ห้ามแต่งงานเดือนคี่ เพราะเป็นฤกษ์อัปมงคล ถ้าฝืนแต่งจะพบเหตุวุ่นวายให้แตกแยก!! จริงหรือ ??
ห้ามแต่งงานเดือนคี่
โบราณว่า “ห้ามแต่งงานเดือนคี่ เพราะเป็นฤกษ์อัปมงคล ถ้าฝืนแต่งจะพบเหตุวุ่นวายให้แตกแยก เลิกร้างลากัน เว้นแต่เดือนเก้าเท่านั้นที่เป็นฤกษ์ดี มีชัย แต่งแล้วจะก้าวหน้า”
ปริศนาข้อห้าม
คู่บ่าวสาวที่แต่งงานเดือนคี่จะพบแต่เหตุวุ่นวายจนต้องหย่าร้างกันจริงหรือ?
ไขปริศนาข้อห้าม
ถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีไทยที่สืบทอดกันมาแต่โบราณว่า ชายควรบวชก่อนเบียดสักหนึ่งพรรษา ส่วนช่วงเวลาก่อนหน้านี้ก็ยังอยู่ในฤดูฝน ไม่เอื้อต่อการจัดงานกลางแจ้งนัก ส่วนฤดูร้อนก็ร้อนอบอ้าวไม่เหมาะสำหรับให้หนุ่มสาวขึ้นหอรักเช่นกัน เมื่อสึกออกมาแล้วจะเข้าสู่ฤดูหนาวพอดีก็นับว่าเหมาะสำหรับเข้าสู่พิธีวิวาห์ แต่ท่านก็จะแนะนำว่าไม่ควรแต่งงานเดือน 12 เพราะเป็นช่วงที่สุนัขติดสัด
ชายไทยถือเรื่องฤกษ์ยามตัวเลขเป็นสำคัญ เชื่อว่าแต่งงานเดือนคู่ ชีวิตคู่ก็จะมั่นคงรุ่งเรือง แต่หากแต่งงานเดือนคี่ก็จะไร้คู่ ซึ้งล้วนแล้วแต่เป็นอำนาจทางจิตใจทั้งสิ้น (ยกเว้นเดือนอ้ายและเดือนก้าว เพราะหมายเอาเสียง “อ้าย” กับ “ก้าวหน้า”)
ปัจจุบันหลายอย่างได้เปลี่ยนไป จิตใจของคนก็เปลี่ยนไป การแต่งงานได้หันมาถือเอาความพร้อมของทั้งสองฝ่ายเป็นหลักมากกว่า
กล่าวโดยสรุปแล้ว กุศโลบายนี้น่าจะเป็นข้ออ้างของคนโบราณให้จัดพิธีแต่งงานเมื่อพร้อมมากกว่า และอาจเป็นไปได้ว่า คนโบราณต้องการยืดเวลาให้คู่บ่าวสาวดูใจกันนานๆ ก่อนแต่งนั่นเอง
ความแยบยล ลึกซึ้ง และลึกลับของกุศโลบาย
คนโบราณเชื่อถือโหราศาสตร์กันตั้งแต่คลอดจนตาย ถือเป็นศาสตร์สำคัญในการกำหนดพิธีกรรมของสังคม โดยเฉพาะพิธีแต่งงานที่ชาติหนึ่งมีหนเดียว หมอดู หรือเกจิอาจารย์ทั้งหลาย จึงกลายเป็นกรรมการตัดสินว่าใครควรจะแต่งงานกันเดือนไหนดี ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นเดือนคู่ตามดำรา