รีวิวหนัง “ฉลาดเกมส์โกง” / Bad Genius และความรู้สึกที่ตกตะกอน
จากกระแสที่กลายเป็นหนังดังชั่วข้ามคืน ที่มีรีวิวคลอดออกมาให้อ่านนับหลายสิบเจ้า
รวมถึงความน่าสนใจของตัวตั้งแต่ตัดตัวอย่างหนังออกมา ทำให้เรียกได้ว่า
นาทีนี้ คงพลาดหนังเรื่องนี้ไม่ได้ จึงรีบไปจัดกับเขาในโรงบ้าง
และก็พบว่า..
เฮ้ย!! ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง ชั้นเชิงของโปรดักชั่น บท นักแสดง และวิชวลของผู้กำกับ
ทำให้หนังเรื่องนี้ เรียกได้ว่าไปไกลกว่าหนังไทยด้วยกันในบ้านเราได้แล้ว
สำหรับผม มันคือมาตรฐานใหม่ ที่ทำให้คนทำหนังต้องกลับมาทบทวนตัวเองได้แล้วว่า
งานที่กำลังทำ เราทำการบ้านมาดีพอหรือยัง?
บทดีอย่างเดียวไม่พอ องค์ประกอบหนังต่างๆก็สำคัญไม่แพ้กัน กว่าหนังสักเรื่องจะกลายเป็นหนังที่ดีได้อย่างที่ควรเป็น ไม่ว่าจะเป็นการดีไซน์มุมกล้อง วิชวล มุมมอง งานอาร์ต งานตัดต่อที่โคตรบ้าพลัง งานคอสตูมกลิ่นวินเทจหน่อยๆดนตรีประกอบสุดบิ้วท์ และแน่นอนว่า นักแสดงที่ทำหน้าที่ของตัวเองได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่าเป็นท๊อปฟอร์ม ของทั้งสี่คน ไม่ว่าจะเป็น
ออกแบบ – ที่เล่นคุมธีมเอาอยุ่ทั้งเรื่อง ดูกรุ้มกริ่ม เดาใจเธอแทบไม่ออก
ชานน – น้องนนที่พัฒนาตัวเองจนกลายมาเป็นนักแสดงแถวหน้า เกรดเอ เกรดพรีเมี่ยมได้สำเร็จ สีหน้า แววตา ท่าทาง บุคลิก อินเนอร์สามารถพัฒนาไปตามตัวละครได้ดีมาก จนที่เขาว่าน่าจะได้เข้าชิงรางวัลปีหน้า รู้สึกเห็นด้วยว่าน้องมีโอกาสมากๆ
เจมส์ ธีรดนย์ – ผู้ชายสายแรด มาสู่บทบาทผู้ชายสายเปย์ น้องใส่จริตให้ตัวละครได้ดีมาก และเล่นได้กวนตีนจนคิดว่า ถ้าต่อไปมีบทแบบโจ๊กเกอร์ น้องอาจสวมบทประมาณนี้ได้เลยในอนาคต
อุ้ม อิษยา – แค่เห็นแววตา ก็มีเสน่ห์ละลายแล้ว น้องแสดงได้คิขุอาโนเนะสมบทบาท และมีแววไปได้อีกยาวไกล
สำหรับผม “ฉลาดเกมส์โกง” จัดเป็นหนังที่ทำหน้าที่เล่าเรื่องออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบอีกเรื่อง
