หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

สวัสดิการที่ดีเกินไปคือการทุจริต

โพสท์โดย doctorsopon

           ช่วงท้ายปี-ต้นปีมักมีข่าวการจ่ายโบนัสให้กับพนักงาน เมื่อปี 2558 มีวิสาหกิจพัฒนาที่ดินแห่งหนึ่งจ่ายโบนัสถึง 22 เดือน แต่วันนี้ขอนำเสนอโจทย์ข้อหนึ่งว่าสวัสดิการที่ดีเกินไปคือการทุจริต
           ที่จั่วหัวขั้นต้นไม่ได้หมายถึงวิสาหกิจดังกล่าว การที วิสาหกิจบางแห่งสามารถจ่ายโบนัสได้สูงๆ เพราะพนักงานไม่ใช่ปัจจัยการผลิตหลัก อย่างเช่น วิสาหกิจพัฒนาที่ดินก็มีที่ดินและอสังหาริมทรัพย์เป็นปัจจัยการผลิตหลัก ปัจจัยการผลิตหลักของธนาคารก็คือเงินต่อเงินพนักงานเป็นเพียงกลไกอันหนึ่งเท่านั้นจึงมีการรุเก่ารับใหม่อยู่เรื่อยๆ ปัจจัยการผลิตหลักของโรงงานก็คือเครื่องจักร คนก็เป็นเพียงกลไกส่วนเล็กๆ ดังนั้นถ้าวิสาหกิจเหล่านี้ประสบความสำเร็จก็ย่อมสามารถจ่ายโบนัสได้มหาศาล แต่สำหรับวิสาหกิจที่ใช้คนเป็นปัจจัยการผลิตรักย่อมไม่อาจจ่ายโบนัสได้มากมาย เช่น วิสากิจเหล่านั้น
           บางท่านอาจจะงงว่าสวัสดิการที่ดีเกินไปเกี่ยวอะไรกับ CSR (Corporate Social Responsibility หรือความรับผิดชอบต่อสังคมของวิสาหกิจ) เพราะนึกว่า CSR คือการอาสาทำดีกับสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริง ประเด็นหลักของ CSR ก็คือ การมีวินัยไม่ข้องแวะกับการคอร์รัปชั่นหรือการโกงกิน สวัสดิการที่ดีเกินไปย่อมเป็นต้นทุนที่สูง ส่งผลเสียโดยตรงต่อผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ถือหุ้นทั้งหลายโดยเฉพาะผู้ถือหน่วยลงทุนรายย่อยในกรณีบริษัทมหาชน ตลอดจนผู้บริโภคเพราะต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นนั่นเอง
           เราคงเคยได้ยินว่าสายการบินบางประเทศ ให้สิทธิอดีตแอร์โฮสเตสที่ลาออกไปแล้ว ขึ้นเครื่องบินข้ามทวีปเกือบ 20 ชั่วโมงโดยเสียค่าธรรมเนียมเพียง 500 บาท จากค่าโดยสารที่เก็บตามอัตราปกติราว 50,000 บาท โดยแจ้งล่วงหน้าเพียงวันเดียวก็ได้ที่นั่งแล้ว ถ้าหากเป็นอดีตกัปตันที่ลาออกแล้ว ก็เสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 1,000 บาท แถมได้นั่งชั้นธุรกิจราคา 130,000 บาท
           กรณีอย่างนี้ เมื่อมีผู้ไปใช้ (อภิ) สิทธิ์กันมาก ๆ รวมทั้งสมาชิกครอบครัวอีกต่างหาก อาจคิดเป็นเงินไม่รู้กี่สิบล้านบาทที่สูญเสียไปในแต่ละปี เงินเหล่านี้ควรเอามาแบ่งให้ผู้ถือหุ้นเป็นเงินปันผล แบ่งให้พนักงานทั่วไปเป็นโบนัส แบ่งให้ผู้บริโภคเป็นส่วนลด หรือแบ่งให้สังคมเป็นการคืนกำไร จะดีกว่าไม่น้อย
           นอกจากนี้เรายังคงเคยได้ยินวิสาหกิจขนาดใหญ่ในบางประเทศให้พนักงานใช้สาธารณูปโภคที่ตนเองเป็นผู้ผลิตขึ้นในราคาถูกหรือฟรีกันแทบไม่ต้องยั้ง อย่างนี้ผู้ถือหุ้น และผู้บริโภคเดือดร้อน เพราะต้องแบกรับภาระมากมาย สุดท้ายพนักงานเหล่านี้กลายเป็นอภิสิทธิ์ชนที่กีดขวางการพัฒนาประเทศ ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงให้สังคมดีขึ้น แต่ตนเองขาดอภิสิทธิ์
           จะสังเกตได้ว่าวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่มีกำไรงาม ๆ ในบางประเทศ มักจะแบ่งผลประโยชน์มาให้พนักงานได้เสพสุขกันอย่างเต็มอิ่ม ในแง่หนึ่งเป็นการปิดปาก ไม่ให้พนักงานก่อหวอดในเรื่องที่กระทบต่อการโกงกินในระดับสูง ถือเป็นการโกงกินแบบบุปเฟต์ หรือแบบทั่วถึงตามลำดับขั้น’
           วิสาหกิจขนาดใหญ่ในบางประเทศ อาจสร้างที่จอดรถใหญ่โตไว้ให้พนักงานจอดรถ คงกลัวสีรถพนักงานเสียหาย แต่สำหรับลูกค้าผู้มีอุปการคุณกลับให้จอดกลางแดด สู้เทสโก้โลตัสไม่ได้ที่เขาทำที่จอดรถให้ลูกค้าอย่างเพียงพอและยังทำตะแกรงหลังคาให้ลูกค้าอีกด้วย นอกจากนี้วิสาหกิจขนาดใหญ่หลายต่อหลายแห่งยังปรนเปรอผู้บริหารระดับสูงด้วยงบประมาณ เลี้ยงดูปูเสื้อกันอย่างอิ่มหมีพีมัน แม้แต่เงินติดกันเทศน์ยังมีงบประมาณจัดหาให้หรือเบิกได้!
           การโกงกันจนเป็นปกติวิสัยก็เห็นได้จากการที่ข้าราชการระดับสูงในบางประเทศ ได้รับสิทธิ์ไปนั่งในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ บางคนถ่างนั่งหลายเก้าอี้ ซึ่งแค่นั้นก็ไม่รู้จะอู้ฟู่ จากเบี้ยประชุมและอภิสิทธิ์อื่น ๆ กันขนาดไหนแล้ว รัฐวิสาหกิจบางแห่งกำหนดกรรมการได้ใช้บริการของรัฐวิสาหกิจไปตลอดชั่วชีวิตแม้จะพ้นจากตำแหน่งแล้วก็ตาม
           อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือเรื่องรถประจำตำแหน่ง จะเห็นได้ว่า กรรมการและผู้บริหารของหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทมหาชนใหญ่โตบางประเทศ ได้งบซื้อรถประจำตำแหน่งราคาหลายล้านบาท นี่ยังไม่นับรวมค่าซ่อม ค่าน้ำมันที่ ซดกันมหาศาลต่างน้ำ
           นอกจากนี้ในเวลาเดินทาง บิ๊ก ๆ ทั้งหลายยังได้ตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจ และโรงแรมชั้นหนึ่ง กลายเป็นอภิสิทธิ์ชน จะสังเกตได้ว่าผู้บริหารรัฐวิสาหกิจบางประเทศ บินไปไหนต่อไหนบ่อยจนเสมือนการทำงานที่รัฐวิสาหกิจนั้นเป็นงานอดิเรก ทุกวันนี้คงหาใครได้ยากที่จะใจแข็งถอนตัวจากอภิสิทธิ์มหาศาลเหล่านี้ เพราะต่างถือหลัก น้ำขึ้นให้รีบตัก หรือ T Who T It (ทีใครทีมัน)
           บางท่านอาจสงสัยว่า ทำไมวิสาหกิจขนาดใหญ่จึงปรนเปรอพนักงานได้อย่างน่าอิจฉา ทั้งเงินเดือน สวัสดิการ โบนัสและอื่น ๆ ที่สูงกว่าวิสาหกิจทั่วไป เรื่องนี้คงไม่ใช่เพราะผู้บริหารของวิสาหกิจเหล่านั้นมีความเก่งกล้าสามารถเหนือมนุษย์ที่ตรงไหน แต่เป็นเพราะวิสาหกิจเหล่านั้นเป็นวิสาหกิจ (กึ่ง) ผูกขาด เช่น สาธารณูปโภค สถาบันการเงิน หรือเป็นวิสาหกิจที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ เป็นต้น
           เราคงเคยได้ยินกันว่ามีรัฐวิสาหกิจบางแห่งจ่ายโบนัสพนักงานเกือบ 12 เดือนกรณีนี้ถือว่าเข้าข่ายการปล้นเงินจากประชาชนไปใช้สอยส่วนตัวเป็นหมู่ๆ ผมแม้แต่บริษัทมหาชนและสถาบันการเงินใหญ่โตยังไม่สามารถจ่ายโบนัสได้สูงขนาดนี้ ล่าสุดยังมีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งจ่ายโบนัสให้แก่ เจ้าหน้าที่ ทั้งที่เจ้าหน้าที่เหล่านี้มีสวัสดิการที่เหนือกว่าภาคเอกชนมากมาย แม้แต่ค่ารักษาพยาบาลยังรวมไปถึงรุ่นพ่อรุ่นลูก การให้ข้าราชการประจำกำหนดสวัสดิการให้กับพวกของตนเองโดยไม่มีผู้แทนของประชาชนมากำกับดูแล พวกเขาย่อมทำเพื่อพรรคพวกกันเองเท่านั้น
           วิสาหกิจเหล่านี้อาศัยต้นทุนที่ต่ำจากสถานะ (กึ่ง) ผูกขาดหรือจากการขุดทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ ทำให้ได้กำไรงามจึงโยนผลประโยชน์มาให้พนักงาน อย่างไรก็ตามจะสังเกตได้ว่าพนักงานของวิสาหกิจเหล่านี้ไม่ใช่ปัจจัยการผลิตหลักเลย ปัจจัยการผลิตหลักกลับเป็นอสังหาริมทรัพย์ เครื่องจักร หรือกระทั่งใบอนุญาตหรือสัมปทานต่างหาก พนักงานอภิสิทธิ์ชนเหล่านี้จึงเป็นแค่เบี้ยเท่านั้น
           อาจสรุปได้ว่าการกระทำในทำนองโกงเช่นนี้ นอกจากไม่อาจสร้างแบรนด์ให้กับวิสาหกิจแล้ว ยังเป็นการกัดกร่อนทำลายแบรนด์ของตนเอง สังคมสูญเสียความเชื่อมั่น ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับความเสียหาย เงินปันผลก็อาจไม่ได้รับ หรือได้รับไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ที่สำคัญผู้บริโภคก็ต้องแบกรับภาระมากขึ้น เป็นต้น
           ดังนั้นต่อให้วิสาหกิจเหล่านี้ทำกิจกรรม CSR ประเภทอาสาทำดี ช่วยเหลือสังคม ปลูกป่า บริจาคกันเป็นบ้าเป็นหลังอย่างไร ก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น นอกจากเป็นเพียงการแก้ผ้าเอาหน้ารอดตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หรือกระทั่งลูบหน้าปะจมูก’หรือกลายเป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้บริหารวิสาหกิจนั้น ๆ ได้สร้างชื่อเสียงเพื่อปูทางสู่การเมือง หรือสู่การมีสถานะชั้นสูงในสังคม
           วิสาหกิจทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในทุกประเทศที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนและมี CSR จึงต้องแก้ไขปัญหาการโกงในมิติของการให้สวัสดิการที่เกินพอดีนั่นเอง แต่ถึงกระนั้นวิสาหกิจพัฒนาที่ดินของรัฐก็ยังสู้วิสากิจพัฒนาที่ดินของภาคเอกชนไม่ได้ แสดงว่ารัฐไม่ควรแข่งขันกับภาคเอกชน เพราะแทนที่จะช่วยเหลือประเทศกันกลับกลายเป็นช่วยถืองบประมาณของแผ่นดิน
           การทุจริตถ่วงความเจริญของชาติโดยเฉพาะในภาวะที่ไม่มีผู้แทนของประชาชนมาตรวจสอบจึงทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐโกงกินมากขึ้น ทำให้ประเทศชาติเศร้าหมอง
ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1769.htm

