150ปีที่ผ่านมา รูปร่างในอุดมคติของผู้ชายเป็นแบบไหนกันนะ
จากยุคสู่ยุค แนวคิดเรื่องรูปร่างในอุดมคติของไม่ได้มีเพียงเพศหญิงเท่านั้น แท้จริงแล้ว สำหรับเพศชายก็มีเช่นกัน
Nickolay Lamm กราฟฟิกดีไซน์เนอร์และนักวิจัยด้านสัดส่วนร่างกายจากแมทเทล (Mattel) บริษัทผู้ผลิตบาร์บี้ จัดทำโปรเจคล่าสุดขึ้นมา โปรเจคนี้ใช้ 3 มิติจำลองรูปร่างในอุดมคติของผู้ชายใน 150 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ การออกแบบทั้งหมดได้รวบรวมข้อมูลจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ค่านิยม สภาพสังคมของยุคนั้นๆ
คริสต์ทศวรรษ 1870 นิยมหุ่นค่อนข้างท้วม เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งร่ำรวย ในยุคนั้น รัฐคอนเนตทิคัต (Connecticut) มีคลับเฉพาะสำหรับคนอ้วน ซึ่งเงื่อนไขคือต้องมีน้ำหนัก200ปอนด์หรือ90กิโลกรัมขึ้นไปเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าคลับได้ คลับนี้รุ่งโรจน์จนกระทั่งปิดตัวลงใน ค.ศ. 2000
ต่อมา ในยุคที่กล้องถ่ายรูปเริ่มเป็นที่นิยม เพื่อแก้ไขข้อด้อยของกล้องที่ว่า รูปที่ถ่ายออกมามักดูอ้วนมากกว่าตัวจริง รูปร่างผอมเพรียวจึงกลายเป็นกระแสในสังคมคริสต์ทศวรรษ 1960
จนกระทั่งยุค 1980 การเข้ายิมกลายเป็นสิ่งที่คลั่งไคล้ของคนในสังคม รูปร่างบึกบึนร่ำสันจึงเป็นหุ่นในอุดมคติของหนุ่มๆ เช่น รูปร่างๆของอาร์โนลด์ ชวาร์เซเน็กเกอร์ (Arnold Schwarzenegger) ซิลเวสเตอร์ สตอลโลน (Sylvester Stallone)
ทศวรรษ 1870
ในยุคนี้ ความอ้วนท้วมแสดงถึงสถานะของสังคมในคนในสังคม
คริสต์ทศวรรษ 1930 รูปร่างแบบนักกีฬา
John Wayne
Charles Atlas
ทศวรรษ 1960 รูปร่างที่สวยงามไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ที่คนมองหา วัยรุ่น โดยเฉพาะชาวอเมริกันให้ความสำคัญเกี่ยวกับเสื้อผ้าและการจัดผมให้ดูค่อนข้างยุ่งเหยิง อันเป็นการแสดงออกทางด้านเพศและปัจจเจกนิยม
John Lenon
ทศวรรษ 1970 แทนที่วัยรุ่นจะใช้รูปร่างเป็นสัญลักษณ์หนึ่งในการแสดงออกทางด้านการประท้วงและกิจกรรมทางการเมืองเหมือนในทศวรรษ 1960 แต่ยุค 1970 นี้กลับมีแนวคิดที่ว่าควรมีรูปร่างที่กำยำและความมีชีวิตชีวา เพื่อแสดงความเป็นวัยรุ่นมากกว่า
Arnold Schwarzenegger
ทศวรรษ 2010
Brad Pitt
ปัจจุบัน การมีหุ่นที่ไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไป มีกล้ามแต่พอดีคือรูปร่างในอุดมคติของหนุ่มๆทั้งหลาย ซึ่งคงต้องรอดูอีกครั้งว่าในอีกสิบปีข้างหน้า กระแสนิยมนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร