คุณเป็นโรคจิตหรือไม่?
โรคจิต (Psychosis) คือ ภาวะอาการทางจิตที่ผู้ป่วยมักมีอาการหลงผิดไปจากความเป็นจริง ประสาทหลอน หูแว่ว เห็นภาพหรือรับรู้ในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง อาการโรคจิตหรือวิกลจริตนี้เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยภายในอย่างความผิดปกติทางจิตต่าง ๆ อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย และปัจจัยภายนอกอย่างการใช้ยาหรือสารเสพติด แม้อาการบางอย่างของผู้ป่วยโรคจิตจะทำให้ครอบครัวและบุคคลรอบข้างเป็นกังวล แต่หากได้รับการรักษาและการดูแลสนับสนุนที่เหมาะสม ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะอาการดีขึ้นจนกลับมาใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้
ในทางการแพทย์ (Psychiatrist) ทั้ง 10 กลุ่มอาการนี้ ถือว่าเป็น "บุคลิกภาพผิดปกติ"
โดยจัดไว้ว่า "เป็นโรคอย่างหนึ่ง"
1. พวกชอบแยกตัว (Schizoid Personality Disorder)*
คนกลุ่มนี้ท่าทีจะเย็นชา ไม่ค่อยชอบเข้าสังคม ชอบอยู่เงียบๆ คนเดียว ไม่ต้องการมีความรู้สึกผูกพันกับใคร สนใจงานที่ทำคนเดียว มักเพ้อฝัน สร้างจินตนาการของตนเอง ซึ่งบางครั้งดูจะไม่สมเหตุสมผลกับความเป็นจริง จะมีปัญหามากเวลาที่ต้องเจอผู้คนหรือทำงานเป็นกลุ่ม พยายามหลีกเลี่ยงการเข้าสังคมในทุกรูปแบบ
2. พวกความคิดแปลกแยก (Schizotypal Personality Disorder)*
คนกลุ่มนี้จะมีลักษณะท่าทางแปลกๆ เชื่ออำนาจวิเศษ โชคลาง ผีสาง ประสาทสัมผัสที่หก และมีปัญหาในการพูดคุยกับบุคคลอื่น คำพูดบางครั้งวกวน เลื่อนลอย ไร้แก่นสาร พฤติกรรมไม่สมเหตุสมผล ดังนั้นจะปราศจากเพื่อนสนิทหรือเพื่อนคู่คิดและบางครั้งอาจมีอาการทางจิตแบบฉับพลันได้ เช่น เมื่อมีสิ่งกระตุ้นเร้าให้เขาเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์มากๆ บางครั้งเขาอาจคิดว่าตนเองมีองค์ลง หรือหูแว่วได้ยินเสียงเป็นเสียงเทพมาคุยด้วยเป็นครั้งคราวได้
3. พวกอันธพาล ต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder)*
คนกลุ่มนี้จะมีประวัติค่อนข้างเป็นพฤติกรรมอันธพาลตั้งแต่เด็ก เช่น โกหก หนีโรงเรียน หนีออกจากบ้าน ลักขโมย ชกต่อย ใช้สารเสพติด ทำผิดกฎหมายซ้ำแล้วซ้ำเล่า อารมณ์ใจร้อน หงุดหงิด ก้าวร้าว ปราศจากการสำนึกผิด ไม่เสียใจในการกระทำของตน ไม่สนใจความรู้สึกของผู้อื่น เป็นต้น
4. พวกอารมณ์ไม่มั่นคงก้ำๆ กึ่งๆ (Borderline Personality Disorder)*
คนกลุ่มนี้จะมีอารมณ์ที่แปรปรวนอย่างมาก ความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ไม่มั่นคง เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ทนความเหงาหรืออยู่คนเดียวไม่ได้ กลัวการถูกทอดทิ้ง ไม่ค่อยมั่นใจในตนเอง จึงรู้สึกไร้แก่นสาร ว่างเปล่า เบื่อหน่าย ซึมเศร้า เมื่อรู้สึกไม่มีใครรักหรือโกรธก็มักใช้วิธีทำร้ายตนเองอยู่เป็นประจำ