ในความเป็นภาพยนตร์ ทั้งภาษาทางCinematics / Visual รวมถึงการตั้งคำถามถึงระบบการศึกษาไทย
ที่เรียกได้ว่าเจาะลึกและนำประเด็นเรื่องการ “โกง” ไปขยี้จนสามารถเค้นเรื่องราวที่น่าสะเทือนใจออกมาเล่า
ได้จนมีกลิ่นอายราวกับหนังแอ๊คชั่นโจรกรรม ทั้งๆที่ในตัวเรื่อง มันก็มีพาร์ทของความเป็นดราม่า ผสมครอบครัว
นอกจากนี้หนังยังได้พูดถึง และเสียดสีถึงค่านิยมของสังคมที่ยึดติดกับระบบ และให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่า “เปลือกนอก” มากกว่า “แก่นแท้” หรือ “คุณค่า” ที่ซ่อนอยู่ภายใน ซึ่งอาจเป็นทั้งความสามารถของบุคคลนั้นๆ หรืออาจเป็นทักษะอื่นๆที่เขามี แต่ถูกมองข้าม จึงต้องใช้วิธีการ “โกง” เพื่อเป็นทางลัด เพื่อให้ตนเองได้มีโอกาส “เติบโต” ได้ “โงหัว” และมีคน “ยอมรับ” ได้มากขึ้นเสียที แม้ว่านั่นอาจเป็นการโกงความรู้สึกภายในก็ตาม
หนังทำให้เราได้เห็นถึงมุมมองของสังคมว่า จริงๆแล้ว เราทุกคนก็อยากเป็นคนดีกันทั้งนั้น
ไม่มีใครอยากถูกตราหน้าหรือได้ชื่อว่าเป็นคนเลวหรอก
แต่ทุกวันนี้ โลกมันหมุนไปไวเหลือเกิน
คำนิยามของความสำเร็จมันเริ่มเลือนลางลงทุกที
กลายเป็นว่า เราต่างเสพติดกับภาพลักษณ์ ความสำเร็จ
อยากให้คนอื่นมองเราดีๆ ยอมรับเรา จึงต้องสร้างตัวเองให้ไปถึงตรงนั้นโดยไว
จนในบางครั้ง เราจึงละเลยวิธีการ กระบวนการ เพราะความหอมหวนของความสำเร็จ
โดยที่เราไม่รู้เลยว่า สุดท้ายสิ่งที่เราทำไป ด้วยกระบวนการที่ไม่ใช่ “ของจริง”
มันจะทำให้เรา “พ่ายแพ้” กับตัวเองในวันใดวันหนึ่ง
จนถ้าถึงขั้นเลวร้ายที่สุด คือมันอาจเปลี่ยนชีวิต และความคิดเรา
จนไม่สามารถหาทางกลับมาจากเขาวงกตของวงจรอุบาทว์ได้อีกเลย
จึงน่าตั้งคำถามว่า ทุกวันนี้ “ความเก่ง” หรือ “ความดี”
อะไรมีคุณค่ากว่ากัน? และเรามองคนๆหนึ่งจากตรงไหนกันแน่?
การศึกษา สอนให้เรามุ่งเป็นคนเก่ง หรือเป็นคนดี?
เรายอมรับคนด้วยถ้วยรางวัล ใบปริญญา เกียรตินิยม
หรือเรามองคน ตัดสินคน เชื่อถือคน จากความสามารถที่เขามีจริงๆ?
