ปลาปิรันยา (Serrasalmus spp.)
โพสท์โดย มารคัส
"ปิรันยา" เป็นปลาน้ำจืด สกุล "เซอร์ราซัลมัส" (Serrasaimas)
อยู่ในครอบครัว "คาราซิดี" (Characidae)
มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้และแอฟริกา
ทั้งหมดมีอยู่ 25 ชนิด และ 4 ชนิดเท่านั้นที่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์!!
อยู่ในครอบครัว "คาราซิดี" (Characidae)
มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้และแอฟริกา
ทั้งหมดมีอยู่ 25 ชนิด และ 4 ชนิดเท่านั้นที่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์!!
ชื่อไทย : ปลาปิรันยา หรือ ปิรันฮา
ชื่ออังกฤษ : Piranhas
ถิ่นที่อยู่อาศัย : มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้และอัฟริกา แหล่งของปลาปิรันยาที่ขึ้นชื่อได้แก่แม่น้ำ อเมซอน และโอริโนโก รูปร่างลักษณะ เป็นปลาที่มีความสวยงามพอสมควร เคยมีผู้ลักลอบสั่งเข้ามาเลี้ยงจนกระทั่งมีเรื่องราวเกิดขึ้นเพราะผิดกฎหมาย ลักษณะเด่นของมันคือ มีฟันอันคมกริบ เกร็ดเล็กละเอียด แวววาว เมื่อโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 20-30 ซ.ม
ลักษณะทั่วไป :ของปลาปิรันยาลำตัวแบนข้าง ส่วนท้องกว้าง (คล้ายปลาแปบหรือปลาโคกของไทย) บางชนิดมีจุดสีน้ำตาลและสีดำ บางชนิดข้างลำตัวส่วนล่างสีขาว, สีเหลืองและสีชมพู แล้วแต่ละชนิดแตกต่างออกไป เกล็ดบริเวณสันท้องเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อยจำนวน 24-31 อัน
.....มีอาวุธสำคัญ คือ "ฟัน" ที่มีแถวเดียวเป็นรูปสามเหลี่ยมและแหลมคมมาก สามารถกัดเนื้อให้ขาดได้อย่างง่ายดาย ริมฝีปากล่างยื่นออกมายาวมากกว่าริมฝีปากบน แต่เมื่อหุบปากจะปิดสนิทระหว่างกันพอดี ในอดีตชาว "อินเดียน" ใน "กิอานา" ได้ใช้เป็นอาวุธ โดยนำฟันของปิรันยามาทำเป็นใบมีดหรือหัวของลูกธนู
อุปนิสัย :เป็นปลาดุร้ายมาก นับว่าน่ากลัวมากทีเดียว ปิรันยามักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ เป็นร้อยหรือเป็นพันๆตัว เมื่อกินอาหาร จะใช้วิธีล่าเหยื่ออย่างหิวกระหาย โดยการพุ่งเข้าโจมตี อย่างรวดเร็ว แล้วรุมกัดแทะ แม้ว่าเหยื่อมี "ขนาดใหญ่เท่าช้าง" ฝูงปิรันยาก็ไม่เคยละเว้น แต่จะช่วยกัน รุมกัดกินจนเหลือ แต่กระดูก มันจึงถูกขนานนามว่า "เพชฌฆาตแห่งลุ่มน้ำจืด"
อาหาร :อาหารที่ปลาปิรันยาชอบคือเนื้อสด หากินรวมกันเป็นฝูง พุ่งเข้าโจมตีเหยื่ออย่างรุนแรง ฟันสามารถฉีกกัดเนื้อของเหยื่อ ให้เป็นแผลเหวอะหวะ ด้วยความรวดเร็ว
สถานที่ชม : สวนสัตว์เชียงใหม่
.....เนื่องจากปลาชนิดนี้แพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วมาก ในพื้นที่เขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทยดังนั้นจึงเป็นอันตรายอย่างมาก หากสามารถหลุดรอดลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติได้!!
