วัด, อสังหาริมทรัพย์ในสมัยพุทธกาล
ความยิ่งใหญ่ของวัดในสมัยพุทธกาล อาจจะยิ่งกว่ากว่ามหาธรรมกายเจดีย์ในวันนี้ก็ว่าได้ กรณีนี้วัดก็ถือเป็นเป็นสิ่งก่อสร้าง เป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภทหนึ่ง
เมื่อเร็วๆ นี้ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.co.th) ได้ท้วงติงพระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต ที่ท่านเทศน์ว่าพระพุทธให้พระสงฆ์อยู่ป่า และพระพุทธเองก็ตั้งใจอยู่ป่าตลอดชีวิต ข้อนี้เป็นการคิดแบบพระเทวทัต เพราะพระเทวทัตขอให้พระพุทธบัญญัติให้พระอยู่แต่ในป่า แต่พระพุทธไม่อนุญาต
ในระยะเวลา 45 พรรษาที่ตรัสรู้ พระพุทธก็อยู่ในวัดถึง 38 พรรษา อยู่ป่า เขาหรือสวรรค์เพียง 7 พรรษาเท่านั้น แม้แต่วัดป่าสุคะโตของพระไพศาลเอง ก็อยู่ในหมู่บ้าน ไม่ได้อยู่ในป่าแต่อย่างใด ท่านเองก็รับกิจนิมนต์ไปทั้งในและต่างประเทศ คงมีเวลาจำพรรษาในวัดจำกัด วัดป่าสุคะโต ก็ไม่ได้มีสภาพเป็นป่า เพราะเพิ่งมีการตัดโค่นต้นไม้ใหญ่ในคราวทำสัมปทานป่าไม้เมื่อราว 30 ปีก่อน และยิ่งการอยู่แบบอยู่ป่าแท้ๆ ตามที่พระไพศาลอ้างถึง ท่านเองก็คงไม่ได้ปลีกวิเวกไปธุดงค์ในป่าเขาเพียงลำพังรูปเดียวแต่อย่างใด โปรดดูข้อท้วงติงของ ดร.โสภณ ได้ที่ บทความ http://bit.ly/2upeJYo และวีดีทัศน์ http://bit.ly/2vauIx9
ทั้งนี้วัดเชตวันมหาวิหาร เป็นที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถีสร้างให้และเป็นวัดที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุดถึง 19 พรรษา เดิมวัดเชตวันเป็นพระราชอุทยานสำหรับเสด็จประพาสของเจ้าเชต เจ้าชายในราชวงศ์โกศลแห่งเมืองสาวัตถี เป็นพระราชอุทยานร่มรื่นนอกตัวเมืองหลวง มีเนื้อที่ 80.94 ไร่ (32 เอเคอร์) ราคาที่ดินแพงมหาศาลถึง 18 โกฏิ (เจ้าเชตกำหนดให้นำเหรียญทองมาปูเต็มพื้นที่ ๆ ต้องการซื้อ) วัดแห่งนี้อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ สิ้นเงินไปอีก 36 โกฏิ จึงทำให้การสร้างวัดแห่งนี้มีราคาถึง 54 โกฏิ (http://bit.ly/2kBdgNT) เฉพาะราคาที่ดิน 80.94 ไร่ ใช้ทองคำปูถ้าดูตามนี้ วัดนี้คงมีราคาแพงกว่าวัดธรรมกายในปัจจุบันเสียอีก
สมเด็จ ป.อ.ปยุตโต ก็เคยกล่าวว่า "(วัดเชตวัน) อาคารไม่ใหญ่ อย่างกุฏิพระพุทธเจ้า. . .กว้างด้านละ ๒-๓ เมตร เท่านั้นเอง. . .ที่ว่าบริเวณใหญ่โต ก็คือเป็นสวนหรือเป็นป่า. . ." ข้อนี้สมเด็จฯ พูดผิดความจริงเพราะว่าในความเป็นจริง "(ที่ดิน) แพงมหาศาลถึง 18 โกฏิ. . .สร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ สิ้นเงินไปอีก 36 โกฏิ" แสดงว่าสร้างอย่างยิ่งใหญ่มาก ส่วนกุฏิของพระพุทธเจ้าจะเล็กกว่าของสมเด็จฯ ไม่ใช่ประเด็น (http://bit.ly/2lJXBJe)