อันนี้เป็นสิ่งที่น่าคิดเช่นกัน จากการที่ได้ดูหนังเรื่องนี้
ผมมี 4 ข้อสุดท้าย ที่อยากนำมาแชร์ หลังจากที่ตกผลึกบางประเด็นหลังจากที่ได้ชมหนัง
1. เราทุกคนมีความสามารถทั้งนั้น อยู่ที่ว่า เราจะนำมาใช้มันอย่างถูกทางหรือเปล่า
และในบางครั้ง ความสามารถผิดๆ เช่นการโกง ทักษะแบบนี้อาจเติบโต จากเรื่องเล็กๆ ขยายไปเรื่องใหญ่ๆได้ เพียงเพราะถูกละเลยจากผู้ใหญ่ที่กำลังทำหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่นี้ กับอนาคตของประเทศ สุดท้าย การทำสิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นเรื่องที่ดู “ปกติ” ทั้งที่จริงๆ มันถือว่าร้ายแรงเลย ถ้าเป็นกับอีกบางประเทศ (ซึ่งเราจะเห็นได้ในหนังเช่นกัน)
2. ยุคนี้คนเราต้องการความสำเร็จแบบฉับพลัน เร็วไว ความใจร้อนและความอยากได้อยากมีของเรา
สามารถพังตรรกะอื่นๆจนหน้ามืดตามัว ยอมแลกอะไรหลายอย่างมา เพื่อความสำเร็จ ที่ไม่ได้เป็นของจริง
บางครั้ง หนังมันก็ทำให้เราคิดนะ ว่า ความสำเร็จที่แท้จริง มันคือการที่เราต้องยอมบากบั่น พยายาม
พิสูจน์ความสามารถ ซึ่งมันอาจใช้เวลานานกว่า กว่าที่จะมีคนมองเห็นในตัวเรา แต่ถึงตอนนั้น ถ้ารอได้ อดทนไหว มันคือการพิสูจน์ตัวเราเองได้ว่า เราแกร่งพอที่จะเป็น “ของจริง และตัวจริง” ซึ่งแน่นอนว่าคงใช่ว่าจะทำได้ สำเร็จได้เพียงชั่วข้ามคืน
3. ระบบกำลังโกงเรา
และการเอาชนะระบบตรงนี้ คือการที่เราควรมาตั้งคำถาม และเปลี่ยนแปลงความคิด
เพราะต่อให้จะมีความสามารถแค่ไหน แต่ยังไม่ถูกมองเห็น หรือความเก่ง มันยังไร้ค่า
เรามองคนตัดสินคนที่ผลการเรียนอย่างเดียว มันก็จะเกิดการโกงขึ้นมาแน่นอน
เพราะมันไม่ใช่ว่า เด็กแต่ละคนเกิดมาแล้วจะเรียนเก่งได้ทุกคน
ความถนัดแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน บ้างอาจเป็นวิชาการ บ้างอาจเป็นกิจกรรม บ้างอาจเป็นทักษะการบริหารงาน จัดการชีวิต ทำธุรกิจ หรืออื่นๆ
คนเราต่างมีข้อดีมากมายให้จดจำ เพียงแต่ว่า สังคมทุกวันนี้หลายครั้ง ก็อาจมองข้ามไป
และยึดถือกับวุฒิ ใบประกาศ คณะ มหาลัย จนบางครั้ง เมื่อคนที่เหลือรู้สึกว่าเขาไม่ได้รับการยอมรับ
จึงต้องปล่อยความสามารถตัวเองทิ้งไปเป็นรอง และต้องใช้วิธีการทำให้ตัวเองดูโก้ เก๋ มีคนยอมรับ
แม้จะไม่ใช่ทางที่ถูกต้องนัก แต่ถ้ามันแลกด้วยชีวิตที่ดีกว่า บางครั้งก็ต้องจำยอมเสียอุดมการณ์ไป
4. ความเหลื่อมล้ำทางสังคม และต้นทุนชีวิตของคนที่มีไม่เท่ากัน
ฉากและคำพูดที่น่าสะเทือนใจที่ผมจดจำเป็นอันดับต้นๆ
คือช่วงที่มีบทสนทนาว่า “ถึงแกจะไม่โกง แต่ชีวิตก็โกงแกอยู่ดี”
บางครั้ง ถ้าต้องมาจ่ายเงินเรียนเป็นแสน เพื่อจบมาได้ทำงานแค่เงินเดือนหลักหมื่น
แล้วทำไมเราต้องทำแบบนี้ต่อไป ถ้าในเมื่อเราเจอวิธีที่จะสร้างเงินแสน หรือเงินล้าน ตั้งแต่ยังเรียนไม่จบด้วยซ้ำ?