.....ทั้งนี้ผู้ครอบครองปลาปิรันยาจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 มาตรา 53 ที่กำหนดให้ปลาปิรันยา เป็นสัตว์ต้องห้ามนำเข้า ห้ามครอบครอง ห้ามนำไปปล่อยใน แหล่งน้ำ หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1.2 แสนบาท
.....อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า ปลาปิรันยา ถือเป็นปลาที่อันตราย ซึ่งหากมี การปล่อยลงตามแหล่งน้ำธรรมชาติอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างรุนแรง จึงอยาก ขอความร่วมมือจากประชาชนให้ช่วยกันสอดส่องดูแล หากพบมีการครอบครองปลาปิรันยา ให้รีบ แจ้งกรมประมงให้รับทราบทันที เพื่อดำเนินการตรวจสอบและจับกุมได้อย่างทันท่วงที
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
4 VOTES (4/5 จาก 1 คน)
VOTED: Tabebuia
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
1.5 องศาเซลเซียส ร้อนเกินไปสำหรับ เทือกเขาฮินดูกูชหิมาลัยนักท่องเที่ยวดับ5! พิษ'เหล้ามรณะ'จากลาว!นักท่องเที่ยวต่างชาติดับ 5 รายในลาว เจ้าหน้าที่สงสัยว่ามีพิษในเหล้าบทเรียนจากอดีตของบริษัทผลิตบุหรี่ : เมื่อความต้องการ "ปกป้องผู้บริโภค" กลายเป็นภัยร้ายที่ซ่อนอยู่...สรุปไอ้สิ่งที่ทำให้ "อันตราย" กว่าเดิมไปอี๊กกก พ่อเอ๊ยย....คนไข้ฟันแทงไม่เข้า แม้แต่เข็มยังเอาไม่อยู่..ทำเอาหมออยากรู้ขึ้นมาทันทีนางเอกดังสุดเศร้า กับการสูญเสียครั้งใหญ่ โพสต์อาลัยรักสุดหัวใจพอรู้ที่มาของน้ำตกในภูสอยดาว..เล่นเอาแทบลมจับเลยทันทีเจนนี่ทำเซอร์ไพรส์ใหญ่! มอบบ้านพร้อมโฉนดให้ “ลิลลี่ ได้หมดถ้าสดชื่น” ฉลองอายุครบ 20 ปีรวมภาพเรียกรอยยิ้มประจำวันนี้ วันที่เป็นวันศุกร์แล้ว พรุ่งนี้ก็จะเป็นวันหยุดของหลายๆคนแล้วน๊า สู้ๆสมุนไพร คลายเครียด ลดความวิตกกังวล ต้านซึมเศร้าเปิดใจ ขนม อดีตภรรยานักร้องดัง หลังประกาศยุติความสัมพันธ์ุสิงคโปร์แขวนคอนักโทษค้ายาเสwติด 3 ราย ภายใน 1 อาทิตย์Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
รวมภาพเรียกรอยยิ้มประจำวันนี้ วันที่เป็นวันศุกร์แล้ว พรุ่งนี้ก็จะเป็นวันหยุดของหลายๆคนแล้วน๊า สู้ๆนักท่องเที่ยวต่างชาติดับ 5 รายในลาว เจ้าหน้าที่สงสัยว่ามีพิษในเหล้าพระผง ล้ำจักรวาร ป้องกันนิวเคลียร์ได้สิงคโปร์แขวนคอนักโทษค้ายาเสwติด 3 ราย ภายใน 1 อาทิตย์กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
บทเรียนจากอดีตของบริษัทผลิตบุหรี่ : เมื่อความต้องการ "ปกป้องผู้บริโภค" กลายเป็นภัยร้ายที่ซ่อนอยู่...สรุปไอ้สิ่งที่ทำให้ "อันตราย" กว่าเดิมไปอี๊กกก พ่อเอ๊ยย....Berghia coerulescens" ทากทะเลสีสันสดใส แห่งโลกใต้สมุทร"ปลางวงช้าง" ปลาผู้ฉลาดล้ำแห่งทวีปแอฟริกาเหมยขาบและแม่คะนิ้ง: เสน่ห์แห่งน้ำค้างแข็งของเมืองไทย