หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ชาวยอง

โพสท์โดย ใหม่สูงค่า

ชาวยองถือเป็นข้าพระมหาธาตุจอมยองที่เจ้าฟ้าแห่งลื้อเคยหยาดน้ำเวนทานเอาไว้กับแผ่นดิน ด้วยเหตุนี้ในอดีตนั้นคนยองจึงไม่ต้องจ่ายส่วยภาษีแก่ผู้ใด


...เมืองยองหรือมหิยังคะรัฐ(มหิยังคะแปลว่าภูเขา)เดิมเมืองยองเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนสองปันนา(อาณาจักรลื้อ)...ชาวลื้อเมืองยองมีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ครั้นเมื่อหันมานับถือพุทธศาสนาชาวเมืองจึงได้สร้างพระธาตุจอมยองขึ้น..บริเวณพระธาตุถือเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เจ้าฟ้าแห่งลื้อจึงทรงถวายไร่นาไว้เพื่อเป็นพุทธบูชาแด่พระธาตุแห่งนี้


...ต่อมาเมื่ออาณาจักรลื้ออ่อนแอลงจนแตกออกเป็น2ส่วนคือสิบสองปันนาและเชียงแขง ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นทำให้จักรพรรดิจีนฉวยโอกาสยกกองทัพมาทางยูนนาน(ช่วงนี้ได้สร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว)สถานการณ์บ้านเมืองในดินแดนแถบนี้จึงเต็มไปด้วยข้อพิพาทศึกสงครามการต่อสู้ตลอดมา...ล่วงมาถึงสมัยพญาสามฝั่งแกนขึ้นเป็นกษัตริย์เชียงใหม่ ฮ่อ(กองทัพยูนนาน)ยกทัพลงมาตีเชียงแสน แต่ก็ต้องล่าถอยเมื่อกองทัพเชียงใหม่เคลื่อนกำลังมาต่อสู้จนไล่ฮ่อไปจนถึงเมืองยอง เมื่อกองทัพเชียงใหม่ตั้งทัพที่นี่เจ้าฟ้าเมืองลื้อสิบสองปันนาจึงได้ยกเมืองยองให้เป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่


...ด้วยเหตุที่เมืองยองทั้งเมืองเป็นเมืองของพระธาตุจอมยอง เชียงใหม่จึงไม่สามารถเก็บส่วยภาษีจากคนเมืองยองได้ จึงเรียกเก็บเป็นอย่างอื่น คัมภีร์โบราณตัวอักษรล้านนากล่าวว่า ให้เมืองยองส่งช่างหอกฟ้อนดาบลงไปฟ้อนเป็นบรรณาการแด่กษัตริย์เชียงใหม่ทุกปี แต่แล้วในรัชสมัยพญาแก้ว(พระเมืองแก้ว)ขึ้นเป็นกษัตริย์เชียงใหม่ ช่างฟ้อนในเมืองยองเสียชีวิตลงหมด..ชาวยองจึงหาช่างฟ้อนไปให้แก่เชียงใหม่ไม่ได้ จึงต้องเอาตัวออกห่างจากเชียงใหม่หันไปพึ่งเจ้าเมืองยางแดง(กะเหรี่ยง)และเจ้าเมืองอังวะ จนกระทั่งแยกตัวออกจากเชียงใหม่ในที่สุด


..เวลาผ่านล่วงมาอีก 100ปีในสมัยพม่าปกครองเมืองยองกษัตริย์พม่าคือพระเจ้าสุทโธธัมมราชา ได้ส่งเจ้าแสนสุรินทร์ มาเป็นเจ้าฟ้าเมืองยอง เจ้าฟ้าองค์ใหม่ได้สอบถามเจ้าอาวาสว่าจะสามารถเก็บส่วยได้หรือไม่ เจ้าอาวาสบอกว่า จะเก็บส่วยจากคนยองไม่ได้เพราะคนยองเป็นข้ามหาธาตุจอมยอง แต่ท่านเจ้าอาวาสก็ไม่ห้ามปรามเมื่อเจ้าแสนสุรินทร์เก็บส่วยภาษี ต่อมาเมื่อจึงเจ้าอาวาสมรณภาพจึงกลายเป็นเปรตจากผลของการกระทำนี้ เจ้าฟ้าเมืองยองกลัวว่าตนเองเมื่อตายจะกลายเป็นเปรตเหมือนดั่งเจ้าอาวาส จึงเกิดเป็นประเพณีในการครองเมืองว่าห้ามเก็บส่วยจากคนยองเป็นเด็ดขาด(คนเมืองไม่ได้เรียกเปรต แต่เข้าใจว่าเป็น ผีกะในตำนานที่เจ้าอาวาสตายเป็นเปรต คนเมืองเรียกว่า ผีกะหลวง)


...ต่อมาเมืองยองขาดผู้สืบครองเมือง ทำให้เมืองสิบสองปันนาเชียงรุ่งเข้ามาอ้างสิทธิครอบครองเมืองยองอีกครั้งหนึ่ง แต่เมื่อไม่สามารถเก็บภาษีได้ จึงยกเมืองยองให้กับเมืองเชียงแขงปกครองกระทั่งถึงปลายปี พ.ศ.2280 มีโจรจาก เมืองเชียงแขง แอบมาขโมยควายของชาวบ้านเมืองยอง เมื่อมีการไต่สวนในศาล