ผมว่าหนังได้ขยี้ประเด็นนี้ได้ดี รวมไปถึงประเด็นในเรื่องของครอบครัว ความแตกต่างระหว่างวัย
ความสำเร็จในทัศนะของผู้ใหญ่ ที่เชื่อในระบบ เชื่อในวุฒิ ในชื่อเสียงของสถาบัน
กับ คำนิยามความสำเร็จของคนรุ่นใหม่ๆ ที่ต้องการจะผลักดันตัวเอง ไปหาจุดนั้นด้วยทักษะตัวเอง
ลองคิดดูว่าถ้า “ลิน” ใช้ความสามารถไปในทิศทางที่ควร มันจะทำให้ประเทศเปลี่ยนแปลงไปได้แค่ไหน?
แต่ก็นั่นแหละ คำว่า “ควร” คำว่า “ดี” คำว่า “ถูกต้อง” ของแต่ละคนมันมีไม่เท่ากัน
ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ กระดุมเม็ดแรก เราได้รับการ Treat และสอนอย่างถูกวิธีหรือเปล่า
หรือเราได้ไปอยู่ในจุดที่เราทำอะไรพลาด มันกลายเป็นความสามารถที่ผิดทิศผิดทาง
แต่ไม่มีใครยับยั้ง จนปล่อยให้มันลุกลาม เติบโต เป็นเชื้อร้าย จนเปลี่ยนคนให้เป็นปีศาจได้ในเวลาไม่นาน
นั่นเป็นสิ่งที่เราต้องช่วยกันจับตา ในบ้านเมืองที่อยู่ในสภาวะที่สุดแสนจะเปราะบางอย่างในทุกวันนี้
ผมเชื่อในการตัดสินใจของลินช่วงท้าย ว่าอย่างน้อย อนาคตคนรุ่นใหม่
จะได้รับการกลัดกระดุมเม็ดแรกที่ถูกต้อง
คนเราทุกคน บางครั้งอาจเป็นคนที่เคยพลาด
แต่ในความผิดพลาด มันคือสิ่งที่เราจะเรียนรู้ได้ และทำให้มันไม่เกิดขึ้นอีก
จากทัศนคติ แนวคิด ที่ถูกต้อง
จากการมองคนที่ “สามารถ” หาใช่แค่ “ใบปริญญา ถ้วยรางวัล”
จากการยอมรับซึ่งกันและกันจาก “แก่น” จากผลงาน จากของแท้ที่จับต้องได้
ไม่ได้ยอมรับกันที่ลมปาก คำพูด หรือความปลอมเปลือกที่เห็นเพียงภายนอก โดยที่เราไม่ทราบวิธีและกระบวนการที่สิ่งเหล่านั้นได้มาอย่างแท้จริง
เรียกได้ว่า ผลงานพี่บาส นัฐวุฒิรอบนี้ จัดได้ว่าเป็นงานที่ท๊อปฟอร์มมากๆ ถ้าเทียบกับมาตรฐานคุณภาพหนังไทย แม้ว่าผมจะไม่ค่อยปลื้มกับหนังเคาต์ดาวน์เรื่องก่อนหน้าของพี่เขานัก แต่ด้วยงานไวรัลต่างๆ
ที่พี่เขาทำมาตลอดห้าปี ไม่ว่าจะเป็น ลลิน , คอนเสิร์ดข้างถนน, เมื่อปิ่นโตออกเดินทาง, หนังสั้นห้องสมุดแห่งรัก และอีกหลายๆผลงาน มันคือสิ่งที่สะสมว่า พี่เขาคือ “ของจริง ตัวจริง” จนทำให้หนังเรื่องนี้ ได้แสดงทักษะความสามารถของพี่เขาด้วย ที่เป็นวิธีการที่ได้มาจากความมานะ บากบั่น มุ่งมั่น พยายาม และอดทน ไม่ใช่ได้มาด้วยวิธีการโกง เพียงชั่วข้ามคืน
รีวิวหนัง “ฉลาดเกมส์โกง” / Bad Genius และความรู้สึกที่ตกตะกอน
จากกระแสที่กลายเป็นหนังดังชั่วข้ามคืน ที่มีรีวิวคลอดออกมาให้อ่านนับหลายสิบเจ้า
รวมถึงความน่าสนใจของตัวตั้งแต่ตัดตัวอย่างหนังออกมา ทำให้เรียกได้ว่า
นาทีนี้ คงพลาดหนังเรื่องนี้ไม่ได้ จึงรีบไปจัดกับเขาในโรงบ้าง
และก็พบว่า..