5. พวกชอบเรียกร้องความสนใจ (Histrionic Personality Disorder)*
คนกลุ่มนี้มีพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจสูง แสดงความคิดและความรู้สึกที่เกินความเป็นจริง ทำทุกอย่างให้ตนเองได้รับความสนใจ ความสัมพันธ์กับผู้อื่นมักเป็นแบบผิวเผิน โดยเฉพาะในผู้หญิงอาจมีการแสดงออกแบบเซ็กซี่ บางคนก็ขาดความมั่นใจในตนเอง
6. พวกชอบหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder)*
คนกลุ่มนี้มักหลงตัวเองว่ามีความสำคัญอย่างมาก เป็นบุคคล VIP คาดหวังสูงว่าจะต้องได้รับการตอบสนองอย่างดี ทนต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ตนไม่ได้ ต้องการแต่คำยกย่องสรรเสริญ ไม่รู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น บางคนอาจเอาเปรียบผู้อื่นเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง
7. พวกหลีกหนีสังคม (Avoidance Personality Disorder)*
คนกลุ่มนี้จะกลัวถูกปฏิเสธ ถูกทอดทิ้งจากบุคคลอื่น ใจจริงอยากเข้าสังคม อยากมีเพื่อน แต่เกรงว่าอาจจะถูกปฏิเสธ เลยขาดความมั่นใจในการติดต่อกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องพบปะกับบุคคลอื่น กลัวในการพูดต่อหน้าสาธารณชน มักมองตนเองในแง่ลบ ไม่เห็นคุณค่าตนเอง คิดว่าตนไม่เก่ง
8. พวกชอบพึ่งพาคนอื่น (Dependent Personality Disorder)*
คนกลุ่มนี้จะมีพฤติกรรมที่ยึดติดพึ่งพา ยอมให้ผู้อื่นตัดสินใจในทุกๆ เรื่องของตน หลีกเลี่ยงการเป็นผู้นำ รู้สึกกลัวเมื่อต้องอยู่คนเดียว กลัวการถูกทอดทิ้ง ถ้าเลิกกับแฟนก็จะพยายามหาแฟนใหม่ทันทีเพราะคิดว่าอยู่ตัวคนเดียวไม่ได้
9. พวกคุณนายระเบียบ ชอบย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Personality Disorder)*
คนกลุ่มนี้จะเป๊ะในทุกๆ เรื่อง ต้องทำทุกอย่างให้เรียบร้อย และไม่ยืดหยุ่น โดยจะยึดกับรายละเอียด หยุมหยิมจนทำให้มองข้ามเรื่องสำคัญๆ ไป ไม่ประนีประนอมตามความเห็นที่แตกต่าง จะมีมาตรฐานสูงในทุกๆ เรื่องจนดูเหมือนไม่ปล่อยวาง ไม่ยืดหยุ่นอะไรเลยแม้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ มักค่อนข้างประหยัดมัธยัสถ์อย่างมาก อะไรที่ผิดไปจากที่วางแผนไว้จะกังวลอย่างมาก
10. พวกชอบหวาดระแวง (Paranoid Personality Disorder)*
คนกลุ่มนี้มักระมัดระวังตัวอยู่เสมอ เนื่องจากมีความคิดว่าตนกำลังถูกปองร้าย หมกมุ่นอยู่ในความคิดสงสัย มักหึงหวงอย่างผิดปกติ เช่น คิดโดยไม่มีหลักฐานว่าคนรักของตนกำลังนอกใจ คอยสอดส่องสิ่งแวดล้อม ไม่มีอารมณ์ขัน โยนความผิด หรือกล่าวโทษผู้อื่นอยู่เสมอ
แหล่งที่มา: http://www.psychologytoday.com/blog/hide-and-seek/201205/the-10-personality-disorders & http://www.dek-d.com/board/view/3389619/