หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

วิ่งขวา ในความหมายของกฎจราจรเป็นแบบนี้

วิ่งขวา ในความหมายของกฎจราจรเป็นแบบนี้

วิ่งขวา ในความหมายของกฎจราจรเป็นแบบนี้ครับ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแซง และการวิ่งรถในเลนขวามีหลักๆ อยู่ 5-6 มาตราครับ จะขออธิบายเป็นลำดับๆ อาจยาวนิดนึงแต่จะมีประโยชน์กับผู้อ่าน ถ้าสามารถเปิดดู พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 33,34,35,43,44 และ 45 ประกอบไปด้วย ก็จะทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ

อันดับแรกให้เรามองสภาพความเป็นจริงก่อน คือ รถยนต์ที่วิ่งอยู่บนถนนบ้านเรานั้นเป็นรถพวงมาลัยขวา คราวนี้มาลองนึกภาพถนนที่รถวิ่งสวนทางกัน หากรถคันหน้าช้ากว่า เมื่อเราจะแซง โดยหลักแล้วเราจะแซงทางด้านขวา เพราะการมองเห็นหรือทัศนวิสัยย่อมต้องดีกว่าการจะออกไปแซงทางด้านซ้าย (ถ้าเป็นรถพวงมาลัยซ้ายอย่างต่างประเทศก็จะทำตรงข้ามกัน) คราวนี้ลองมองกลับครับ ถ้าหากให้รถพวงมาลัยขวา แต่ให้ไปวิ่งชิดด้านขวา(เหมือนต่างประเทศ) แล้วถนนเป็นเลนรถสวนทางกัน เมื่อเราต้องการแซงรถคันหน้า ถ้าต้องออกมาแซงทางด้านซ้ายก็จะทำได้ลำบาก เพราะเราจะมองเห็นรถที่สวนมาได้ยาก จริงเปล่าครับลองนึกภาพกันดู อันนี้ถือเป็นหลักสากลทั่วไป และกฎจราจรที่ออกมาก็จะไม่ฝืนธรรมชาติกับความเป็นจริงครับ

ต่อมา มาตรา 34 ที่บอกว่า “ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป หรือที่ได้จัดช่องเดินรถประจำทางไว้ในช่องเดินรถซ้ายสุด(อันนี้ส่วนมากต่างจังหวัดไม่มี) ผู้ขับขี่ต้องขับรถในช่องซ้ายสุด” ถนนลักษณะนี้ ก็คือ ทางหลวงทั่วๆ ไป เช่น พหลโยธิน สุขุมวิท เพชรเกษม หรือเส้นอื่นๆ ที่มีช่องเดินรถทั้งฝั่งขาขึ้น-ขาล่อง ฝั่งละอย่างน้อย 2 เลนขึ้นไป อาจเป็น 3-4 เลนขึ้นไปก็ได้ครับในบางช่วง อันนี้โดยหลักคือ ผู้ขับขี่รถทุกประเภทต้องขับในเลนซ้ายก่อนครับ ยกเว้นกรณี (1)-(5) ที่กฎหมายอนุญาตให้วิ่งในเลนขวาได้ สรุปคือ

(1) ในเลนซ้ายมีสิ่งกีดขวาง หรือถูกปิด
(2) ถนนเส้นนี้เป็นทางเดินรถทางเดียว(One Way) เดี๋ยวขออธิบายที่หลังครับ
(3) จะต้องเข้าช่องทางให้ถูกต้องเมื่อถึงทางแยก
(4) เมื่อจะแซงรถคันอื่น
(5) เมื่อผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วสูงกว่ารถในช่องเดินรถด้านซ้าย หรือก็คือการแซงยาวๆ นั่นแหละครับ

กรณีที่มักเกิดปัญหาก็คือ ข้อ (4) กับ (5)
เริ่มด้วยข้อ (4) เมื่อจะแซงรถคันอื่น อันนี้คือ เมื่อเราแซงรถที่เราต้องการแซงแล้ว และไม่มีรถทางด้านซ้ายให้แซงอีก ผู้ขับขี่ก็จะต้องกลับเข้ามาขับในเลนซ้ายเหมือนเดิมครับ ตามมาตรา 34 ที่อธิบายข้างต้น
คราวนี้มาข้อ (5) “เมื่อผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วสูงกว่ารถในช่องเดินรถด้านซ้าย” หรือก็คือการแซงยาวๆ นั่นแหละครับ หลักคือ เมื่อเราแซงรถแล้ว และทางด้านซ้ายยังมีรถที่วิ่งช้ากว่าเราอยู่ ผู้ขับขี่สามารถขับแซงในเลนขวาต่อเนื่องได้ครับ จนไม่มีรถทางด้านซ้ายให้แซงอีก จากนั้นผู้ขับขี่ก็จะต้องเข้ามาขับในเลนซ้ายเหมือนเดิมครับ

