รถไฟฟ้าขอนแก่น/เชียงใหม่ เจ๊งแน่ เว้นแต่. . .
ขณะนี้เมืองในภูมิภาคเช่นขอนแก่น เชียงใหม่ กำลังคิดสร้างรถไฟฟ้า ดร.โสภณ ฟันธง โครงการเหล่านี้เจ๊งไม่เป็นท่าแน่นอน ถ้าไม่มีอีกสิ่งหนึ่งมารองรับ
ที่ผ่านมา มีข่าวการก่อสร้างรถไฟฟ้าดังนี้:
1. ระบบรถไฟฟ้ารางเบา ขอนแก่น (http://bit.ly/2xE3Etj)
2. ระบบระไฟฟ้ารางเบา เชียงใหม่ 3 สาย (http://bit.ly/2yJRVJw)
3. ระบบรถไฟฟ้ารางเบา นครราชสีมา (http://bit.ly/2i8FuQp)
4. ระบบรถไฟฟ้ารางเบา ชลบุรี-พัทยา 5 สาย (http://bit.ly/2yiwejr)
นอกจากนี้ยังมีข่าวที่จะสร้างที่อื่นอีก เช่น ภูเก็ต พิษณุโลก และอุดรธานี (http://bit.ly/2g9WBNO) เป็นต้น
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.co.th) ได้ให้ข้อคิดเห็นว่าโครงการเหล่านี้เป็นโครงการที่สร้างสรรค์ดี แต่อาจไม่ประสบความสำเร็จ หากขาดปัจจัยต่อไปนี้:
1. การผังเมืองที่ให้ในใจกลางเมืองมีความหนาแน่นสูง (high density) แต่ไม่ใช่แออัด (overcrowdedness) คือให้สร้างตึกได้สูงๆ เพื่อการใช้ที่ดินที่คุ้มค่า เช่น ในเขตต่างๆ ใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานคร มีความหนาแน่นของประชากรสูงถึงประมาณ 7,000 คนต่อตารางกิโลเมตร แต่ความหนาแน่นของประชากรในเทศบาลนครขอนแก่นมีเพียง 2,520 คนต่อตารางกิโลเมตร (http://bit.ly/2xE5qud) ดังนั้นจึงจะมีจำนวนผู้ใช้บริการไม่พอเพียงกับการลงทุน
2. การก่อสร้างที่บางช่วง บางเส้นอาจเลียนแบบ BRT ในกรุงเทพมหานคร (http://bit.ly/2lK4rlA) จะไม่ประสบความสำเร็จ และสร้างปัญหาแก่สังคมเพราะทำให้ช่องทางจราจรช่องหนึ่งหายไป และยังขาดทุน แต่ไม่อาจเลิกได้เพราะการเมืองนั่นเอง
หากจะคิดสร้างรถไฟฟ้ารางเบาในพื้นที่ต่าง ๆ ต้องแก้ไขผังเมืองให้สามารถก่อสร้างได้โดยมี FAR (Floor Area Ratio) ประมาณ 10-20 เท่าของที่ดิน เมื่อนั้นการใช้บริการก็จะเกิดขึ้นเพราะมีผู้ใช้บริการเพียงพอนั่นเอง แต่ผังเมืองมักจะมีความคิดแบบ "คร่ำครึ" ที่มุ่งแต่จะอนุรักษ์พื้นที่เก่าใจกลางเมือง กลายเป็นประเด็น "คนตายขายคนเป็น" ไม่อาจทำการพัฒนาใหม่ ๆ ที่ดินใจกลางเมืองจึงสร้างอะไรไม่ค่อยได้ ส่วนนอกเมืองก็กระจายออกไปแบบไร้ทิศผิดทาง ทำให้ไม่สามารถสร้างรถไฟฟ้าให้สนองความต้องการของประชาชนได้เต็มที่
ที่มา: http://bit.ly/2yr9bCh