จุฬาลุยวิจัยสร้างยาอายุวัฒนะ !!!! 🤗🤗
เป็นที่น่ายินดีกับความทะเยอทะยานที่จะสร้างงานวิจัยเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตให้ดีได้เกิดในประเทศไทยแล้ว หลังจาก คณะวิจัย ดร.มธุรดา เพชรสังข์ นิสิตผู้รับทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ของ สกว. ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ หลังจากทำการวิจัยเรื่อง “การสร้างเสริมสุขภาพดีเอ็นเอโดยใช้อาลูเอสไออาร์เอ็นเอเติมหมู่เมททิล" หลังจากที่ค้นพบสารที่สามารถลดรอยโรคที่ดีเอ็นเอของเซลล์มนุษย์ที่เลี้ยงในหลอดทดลอง
โดย ดร.น.พ.อภิวัฒน์ มุทิรางการ ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่นสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย( สกว.) จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า ยาอายุวัฒนะมีชื่อว่า อาลูเอสไออาร์เอ็นเอ (Alu-siRNA) มีหน้าที่ บำรุงเสริมเกราะให้กับดีเอ็นเอ ทำให้เซลล์ทนต่อสารทำลายดีเอ็นเอและทำให้ดีเอ็นเอแก่ช้าลง โดยอาลูเอสไออาร์เอ็นเอ จะไปเติมหมู่เมททิลที่อาลู เอเลเมนท์ (Alu elements) และเพิ่มความเสถียรของสารพันธุกรรม ซึ่งหากหมู่เมททิลของอาลู เอเลเมนท์ลดลงจะทำให้ดีเอ็นเอมีรอยโรคมากขึ้น
อย่างไรก็ตามยานี้ยังอยู่ในขั้นพัฒนาซึ่งคณะวิจัยกำลังร่วมมือกับ ศ.ดร.นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร และ ศ.ดร.ทพญ.สิริพร ฉัตรทิพากร ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อทดลองใช้ยาอายุวัฒนะดังกล่าวในหนูทดลอง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ที่ยานี้จะมาใช้กับมนุษย์จริง โดยหวังว่ายานี้จะมีประสิทธิภาพเพิ่มความเสถียรให้สารพันธุกรรมและลดความชราให้แก่เซลล์ได้อย่างสมบรูณ์ ซึ่งอาจป้องกันความพิการและโรคที่เกิดจากความชราได้ในอนาคต 🤗🤗
ร่วมเป็นกำลังใจให้เราได้ที่ : https://www.facebook.com/barnsorn/