คราวนี้มามาตรา 35 ที่บอกว่า “รถที่วิ่งช้า หรือความเร็วต่ำกว่า รถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถด้านซ้ายเท่าที่จะทำได้” อันนี้ความหมายค่อนข้างชัดเจนว่ารถช้ากว่า ต้องวิ่งทางซ้ายครับ
ต่อมาคือ รถบรรทุก รถโดยสาร จยย. ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ก็คือถนนที่อธิบายไว้ในมาตรา 34 ช่วงแรกครับ เช่น พหลโยธิน สุขุมวิท เพชรเกษม รถ 3 ประเภทที่ว่านี้ต้องขับรถในเลนซ้ายสุดเท่านั้น ตรงนี้คือบังคับเลยครับ

ส่วนข้อยกเว้นว่า “ความในวรรคสองไม่ให้ใช้บังคับกับรถบรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักไม่เกิน หนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม(ปิคอัพ) และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน(รถตู้) ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์” นั้น ส่วนนี้ก็คือต้องการเน้นในมาตรา 35 ให้พวกเราคิดแบบนี้ครับ

ให้ลองนึกภาพ ถนนที่มีขาขึ้น - ขาล่อง ฝั่งละ 3 เลน แล้วขณะนั้นเป็นถนนโล่งๆ ที่มีรถวิ่งอยู่ไม่กี่คัน ทั้งรถบรรทุก รถโดยสาร จยย. รถทั้ง 3 ประเภทนี้ที่วิ่งอยู่บนถนน ต้องวิ่งในเลนซ้ายสุดเท่านั้น ไม่สามารถที่จะไปวิ่งในเลนกลางได้แม้ถนนจะโล่งก็ตาม ไม่ต้องไปคิดถึงเลนขวาสุดเลยครับ แล้วถามว่ารถ 3 ประเภทนี้ สามารถแซงรถคันหน้าที่ช้ากว่าได้ไหม คำตอบคือแซงได้ครับ แต่เมื่อแซงแล้วต้องรีบกลับเข้าเลนซ้ายทันที ไม่สามารถวิ่งตลอดอยู่ในเลนกลางได้ แม้ถนนจะโล่งก็ตาม
แต่ในขณะเดียวกัน รถตู้ รถปิคอัพที่วิ่งบนถนนในขณะนั้น(ซึ่งไม่จำเป็นต้องบังคับให้ขับรถในช่องซ้ายสุด สามารถใช้ทางเดินรถขวามือได้) รถ 2 ประเภทนี้ สามารถเลือกที่จะวิ่งในเลนซ้ายสุด หรือวิ่งเลนกลาง หรือเลนขวาบ้างก็ได้ เพราะเข้าข้อยกเว้นข้างต้น แต่อย่างไรก็ตาม รถตู้ ปิคอัพ ก็ไม่สามารถวิ่งในเลนขวาสุดได้ตลอดอยู่ดี เพราะก็ต้องย้อนกลับไปปฏิบัติตามมาตรา 34 ที่บอกว่า “ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ผู้ขับขี่(รถทุกประเภท)ต้องขับรถในช่องซ้ายสุด” กับเรื่องการขับรถกีดขวางการจราจรตรามาตรา 43(3) ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้นที่ว่า รถเก๋ง ปิคอัพ วิ่งขวายาวได้ จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนครับ

เมื่อกี้สมมติเป็นถนน 3 เลน คราวนี้ลองลดถนนมาเหลือฝั่งละ 2 เลนดูบ้างครับ รถบรรทุกไม่ต้องพูดถึงครับ คือต้องวิ่งเลนซ้ายเท่านั้น ยกเว้นตอนแซงรถคันหน้า เสร็จแล้วก็ต้องเข้าซ้าย ส่วนรถอื่นหลักก็คือต้องปฏิบัติตามมาตรา 34 เป็นอันดับแรกก่อนครับ ที่บอกว่า “ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ผู้ขับขี่ต้องขับรถในช่องซ้ายสุด” ฉะนั้น มาตรา 34 และ35 ต้องมาด้วยกันครับ และสุดท้ายก็จะมาสัมพันธ์กับการขับรถกีดขวางการจราจรตรามาตรา 43(3)