เฮ้ย!! ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง ชั้นเชิงของโปรดักชั่น บท นักแสดง และวิชวลของผู้กำกับ
ทำให้หนังเรื่องนี้ เรียกได้ว่าไปไกลกว่าหนังไทยด้วยกันในบ้านเราได้แล้ว
สำหรับผม มันคือมาตรฐานใหม่ ที่ทำให้คนทำหนังต้องกลับมาทบทวนตัวเองได้แล้วว่า
งานที่กำลังทำ เราทำการบ้านมาดีพอหรือยัง?
บทดีอย่างเดียวไม่พอ องค์ประกอบหนังต่างๆก็สำคัญไม่แพ้กัน กว่าหนังสักเรื่องจะกลายเป็นหนังที่ดีได้อย่างที่ควรเป็น ไม่ว่าจะเป็นการดีไซน์มุมกล้อง วิชวล มุมมอง งานอาร์ต งานตัดต่อที่โคตรบ้าพลัง งานคอสตูมกลิ่นวินเทจหน่อยๆดนตรีประกอบสุดบิ้วท์ และแน่นอนว่า นักแสดงที่ทำหน้าที่ของตัวเองได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่าเป็นท๊อปฟอร์ม ของทั้งสี่คน ไม่ว่าจะเป็น
ออกแบบ – ที่เล่นคุมธีมเอาอยุ่ทั้งเรื่อง ดูกรุ้มกริ่ม เดาใจเธอแทบไม่ออก
ชานน – น้องนนที่พัฒนาตัวเองจนกลายมาเป็นนักแสดงแถวหน้า เกรดเอ เกรดพรีเมี่ยมได้สำเร็จ สีหน้า แววตา ท่าทาง บุคลิก อินเนอร์สามารถพัฒนาไปตามตัวละครได้ดีมาก จนที่เขาว่าน่าจะได้เข้าชิงรางวัลปีหน้า รู้สึกเห็นด้วยว่าน้องมีโอกาสมากๆ
เจมส์ ธีรดนย์ – ผู้ชายสายแรด มาสู่บทบาทผู้ชายสายเปย์ น้องใส่จริตให้ตัวละครได้ดีมาก และเล่นได้กวนตีนจนคิดว่า ถ้าต่อไปมีบทแบบโจ๊กเกอร์ น้องอาจสวมบทประมาณนี้ได้เลยในอนาคต
อุ้ม อิษยา – แค่เห็นแววตา ก็มีเสน่ห์ละลายแล้ว น้องแสดงได้คิขุอาโนเนะสมบทบาท และมีแววไปได้อีกยาวไกล
สำหรับผม “ฉลาดเกมส์โกง” จัดเป็นหนังที่ทำหน้าที่เล่าเรื่องออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบอีกเรื่อง
ในความเป็นภาพยนตร์ ทั้งภาษาทางCinematics / Visual รวมถึงการตั้งคำถามถึงระบบการศึกษาไทย
ที่เรียกได้ว่าเจาะลึกและนำประเด็นเรื่องการ “โกง” ไปขยี้จนสามารถเค้นเรื่องราวที่น่าสะเทือนใจออกมาเล่า
