"ไร" ในหู กระต่าย
โรคหนึ่งที่พบบ่อยมากๆในกระต่ายโรคหนึ่ง นั้นคือ ไร ในหู ซึ่ง ชื่อโรคภาษาไทยเรียกว่า ไรในหู แต่ฝรั่งเค้าเรียก ว่า Ear mite และชื่อที่นักวิทยาศาสตร์ ตั้งให้คือ Psoroptes cuniculi
จริงๆแล้วไรในกระต่ายมีหลากหลายชนิด แต่ไรที่เป็นแล้วทำให้กระต่ายรำคาญมาก จนบางที ไม่กิน ไม่นอน เอาแต่สะบัดหัว ไป-มา ก็คือ ไรในหู
การติดต่อของไรในหู นี้ติดกันได้หลายวิธี แต่วิธีหลักๆ 2 ข้อคือ
1.โดยการสัมผัสกันโดยตรงของกระต่ายครับ ถ้ากระต่ายตัวที่เป็นโรค เล่นกับตัวที่ไม่เป็นโรค หรือ แม่กระต่ายที่เป็นโรค เลี้ยงลูก ลูกก็มีโอกาสติดสูงมาก
2.ติดจากสิ่งแวดล้อม แล้วสิ่งแวดล้อมติดมาจากไหน ก็ติดมาจากกระต่าย แล้วกระต่ายติดมาจากไหน ก็จากสิ่งแวดล้อม มันเป็นเหมือนวงจรอุบาทว์ สิ่งแวดล้อมก็คือถ้ากระต่ายเป็นแล้ว สะบัดหู เกาหู ก็จะมีตัวไร หลุดออกมา ที่สิ่งแวดล้อม ถ้าเรารักษาแต่ตัวกระต่ายโดยไม่ทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมก็มีโอกาสติดโรคซ้ำได้
เคยสงสัยกันมั้ยว่าไรในหู ทำไมต้องไปอยู่ไปในหู? แล้วกินอะไรเป็นอาหาร? กินขี้หูรึ! ก็ไม่น่าใช่ จริงๆแล้ว ไรพวกนี้จะกิน น้ำเหลือง เป็นอาหาร ไรจะกัดและรอกินน้ำเหลือง หลังจากกิน กระต่ายก็จะมีการคัน อักเสบมาก นอกจากจะอาศัยอยู่กินในหูกระต่ายแล้ว ยังผสมพันธุ์กันในรูหูกระต่ายอีก ... (ทำไปได้ )
สงสัยไรจะนึกว่ารูหูกระต่ายเป็นเรือนหอชั้นดีซะละมั้ง นอกจากนี้ตัวไรในหูบางตัว ก็ยังมีการไปฮันนีมูน นอกรูหูอีก คือไปที่ ใบหน้า และ ลำตัวก็ได้ ซึ่งเจอได้แต่ไม่บ่อย
การวินิจฉัย เค้าทำกันยังไง คือถ้าเห็นรอยโรคนี่ก็ 80 % ไปแล้ว เพราะรอยโรคมันจำเพาะจริงๆ แต่ให้ชัวร์ก็ทำการขูดตรวจ เอาขี้หูและคราบสะเก็ดไปส่องตรวจ ก็จะเจอ ครอบครัวตัวไรหู
ใบหูซึ่งมีไรในหูทำให้ใบหูอักเสบและเจ็บมาก |
การรักษา เราสามารถรักษาได้หลายวิธี มีทั้ง ฉีดยา หรือ หยดยา ซึ่งโดยส่วนใหญ่ถ้าฉีดยาก็ ทุกๆ 14 วัน ติดต่อกัน 3 ครั้ง หรือ หยดยาก็เช่นเดียวกัน ข้อห้ามก็คือ ห้ามแคะแกะเกา เอาคราบในหูออกเป็นอันขาด เพราะกระต่ายจะเจ็บค ปล่อยไว้ ซัก สองอาทิตย์เดี๋ยวคราบที่หูก็จะหลุด ออกมาเอง
อาการหลักๆที่มักจะพบได้ก่อนที่กระต่ายจะแสดงอาการมากก็คือ
1. สะบัดหัว
2. เกาบริเวณหัวหรือหูมากกว่าปกติ
3.ขนร่วงที่บริเวณใบหูหนึ่งหรือสองข้าง
4.เจอคราบแดงๆในรูหู
5.กระต่ายหัวเอียง เดินเซ และ มีอาการชัก
การรักษาให้หายไม่ยาก ถ้าวินิจฉัยถูกต้อง และเจ้าของพากระต่ายไปรักษากับคุณหมอเฉพาะทางสัตว์เล็กตามนัด โรคนี้บางทีถ้าตัวไรมีปริมาณมากอาจจะทำให้เกิดการอักเสบของหูชั้นในได้ และอาจจะทำให้เกิดโรคอื่นๆตามมาได้ ถ้าพบอาการดังกล่าว อย่างข้างต้น ก็อย่านิ่งนอนใจ รีบพามาพบสัตวแพทย์
Cr.น.สพ.เชาวพันธ์ ยินหาญมิ่งมงคล (หมออ้อย)
- อย่าลืมสำรวจเด็กๆที่บ้านกันนะฮะด้วยความปรารถนาดีจาก คุณถุงเงิน