คราวนี้เรามาดูเรื่องการแซงบ้าง การแซงอยู่ในมาตรา 44 และ 45
โดยมาตรา 44 มีหลักปฏิบัติ คือ ต้องให้สัญญาณก่อน และดูแล้วต้องปลอดภัย และที่สำคัญกำหนดไว้ว่า “การแซงต้องแซงด้านขวา และเมื่อเห็นว่าได้ขับแซงผ่านรถที่ถูกแซงไปได้แล้ว จึงจะขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถได้”
และมาตรา 45 มีหลักคือ ห้ามแซงรถอื่นด้านซ้าย ยกเว้น
(1) รถที่จะถูกแซงกำลังเลี้ยวขวาหรือให้สัญญาณว่าจะเลี้ยวขวา (กรณีรถวิ่งสวนทาง)
(2) ทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งเป็นช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ก็คือ ถนนเหมือนที่อธิบายในมาตรา 34 ข้างต้นครับ
และจะทำตามข้อยกเว้นนี้ได้ ก็ต่อเมื่อเห็นว่ามีความปลอดภัยพอ
อธิบายข้อยกเว้น
มาตรา 45(1) กรณีถนนรถวิ่งสวนทาง แล้วมีรถที่จะรอเลี้ยวขวา อันนี้ให้เราแซงซ้ายไหล่ทางได้
มาตรา 45(2) กรณีถนนที่มีหลายเลน เช่น สมมติถนน 3 เลนก็จะเห็นภาพชัดขึ้น ให้เรานึกภาพถนนที่มีรถวิ่งน้อย แล้วเราขับอยู่เลนกลาง ข้างหน้ามีรถที่วิ่งช้ากว่าเราอยู่เลนกลางเช่นกัน เมื่อจะแซง เราสามารถเลือกแซงด้านขวา(แซงปกติ) หรือแซงด้านซ้าย(แซงตามข้อยกเว้นมาตรา 45(2) นี้) ก็ได้ แต่ลองนึกถึงความปลอดภัยดูครับ แซงด้านขวาปลอดภัยกว่าแน่นอนเพราะเรามองเห็นได้ดีกว่า แต่หากเราเลือกจะแซงทางซ้ายล่ะ เมื่อโยกแซงออกไปทางซ้าย อาจไปเจอรถที่วิ่งอยู่ทางซ้ายขวางอยู่ก็ได้ เพราะเราไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเหมือนทางด้านขวา

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายจริงๆ แล้วคือ เมื่อต้องการจะแซง ให้แซงทางขวา เพราะปลอดภัยกว่าอย่างชัดเจน ส่วนรถที่เลือกจะแซงด้านซ้ายแบบนี้ก็ไม่ผิดครับเพราะเข้าข้อยกเว้น

จะเห็นว่าไม่ได้มีการพูดถึงรถเก๋งไว้เป็นการเฉพาะเลยว่าวิ่งขวาได้หรือไม่ได้ มาดูกันครับโดยให้เรามองภาพรถเก๋งที่วิ่งอยู่เลนขวาสุด แล้วไม่ยอมหลบให้รถที่วิ่งเร็วกว่าแซงทางด้านขวา รถเก๋งที่วิ่งขวานั้นก็คือการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 34 ตามที่อธิบายมาข้างต้น ถ้าเราวิ่งขวายาวก็เหมือนบังคับให้ผู้อื่นต้องแซงออกไปทางด้านซ้าย ซึ่งความปลอดภัยก็ต้องน้อยกว่าการแซงทางขวา และยังถือว่าเป็นการขับขี่รถในลักษณะกีดขวางการจราจรตามมาตรา 43(3) ด้วย คิดง่ายๆ ครับ ขับช้ากว่าชาวบ้านแต่ไม่ยอมหลบให้เขาแซง ก็คือ วิ่งกีดขวางครับ ถูกต้องมั้ยครับ ดังนั้นที่พูดว่า รถเก๋ง ปิคอัพ วิ่งขวายาวได้ จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนครับ
กระผมเข้าใจในความรู้สึกของประชาชนที่ต้องถูกตำรวจจับ ซึ่งในบางครั้งก็อาจทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือไม่เข้าใจในข้อกฎหมาย อีกปัญหาหนึ่งคือการประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังมีน้อย ไม่เข้าถึงประชาชนให้รับรู้รับทราบได้ดีพอ แต่การมองเรื่องนี้เราต้องมองในภาพรวมโดยคำนึงถึงความปลอดภัยบนท้องถนนเป็นหลัก ไม่ใช่การอ่านแค่ส่วนข้อยกเว้น แล้วบอกว่าไม่ผิดครับ ตรงนี้ถือเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่แท้จริงครับ