ได้จนมีกลิ่นอายราวกับหนังแอ๊คชั่นโจรกรรม ทั้งๆที่ในตัวเรื่อง มันก็มีพาร์ทของความเป็นดราม่า ผสมครอบครัว
นอกจากนี้หนังยังได้พูดถึง และเสียดสีถึงค่านิยมของสังคมที่ยึดติดกับระบบ และให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่า “เปลือกนอก” มากกว่า “แก่นแท้” หรือ “คุณค่า” ที่ซ่อนอยู่ภายใน ซึ่งอาจเป็นทั้งความสามารถของบุคคลนั้นๆ หรืออาจเป็นทักษะอื่นๆที่เขามี แต่ถูกมองข้าม จึงต้องใช้วิธีการ “โกง” เพื่อเป็นทางลัด เพื่อให้ตนเองได้มีโอกาส “เติบโต” ได้ “โงหัว” และมีคน “ยอมรับ” ได้มากขึ้นเสียที แม้ว่านั่นอาจเป็นการโกงความรู้สึกภายในก็ตาม
หนังทำให้เราได้เห็นถึงมุมมองของสังคมว่า จริงๆแล้ว เราทุกคนก็อยากเป็นคนดีกันทั้งนั้น
ไม่มีใครอยากถูกตราหน้าหรือได้ชื่อว่าเป็นคนเลวหรอก
แต่ทุกวันนี้ โลกมันหมุนไปไวเหลือเกิน
คำนิยามของความสำเร็จมันเริ่มเลือนลางลงทุกที
กลายเป็นว่า เราต่างเสพติดกับภาพลักษณ์ ความสำเร็จ
อยากให้คนอื่นมองเราดีๆ ยอมรับเรา จึงต้องสร้างตัวเองให้ไปถึงตรงนั้นโดยไว
จนในบางครั้ง เราจึงละเลยวิธีการ กระบวนการ เพราะความหอมหวนของความสำเร็จ
โดยที่เราไม่รู้เลยว่า สุดท้ายสิ่งที่เราทำไป ด้วยกระบวนการที่ไม่ใช่ “ของจริง”
มันจะทำให้เรา “พ่ายแพ้” กับตัวเองในวันใดวันหนึ่ง
จนถ้าถึงขั้นเลวร้ายที่สุด คือมันอาจเปลี่ยนชีวิต และความคิดเรา
จนไม่สามารถหาทางกลับมาจากเขาวงกตของวงจรอุบาทว์ได้อีกเลย
จึงน่าตั้งคำถามว่า ทุกวันนี้ “ความเก่ง” หรือ “ความดี”
อะไรมีคุณค่ากว่ากัน? และเรามองคนๆหนึ่งจากตรงไหนกันแน่?
การศึกษา สอนให้เรามุ่งเป็นคนเก่ง หรือเป็นคนดี?
เรายอมรับคนด้วยถ้วยรางวัล ใบปริญญา เกียรตินิยม
หรือเรามองคน ตัดสินคน เชื่อถือคน จากความสามารถที่เขามีจริงๆ?
