซีแลนด์
21. โปแลนด์
22. กาตาร์
23. โรมาเนีย ยกเลิก พ.ศ.2550
24. รวันดา
25. ซาอุดิอาระเบีย
26. แอฟริกาใต้
27. สเปน
28. สวาซิแลนด์
29. ตองกา
30. ตรินิแดดและโตเบโก
31. สหราชอาณาจักร
32. สหรัฐอเมริกา
33. วานูอาตู
แนวความคิดต่อต้านการเกณฑ์ทหาร
องค์การสหประชาชาติ
การเกณฑ์ทหารขัดกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติให้การรับรอง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2491 แต่ประเทศไทยไม่เห็นด้วย
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และซิกมันด์ ฟรอยด์
การเกณฑ์ทหารถือเป็นทาสอีกรูปแบบหนึ่ง
การเหยียดเพศเหยียดอายุ
การเกณฑ์ทหารอาจจำกัดเพศหรืออายุของผู้ที่ถูกเกณฑ์ แสดงถึงความไม่เท่าเทียมกันของผู้ที่อยู่ในกำหนดต้องเกณฑ์ทหารกับผู้ที่ไม่อยู่ในกำหนดต้องเกณฑ์ทหาร
ปัญหาวินัยของทหารเกณฑ์
ในสงครามเวียดนามมีทหารเกณฑ์สังหารกันเอง หรือการเปลี่ยนไปอยู่ฝ่ายตรงข้ามในสงครามโลก
มหาตมะ คานธี และอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
รัฐที่คิดว่าตัวเองสามารถบังคับประชาชนให้ไปร่วมสงครามได้ตามใจชอบ ย่อมไม่มีวันที่จะคิดถึงคุณค่าและความสุขของประชาชนในยามสงบ
ความสิ้นเปลืองและสูญเสียทางเศรษฐกิจในยามที่บ้านเมืองสงบ
ผลตอบแทนต่อต้นทุนของการเกณฑ์ทหารในยามสงบอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากการเกณฑ์ทหารมีต้นทุนโดยตรงที่รัฐต้องจ่ายในการฝึกอบรม และการที่ประชาชนมิได้ประกอบอาชีพของตนนั้นเป็นการใช้แรงงานจำนวนมากของชาติไปในทิศทางที่ไม่เพิ่ม GDP ของประเทศ