เนื้อหาโดย: doctorsopon
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
doctorsopon's profile


โพสท์โดย: doctorsopon
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
10 อันดับมหาวิทยาลัยไทย ได้คะแนนจากผู้จ้างงานสูง จบแล้วมีโอกาสได้งานทำสูงเบี้ยวไม่ไหว! เจ้าของรถขยะจัดหนัก แก้เผ็ดถึงหน้าบ้าน10 เทคนิคง่าย ๆ ที่ทำให้บ้านเย็นขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งแอร์"ทุ่งบัวตอง" มหัศจรรย์ทางธรรมที่อยากให้ทุกคนได้มาชมวัดป่าภูทับเบิก วัดสวย ในเพชรบูรณ์
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เบี้ยวไม่ไหว! เจ้าของรถขยะจัดหนัก แก้เผ็ดถึงหน้าบ้านตำรวจเตือนหญิงขับสกุ๊ตเตอร์ไฟฟ้าขึ้นถนนใหญ่ เจอสวนกลับ ถ้าห้ามขับไปบอกร้านว่าห้ามขายสิ"ทุ่งบัวตอง" มหัศจรรย์ทางธรรมที่อยากให้ทุกคนได้มาชม
กระทู้อื่นๆในบอร์ด บ้าน คอนโด ที่ดิน
12 เคล็ดลับสร้างครัวสุดอบอุ่นที่ใครๆ ก็อยากมานั่งเล่น!วิธีสร้างบ้านสวยด้วยต้นไม้: การออกแบบสวนในบ้านที่ช่วยให้คุณผ่อนคลายและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม"รวมไอเดียแต่งบ้านให้น่าอยู่ ในงบประหยัดที่ใครก็ทำได้Poolvilla Pattaya ที่นี่บอกเลยตรงปกมากเหมาะสำหรับพาครอบครัวหรือเพื่อน มาพักผ่อนปาร์ตี้
ตั้งกระทู้ใหม่