นอกจากวัดเชตวันแล้ว ในระหว่างเวลา 45 ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ พระวิหารต่าง ๆ ซึ่งพอจะประมวลไว้ได้ดังนี้: (http://bit.ly/2ujsSqN)
- กูฏาคาร เป็นพระอารามที่ประทับในป่ามหาวัน เป็นป่าใหญ่ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในพรรษาที่ 5 ภายหลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ กูฏาคารในป่ามหาวัน นครเวสาลี
- โฆสิตาราม เป็นชื่อวัดสำคัญในกรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ ในพรรษาที่ 9 ภายหลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ พระอารามแห่งนี้ ในบางคัมภีร์ระบุว่าเมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับที่กรุงโกสัมพีทรงพำนักที่โฆสการาม อันเป็นอารามที่โฆสกเศรษฐีสร้างถวาย
- จันทนศาลา เป็นศาลาไม้จันทน์แดง ในมกุฬการาม แคว้นสุนาปรันตะ
- ชีวกัมพวัน หมอชีวกโกมารภัจจ์ สร้างวัดถวายในอัมพวัน คือสวนมะม่วงของตน อยู่ในกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
- นิโครธาราม เป็นพระอารามที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้าอยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ นครหลวงของแคว้นสักกะ ในพรรษาที่ 15 หลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่นิโครธาราม
- บุพพาราม เป็นพระวิหารที่อยู่ใกล้เคียงกับมหาวิหารเชตวันทางใต้ของนครสาวัตถี นางวิสาขามิคารมารดา มหาอุบาสิกาเป็นผู้สร้างถวาย โดยขายเครื่องประดับประจำตัวมีค่ามากถึง 90 ล้านกหาปนะ
- พระเวฬุวัน เดิมเป็นป่าไผ่ สวนที่ประพาสพักผ่อนของพระเจ้าพิมพิสารอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากพระนครราชคฤห์นครหลวงของแคว้นมคธ
- อัคคาฬวเจดีย์วิหาร อยู่ในเมืองอาฬวี ในพรรษาที่ 16 ภายหลังตรัสรู้ระหว่างเวลา 45 ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ วิหารแห่งนี้
ในวัดเหล่านี้พระพุทธไม่ได้อยู่พระองค์เดียว แต่อยู่กับพระสงฆ์เป็นจำนวนมาก บ้างก็เป็นร้อยๆ รูป จึงไม่ใช่วัดขนาดเล็ก ๆ หรืออยู่ตามป่า (ซึ่งคงหมายถึงตามโคนต้นไม้) อย่างที่พระไพศาลอ้างถึง นอกจากนี้อสังหาริมทรัพย์ในสมัยพุทธกาลยังมีมหาวิทยาลัยสงฆ์เช่นนาลันทะ และเมืองนาลันทะในสมัยพุทธกาล (http://bit.ly/2bsUkZ5) ก็มีความยิ่งใหญ่มาก เจดีย์ที่สร้างในภายหลังก็ยิ่งใหญ่เช่นกัน เช่น มหาสถูปแห่งเกสเรียที่รูปร่างคล้ายธรรมกาย (http://bit.ly/2wCr6Cb) หรือมหาสถูปโบโรบูดูร์ (http://bit.ly/1NRK39F) เป็นต้น
สิ่งเหล่านี้คืออสังหาริมทรัพย์ของพุทธศาสนาโดยแท้
หมายเหตุ โปรดดูเพิ่มเติม ข้อท้วงติงของ ดร.โสภณ ต่อคำเทศน์ของพระไพศาล วิสาโล บทความ http://bit.ly/2upeJYo และวีดีทัศน์ http://bit.ly/2vauIx9
ที่มา: http://bit.ly/2uB4IYr