อันนี้เป็นสิ่งที่น่าคิดเช่นกัน จากการที่ได้ดูหนังเรื่องนี้
ผมมี 4 ข้อสุดท้าย ที่อยากนำมาแชร์ หลังจากที่ตกผลึกบางประเด็นหลังจากที่ได้ชมหนัง
1. เราทุกคนมีความสามารถทั้งนั้น อยู่ที่ว่า เราจะนำมาใช้มันอย่างถูกทางหรือเปล่า
และในบางครั้ง ความสามารถผิดๆ เช่นการโกง ทักษะแบบนี้อาจเติบโต จากเรื่องเล็กๆ ขยายไปเรื่องใหญ่ๆได้ เพียงเพราะถูกละเลยจากผู้ใหญ่ที่กำลังทำหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่นี้ กับอนาคตของประเทศ สุดท้าย การทำสิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นเรื่องที่ดู “ปกติ” ทั้งที่จริงๆ มันถือว่าร้ายแรงเลย ถ้าเป็นกับอีกบางประเทศ (ซึ่งเราจะเห็นได้ในหนังเช่นกัน)
2. ยุคนี้คนเราต้องการความสำเร็จแบบฉับพลัน เร็วไว ความใจร้อนและความอยากได้อยากมีของเรา
สามารถพังตรรกะอื่นๆจนหน้ามืดตามัว ยอมแลกอะไรหลายอย่างมา เพื่อความสำเร็จ ที่ไม่ได้เป็นของจริง
บางครั้ง หนังมันก็ทำให้เราคิดนะ ว่า ความสำเร็จที่แท้จริง มันคือการที่เราต้องยอมบากบั่น พยายาม
พิสูจน์ความสามารถ ซึ่งมันอาจใช้เวลานานกว่า กว่าที่จะมีคนมองเห็นในตัวเรา แต่ถึงตอนนั้น ถ้ารอได้ อดทนไหว มันคือการพิสูจน์ตัวเราเองได้ว่า เราแกร่งพอที่จะเป็น “ของจริง และตัวจริง” ซึ่งแน่นอนว่าคงใช่ว่าจะทำได้ สำเร็จได้เพียงชั่วข้ามคืน
3. ระบบกำลังโกงเรา
และการเอาชนะระบบตรงนี้ คือการที่เราควรมาตั้งคำถาม และเปลี่ยนแปลงความคิด
เพราะต่อให้จะมีความสามารถแค่ไหน แต่ยังไม่ถูกมองเห็น หรือความเก่ง มันยังไร้ค่า
เรามองคนตัดสินคนที่ผลการเรียนอย่างเดียว มันก็จะเกิดการโกงขึ้นมาแน่นอน
เพราะมันไม่ใช่ว่า เด็กแต่ละคนเกิดมาแล้วจะเรียนเก่งได้ทุกคน
ความถนัดแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน บ้างอาจเป็นวิชาการ บ้างอาจเป็นกิจกรรม บ้างอาจเป็นทักษะการบริหารงาน จัดการชีวิต ทำธุรกิจ หรืออื่นๆ
คนเราต่างมีข้อดีมากมายให้จดจำ เพียงแต่ว่า สังคมทุกวันนี้หลายครั้ง ก็อาจมองข้ามไป
และยึดถือกับวุฒิ ใบประกาศ คณะ มหาลัย จนบางครั้ง เมื่อคนที่เหลือรู้สึกว่าเขาไม่ได้รับการยอมรับ
จึงต้องปล่อยความสามารถตัวเองทิ้งไปเป็นรอง และต้องใช้วิธีการทำให้ตัวเองดูโก้ เก๋ มีคนยอมรับ
แม้จะไม่ใช่ทางที่ถูกต้องนัก แต่ถ้ามันแลกด้วยชีวิตที่ดีกว่า บางครั้งก็ต้องจำยอมเสียอุดมการณ์ไป
4. ความเหลื่อมล้ำทางสังคม และต้นทุนชีวิตของคนที่มีไม่เท่ากัน
ฉากและคำพูดที่น่าสะเทือนใจที่ผมจดจำเป็นอันดับต้นๆ
คือช่วงที่มีบทสนทนาว่า “ถึงแกจะไม่โกง แต่ชีวิตก็โกงแกอยู่ดี”
บางครั้ง ถ้าต้องมาจ่ายเงินเรียนเป็นแสน เพื่อจบมาได้ทำงานแค่เงินเดือนหลักหมื่น
แล้วทำไมเราต้องทำแบบนี้ต่อไป ถ้าในเมื่อเราเจอวิธีที่จะสร้างเงินแสน หรือเงินล้าน ตั้งแต่ยังเรียนไม่จบด้วยซ้ำ?
