พื้นที่บ้านอันน้อยนิด ก็ปลูกผักได้
พื้นที่น้อยไม่ใช่ปัญหาของการปลูกผัก เพราะเราสามารถเลือกรูปแบบการปลูก ชนิดของพืชผักที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมได้
รูปแบบการปลูกผัก
ปลูกผักพืชเลื้อยผักพืชเลื้อยนอกจากทานได้แล้ว ยังมีประโยชน์ช่วยกําบังแสงแดด เช่น ถั่วลันเตา ตําลึง ที่เหมาะกับการปลูกในพื้นที่เล็ก เช่น ระเบียงคอนโดมิเนียม วิธีการก็คือ สร้างห้างให้พืชเลื้อยแบบง่ายๆ ด้วยท่อ PVC มาต่อกับข้อต่อ โดยจะทําเป็นรูปทรงอะไรก็ตามแต่สะดวก หรือจะใช้ไม้ไผ่ทําก็ได้
ยอดอ่อนของถั่วลันเตาที่เรารู้จักกันในชื่อ “โต้วเหมี่ยว” เมื่อครบ 7 วัน ก็สามารถตัดมาทานได้แล้ว รวมถึงถั่วชนิดอื่นๆ เช่น ถั่วเขียว เมื่อเพาะได้ 4 วัน เราก็จะได้ “ถั่วงอก” มาทาน เห็นไหมว่าการปลูกผักทานเองไม่ยากและไม่ต้องรอนาน
ปลูกพืชสมุนไพร
พืชสมุนไพร เช่น กะเพรา ตะไคร้ หอมแดง สะระแหน่ โหระพา กุยช่าย และพริก เป็นพืชลักษณะเล็กสามารถปลูกในกระถางหรือวัสดุประยุกต์ขนาดไม่ต้องใหญ่
ปลูกผักแนวตั้ง
การปลูกผักแนวตั้งเป็นสไตล์ที่เหมาะกับพื้นที่ที่ค่อนข้างจํากัด อุปกรณ์ในการเพาะปลูกที่นํามาจัดสวนแนวตั้งได้นั้น ได้แก่ กระถาง ขวดน้ำ แก้วกาแฟ หรือภาชนะอื่นๆ ในบ้านที่นํามาประยุกต์แขวนไว้กับผนังหรือระเบียงได้ แต่ภาชนะที่นํามาประยุกต์ใช้จะต้องเก็บดินได้และน้ำสามารถไหลออกได้
ปลูกผักแนวนอน
วิธีการนี้เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่ไม่น้อยจนเกินไป เช่น มีบริเวณดาดฟ้าหรือบริเวณหน้าบ้านหรือหลังบ้าน โดยใช้วิธีปลูกผักในกระบะ และนอกจากกระบะแล้วยังสามารถนําท่อ PVC มาต่อแล้วใช้แสลนปูรองที่พื้นก็ปลูกผักได้ด้วย วิธีนี้ดินก็ไม่ไหลออกมาเช่นกัน เป็นวิธีที่ทําง่าย ทน และราคาถูก
เคล็ดลับปลูกผักแนวนอน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ความร้อนและน้ำหนัก ซึ่งผู้ช่วยชั้นดีในการลดความร้อนและน้ำหนักก็คือ ถ่านหรือกาบมะพร้าว โดยการปูไว้ด้านล่างภาชนะครึ่งหนึ่ง
ขอบคุณข้อมูลจาก : สสส.