สุดท้ายนี้กระผมขออนุญาตแสดงความคิดเห็นส่วนตัว ซึ่งในส่วนบนที่ว่าไปนั้นเป็นข้อกฎหมายที่ต้องการอธิบายให้ประชาชนได้ทราบ บางคนก็อาจจะคิดว่าทำผิดกฎจราจรนิดหน่อย แต่ไม่ได้ไปสร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านไม่น่าจะเสียหาย ไม่น่าจะต้องมาตามจับกัน แต่เรื่องนี้เคยมีแนวคำตัดสินของศาลว่า กรณีที่มีการกระทำผิดกฎจราจรแล้วนั้น ก็สามารถปรับบทลงโทษได้ โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงว่า “การกระทำดังกล่าวเป็นการกีดขวางการจราจรหรือไม่ และจะเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ทางเดินรถคนอื่นหรือไม่” แต่ในความรู้สึกคนทั่วไป รถของเรา เราก็ต้องอยากดูแลให้สภาพดีใช้งานไปได้นานๆ เวลาวิ่งบนถนน ตรงไหนดีกว่าเราก็พยายามจะไปวิ่งตรงนั้น ไม่มีใครอยากไปวิ่งในทางที่ไม่ดี จริงอยู่ที่การวิ่งขวาเป็นความผิดตามกฎจราจรที่ว่า แต่หากกรณีเป็นถนนโล่งๆ แล้วมีรถวิ่งขวาอยู่ ถ้าไม่ได้เป็นการกีดขวางการจราจร หรือไม่ได้ไปขวางทางชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ก็สามารถใช้ดุลพินิจให้เหมาะสมได้ เน้นสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน ต้องคิดว่าการจับเป็นการช่วยแก้ปัญหา ส่วนการที่จะไม่จับ ผมก็ไม่คิดว่าจะเป็นการละเว้นการปฏิบัติ แต่หากเป็นกรณีที่วิ่งขวาแล้ววิ่งช้า ขวางทางชาวบ้านอันนี้ผมเห็นสมควรให้บังคับใช้กฎหมาย เพราะถือว่าขับรถไม่มีมารยาท ขับรถกีดขวางสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น แต่ส่วนนี้ขอสงวนไว้แค่รถเก๋งกับรถปิคอัพนะครับ ส่วนรถบรรทุกหรือรถใหญ่ยังคงต้องปฏิบัติตามกฎจราจรอยู่ครับ ตัวผมเองก็เป็นตำรวจทางหลวง ผมก็อยากให้ประชาชนรักตำรวจทางหลวงครับ

วิทยากรประจำสำนักงานขนส่งจังหวัดจันทบุรี
ตำรวจทางหลวงจันทบุรี

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ลูกสาวอบต's profile


โพสท์โดย: ลูกสาวอบต
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
16 VOTES (4/5 จาก 4 คน)
VOTED: zerotype, ลูกสาวอบตไง, cutiebarbie
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เผยโฉมหน้า "แบงค์" ที่ "เจ๊ปิ่น ทรงหิว" เต๊าะจนสำเร็จ..งานนี้ไม่หิวอีกต่อไปแล้ว!สารก่อมะเร็ง 4 อย่าง ที่ลูกคุณอาจจะได้รับทุกวันตามให้แล้ว ประชานิยม แม่นยำชัดเจน 1 เมษายน 2567ประเทศที่ระบบการศึกษา มีมาตรฐานดีเยี่ยมมากที่สุดในปัจจุบันเหมืองทับทิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก5 ราศีที่จะมีโชคลาภ พุ่งแรง มีโอกาสได้เงินก้อนใหญ่ในช่วงนี้!กุนขแมร์โวย! หลัง ‘เสี่ยโบ้ท‘ โพสแจ้งยกเลิกการแข่งขันทั้งหมดกับเขมรกลางดึก"ไททศมิตร" โดนโพสต์แซะว่าเป็นวงกากๆ..จ๋ายเตรียมดำเนินคดี เหตุคนโพสต์ไม่สำนึก
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เผยโฉมหน้า "แบงค์" ที่ "เจ๊ปิ่น ทรงหิว" เต๊าะจนสำเร็จ..งานนี้ไม่หิวอีกต่อไปแล้ว!เหมืองทับทิมที่ใหญ่ที่สุดในโลกกุนขแมร์โวย! หลัง ‘เสี่ยโบ้ท‘ โพสแจ้งยกเลิกการแข่งขันทั้งหมดกับเขมรกลางดึกประเทศที่ระบบการศึกษา มีมาตรฐานดีเยี่ยมมากที่สุดในปัจจุบันปูตินยัน "รัสเซียพร้อมสอย เครื่องบินรบนาโต"
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
แม่น้ำที่อันตรายที่สุดในโลก“กางเกงท้องถิ่นไทย” คุณประโยชน์ด้าน Sustainable Fashionปัญหาใหญ่ที่สุดในลาวตอนนี้ ที่อาจจะไม่สามารถเเก้ไขได้disgusting: น่าขยะแขยง น่ารังเกียจ
ตั้งกระทู้ใหม่