เจ้าฟ้าเมืองเชียงแขงกลับตัดสินให้คนเชียงแขงชนะคดี ชาวเมืองยองต่างไม่พอใจจึงรวมตัวกันไปประท้วง สถานการณ์บานปลายถึงขั้นถือดาบต่อสู้กันและบางส่วนรวมตัวบุกเผาหอคำเจ้าฟ้าเชียงแขง เหตุการจราจลนี้ได้มีการขึ้นศาลกันอีกที่กรุงอังวะโดยกษัตริย์พม่าได้ตัดสินให้เชียงแขง ต้องจ่ายค่าเสียหายเป็นเหรียญเงินสูงถึงห้าหมื่นเหรียญ

ฝ่ายเชียงแขงไม่ยอม ทั้งสองเมืองจึงจับอาวุธขึ้นต่อสู้กันอีกครั้ง เมื่อถึงถึงปี พ.ศ.2290มีการรบกันที่บ้านยู้(ต่อมาคือเมืองหลวยใต้)พม่าได้เชิญสองเมืองไปเจรจากันอีกครั้ง โดยตกลงกันที่จะให้เมืองยองได้ปกครองตนเองเป็นอิสระจากเชียงแขง


...หลังจากเหตุการณ์นี้อีก50ปีเมืองยองก็ถูกกองทัพล้านนาตีแตก ทำให้เกิดการกวาดต้อนชาวเมืองยองลงมาอยู่เชียงใหม่ ลำปาง น่าน แพร่(ยุคเก็บผักใส่ซ่าเก็บข้าใส่เมือง)ซึ่งต่อมาเชียงใหม่แยกคนยองมาอยู่เมืองลำพูน คนยองจึงมาตั้งเมืองอยู่ที่ลำพูน "เวียงยอง"นอกจากนี้ยังมีที่ป่าซางอีกด้วย(แล้วแยกเป็นบ้านโฮ่งอีกยังไม่รวมถึงที่อื่นๆอีกมาก)

...ว่ากันว่าเหตุที่กษัตริย์เชียงใหม่สมัยก่อน ต้องนำเจ้าเมืองยองพร้อมชาวยองมาอยู่ที่เมืองลำพูนและตั้งเป็นเมืองยองในล้านนา(ตรงข้ามวัดพระธาตุหริภุญไชย)เพื่อให้รักษาพระธาตุเช่นเดียวกันที่เคยรักษาพระธาตุจอมยอง

....ฝ่ายเมืองแพร่ คนเมืองจะสอนลูกหลานว่าห้ามขโมยสิ่งของหรือลักของคนบ้านถิ่นเพราะจะกลายเป็นผีกะ คนดินแดนนี้ในอดีตจะถือเรื่องนี้มาก


....นอกจากนี้แล้วคนเมืองในอดีตจะนับถือคนยองว่าเป็นผู้มีศีลธรรมเคร่งครัดในพุทธศาสนา(คำว่า "ยอง" แปลว่า วาง ในภาษาล้านนา อาจหมายรวมถึงการนำสิ่งของที่ทูนไว้บนหัวแล้ววางลงเพื่อสักการพระบรมธาตุจอมยอง ในอีกความหมายหนึ่งคือปริศนาธรรม คำว่ายองคือวางลง ตรงกับคำว่า ปลงวางคือการปลง ปล่อยวาง หรือการทำใจให้ว่างเปล่าปราศจากอกุศลมูลทั้ง 3 คือ โทสะ โมหะ โลภะ

..สำหรับสยามพบว่ารัชกาลที่3แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงให้เกียรติเชื้อสายเจ้าฟ้าเมืองยองที่ลำพูนมากเช่นเดียวกัน เห็นได้จากเหตุการณ์ในปีพ.ศ.2385 เมื่อเจ้าอุปราชและเจ้าราชวงษ์เมืองลำพูนได้มีหนังสือกราบบังคมทูลว่าพระยาเมืองเหล็กเมืองยอง ป่วยถึงแก่กรรม พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่3 ได้พระราชทานสิ่งของให้ข้าหลวงคือแสนปัญญาและแสนเทพขึ้นมาปลงพระศพ ทรงโปรดให้ทำการพระศพเหมือนอย่างเจ้าสุริยวงษ์ เจ้าครองนครลำปางเลยทีเดียว


ขอบคุณ เรื่องจาก---- ชัยวุฒิ ไชยชนะ
เรียบเรียงโดย:ใหม่สูงค่าเชียงตุง

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ใหม่สูงค่า's profile


โพสท์โดย: ใหม่สูงค่า
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
24 VOTES (4/5 จาก 6 คน)
VOTED: โจวเทียนไฉ, JGai, ฮั่วชวี่ปิ้ง, โยนี หมีระบม, zerotype, ซาอิ
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
น้ำใจยิ่งใหญ่! หนุ่มไร้เงินขอติดรถกลับบ้าน เจอผู้ให้เต็มคันสุดอบอุ่น
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
วิธีล้างผักให้สะอาดปราศจากสารพิษตกค้างจริงไหมที่คำว่า ‘Salary’ มาจาก ‘Salt’ เพราะทหารโรมันรับค่าจ้างเป็นเกลือ?อยากโกอินเตอร์? เจาะลึกวิธีหางานต่างประเทศ 2567 แบบถูกกฎหมาย ได้สิทธิเต็มที่ ไม่มีโดนหลอก!ชาวต่างด้าวข้ามฝั่งมาคลอดฟรี คนไทยเสียงแตก งานนี้ใครได้ ใครเสีย
ตั้งกระทู้ใหม่