วิธีรับมือและป้องกันการเป็นตะคริว
เชื่อว่าหลายคนคงจะเคยผ่านเหตุการณ์ การเป็นตะคริวกันมาแล้วทุกคน ต้องบอกว่ามันทรมาณมากจะขยับก็ปวดเหลือเกิน พอเป็นทีก็แทบจะหมดอารมณ์ทำอะไรเลย วันนี้เราเลยจะพาทุกท่านมารู้กับวิธีรับมือถ้าเกิดการเป็นตะคริวและวิธีป้องกันไม่ให้เป็นตะคริว
การรับมือกับการเป็นตะคริวนักกายภาพบำบัดและนักกีฬาหลายท่านได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับมือกับตะคริวซึ่งคุณสามารถเลือกไปใช้ได้
1. ยืดกล้ามเนื้อและนวด
ปกติตะคริวจะมาเร็วเคลมเร็ว แต่ก็มีจังหวะสั้นๆ ก่อนเป็นที่เหมือนเตือนให้คุณรู้ว่าจะเป็นตะคริวแล้วน้า เพราะฉะนั้นคุณพอมีเวลาแก้ไขประมาณ 2 - 3 วินาทีก่อนกล้ามเนื้อจะเกร็งตัว ส่วนถ้ายืดแล้วไม่ดีขึ้นงั้นวิธีแก้แบบเห็นๆ ก็คือกดหรือคลำหาจุดที่แข็งและเจ็บ จากนั้นก็ใช้นิ้วโป้งนวดกล้ามเนื้อตรงจุดนั้นจนก้อนตะคริวนิ่มลง พยายามกดเน้นตรงจุดที่เจ็บ กล้ามเนื้อแถวนั้นจะได้คลาย
2. วิธีประคบร้อน และประคบเย็น
ประคบร้อน: ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นหรือแผ่นประคบร้อนกดลงไปในบริเวณที่ปวด ความร้อนจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้เร็วขึ้น
ประคบเย็น: ใช้น้ำแข็งหรือแผ่นเจลแช่แข็งประคบไว้ในบริเวณที่ปวด โดยมีผ้าสะอาดขั้นระหว่างอุปกรณ์ประคบเย็นและผิวหนัง การประคบเย็นจะช่วยให้รู้สึกชาและบรรเทาอาการปวดลงได้จนกว่ากล้ามเนื้อจะคลายตัว
3. วิธีอื่นๆ
กินยาคลายกล้ามเนื้อ: วิธีนี้ไม่ค่อยเเนะนำเท่าไหร่นะ แต่เอาไว้สำหรับปวดมากๆจนไม่ไหวจริงถึงทาน เพราะอาการเป็นตะคริวถ้าไม่ได้หนักมากจริงๆ สามารถใช้วิธีที่ง่ายกว่านี้ก็ช่วยได้
ดื่มน้ำให้มาก: พอเล่นกีฬาหรือขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวเยอะๆ คุณอาจเสียน้ำมากเพราะเหงื่อออกเยอะจนเกิดภาวะขาดน้ำได้ ถ้าดื่มน้ำไม่เพียงพอให้ร่างกายเพิ่มเลือดให้คงจำนวนตามปกติ ภาวะขาดน้ำแบบนี้ทำให้คุณเสี่ยงสูงที่จะเป็นตะคริวหรือกล้ามเนื้อฉีก เพราะงั้นให้รีบดื่มน้ำให้มากๆ น้ำและเครื่องดื่มสำหรับการเล่นกีฬาก็สามารถคลายตะคริวได้ เนื่องจากมีส่วนประกอบของเกลือแร่
วิธีป้องกันการเป็นตะคริว
- หมั่นยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำ โดยเฉพาะก่อนออกกำลังกาย และก่อนเข้านอน
- ออกกำลังกายอย่างพอดี ไม่หักโหม
- สวมใส่รองเท้าที่นุ่มและมีความยืดหยุ่นพอสมควร
- รับประทานอาการที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุกลุ่ม แคลเซียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- หากกำลังรับประทานยากลุ่มที่อาจทำให้เกิดตะคริวได้ ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับยาขนิดอื่นแทน