"ไพรเหงือก" คือ ลวดลายที่ปรากฏบนใบหน้าของยักษ์ในงานจิตรกรรม แท้จริงแล้ว ไพรเหงือก คือ หนวดเครา รวมไปถึง ร่องแก้ม ที่ปรากฏบนใบหน้าของยักษ์
เพราะ "ไพรเหงือก" ซึ่งแปลว่า ริมขอบเหงือก(ไพร - ขอบ/ริม)
จากภาพตัวอย่างงานจิตรกรรมก่อนยุครัตนโกสินทร์ทั้ง ๒ ภาพ จะเห็นได้ชัดเจนว่า หนวดเคราและคิ้วของยักษ์นั้นถูกออกแบบไว้อย่างเรียบง่ายแต่โดดเด่น
จากทั้ง ๒ ภาพ คิ้วของยักษ์คือ เส้นหนาบนที่มีสีดำ ส่วนเส้นล่างที่มีสีน้ำตาลเหนือดวงตา คือ เส้นชั้นเปลือกตา
จากการเทียบเคียงลายเส้นจะพบว่า ลายเส้นไพรเหงือกที่อยู่รอบปากนั้น แท้จริงแล้วก็คือ
เส้นขนหนวดของยักษ์นั่นเอง
ฉะนั้น หากต้องการวาดให้ถูกครูตามหลักโบราณจริง ควรลงเส้นลายรอบปากยักษ์(รวมถึงเส้นคิ้ว)เป็นลายเส้นขนแบบไล่ระดับ(ส่วนสีของคิ้วและหนวดนั้นให้พิจารณาตามความเหมาะสมของบุคลิกและสีผิวของยักษ์ตนนั้นๆเอง)
ในกรณีที่วาดเป็นยักษ์หญิงรึยักษ์ที่ไม่มีหนวดนั้น ไม่จำเป็นต้องใส่หนวดเลยก็ได้(แต่ถ้าเป็นการแสดงอาการแยกเขี้ยวยิงฟันรึยิ้มรึแสดงอารมณ์อื่นๆที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปของปากนั้นให้ใส่เป็นลายของร่องแก้ม[nasolabial folds]ได้ตามความเหมาะสมของอากัปกิริยาที่แสดงออก ณ ขณะนั้น(ร่องแก้มก็จัดเป็นไพรเหงือกเช่นกัน โดยพิจารณาจากความหมายของรากศัพท์ ซึ่งแปลว่า [สิ่งที่อยู่]ริมขอบเหงือก)
ออกแบบลวดลายไพรเหงือก(หนวด/ร่องแก้ม)ของยักษ์(เฉพาะกิจ)
ตัวอย่าง ไพรเหงือกแบบร่องแก้ม