ผมว่าหนังได้ขยี้ประเด็นนี้ได้ดี รวมไปถึงประเด็นในเรื่องของครอบครัว ความแตกต่างระหว่างวัย
ความสำเร็จในทัศนะของผู้ใหญ่ ที่เชื่อในระบบ เชื่อในวุฒิ ในชื่อเสียงของสถาบัน
กับ คำนิยามความสำเร็จของคนรุ่นใหม่ๆ ที่ต้องการจะผลักดันตัวเอง ไปหาจุดนั้นด้วยทักษะตัวเอง
ลองคิดดูว่าถ้า “ลิน” ใช้ความสามารถไปในทิศทางที่ควร มันจะทำให้ประเทศเปลี่ยนแปลงไปได้แค่ไหน?
แต่ก็นั่นแหละ คำว่า “ควร” คำว่า “ดี” คำว่า “ถูกต้อง” ของแต่ละคนมันมีไม่เท่ากัน
ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ กระดุมเม็ดแรก เราได้รับการ Treat และสอนอย่างถูกวิธีหรือเปล่า
หรือเราได้ไปอยู่ในจุดที่เราทำอะไรพลาด มันกลายเป็นความสามารถที่ผิดทิศผิดทาง
แต่ไม่มีใครยับยั้ง จนปล่อยให้มันลุกลาม เติบโต เป็นเชื้อร้าย จนเปลี่ยนคนให้เป็นปีศาจได้ในเวลาไม่นาน
นั่นเป็นสิ่งที่เราต้องช่วยกันจับตา ในบ้านเมืองที่อยู่ในสภาวะที่สุดแสนจะเปราะบางอย่างในทุกวันนี้
ผมเชื่อในการตัดสินใจของลินช่วงท้าย ว่าอย่างน้อย อนาคตคนรุ่นใหม่
จะได้รับการกลัดกระดุมเม็ดแรกที่ถูกต้อง
คนเราทุกคน บางครั้งอาจเป็นคนที่เคยพลาด
แต่ในความผิดพลาด มันคือสิ่งที่เราจะเรียนรู้ได้ และทำให้มันไม่เกิดขึ้นอีก
จากทัศนคติ แนวคิด ที่ถูกต้อง
จากการมองคนที่ “สามารถ” หาใช่แค่ “ใบปริญญา ถ้วยรางวัล”
จากการยอมรับซึ่งกันและกันจาก “แก่น” จากผลงาน จากของแท้ที่จับต้องได้
ไม่ได้ยอมรับกันที่ลมปาก คำพูด หรือความปลอมเปลือกที่เห็นเพียงภายนอก โดยที่เราไม่ทราบวิธีและกระบวนการที่สิ่งเหล่านั้นได้มาอย่างแท้จริง
เรียกได้ว่า ผลงานพี่บาส นัฐวุฒิรอบนี้ จัดได้ว่าเป็นงานที่ท๊อปฟอร์มมากๆ ถ้าเทียบกับมาตรฐานคุณภาพหนังไทย แม้ว่าผมจะไม่ค่อยปลื้มกับหนังเคาต์ดาวน์เรื่องก่อนหน้าของพี่เขานัก แต่ด้วยงานไวรัลต่างๆ
ที่พี่เขาทำมาตลอดห้าปี ไม่ว่าจะเป็น ลลิน , คอนเสิร์ดข้างถนน, เมื่อปิ่นโตออกเดินทาง, หนังสั้นห้องสมุดแห่งรัก และอีกหลายๆผลงาน มันคือสิ่งที่สะสมว่า พี่เขาคือ “ของจริง ตัวจริง” จนทำให้หนังเรื่องนี้ ได้แสดงทักษะความสามารถของพี่เขาด้วย ที่เป็นวิธีการที่ได้มาจากความมานะ บากบั่น มุ่งมั่น พยายาม และอดทน ไม่ใช่ได้มาด้วยวิธีการโกง เพียงชั่วข้ามคืน