หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

รื้อศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะแล้วสร้างใหม่เถอะ

โพสท์โดย doctorsopon

            ตอนนี้มีข่าวว่าศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะกำลังจะพัฒนาเฟส 2 ดร.โสภณ ขอเสนอแนวคิดใหม่ด้วยการรื้อ แล้วสร้างใหม่จะคุ้มค่าเป็นประโยชน์ต่อชาติมากกว่า
           โครงการ "ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐" ตั้งอยู่ในที่ดินราชพัสดุ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร บนที่ดินประมาณ 449 ไร่ แบ่งเป็น 3 โซน โดย 2 โซนแรก โซนเอ ซึ่งเป็นที่ตั้งของหน่วยงานด้านยุติธรรม มีเนื้อที่ 100 ไร่ โซนบีซึ่งเป็นที่ตั้งของหน่วยงานต่างๆ มากกว่า 40 หน่วยงาน มีเนื้อที่ 197 ไร่ โครงการ รวมมูลค่าก่อสร้างโครงการประมาณ 19,016 ล้านบาท รวมพื้นที่อาคาร 929,800 ตารางเมตร (http://bit.ly/2gOjiXg) ทั้งนี้เริ่มก่อสร้างในปี 2548 และแล้วเสร็จในปี 2551 (http://bit.ly/2h0JIYK) ขณะนี้กำลังจะพัฒนาพื้นที่โซนซี เนื้อที่ 152 ไร่ โดยจะสร้างอาคารสำนักงานสูง 9 ชั้น 5 แสนตารางเมตร เงินลงทุน 18,000 ล้านบาท (http://bit.ly/2h0KrsR)
           หากนำเงิน 19,016 ล้านบาท ณ ปี 2548 มาคิดเพิ่มเป็นเงิน ณ ปี 2560 (12 ปี) ณ อัตราดอกเบี้ย 4% ก็จะเป็นเงิน 30,445 ล้านบาท บวกกับค่าก่อสร้างในโซนซีอีก 18,000 ล้านบาท ก็จะเป็นเงินประมาณ 48,445 ล้านบาท สำหรับอาคารที่มีพื้นที่รวม 1,429,800 ล้านบาท หรือตกเป็นเงินค่าก่อสร้างตารางเมตรละ 33,883 บาท (อาคารและสาธารณูปโภคโดยรวม) ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าที่ดิน โดย ดร.โสภณ ประมาณการไว้ว่า ค่าที่ดินจะตกเป็นเงินตารางวาละ 80,000 บาท สำหรับที่ดิน 449 ไร่ ทั้งนี้ในกรณีที่ดินติดถนนแจ้งวัฒนะขนาด 4-5 ไร่ ตกเป็นเงินตารางวาละ 200,000 บาท ดังนั้นที่ดิน 449 ไร่จึงเป็นเงินประมาณ 14,368 ล้านบาท ณ ปี 2560 รวมกับค่าอาคารจึงเป็นเงิน 62,813 ล้านบาท หรือเท่ากับพื้นที่อาคารมีมูลค่า 44,000 บาทต่อตารางเมตร
           อันที่จริงการสร้างศูนย์ราชการใหญ่โตขนาดนี้ กลับมีหน่วยงานราชการอยู่ไม่มากนัก และมักเป็นหน่วยงานใหม่ๆ หน่วยงานเดิม ๆ บ้างก็ยังตั้งอยู่ที่เดิม เป็นการเพิ่มพื้นที่ราชการ ทำให้การติดต่อราชการต้องไปหลายแห่ง แทนที่จะเป็นที่เดียว ราชการไทยอาจไม่ได้ศึกษาแบบอย่างจากราชการอังกฤษและยุโรปที่ส่วนราชการต่าง ๆ ก็ยังอยู่ในเขตใจกลางกรุงลอนดอน และมหานครอื่น ไม่ได้ออกไปสร้างให้ใหญ่โตสิ้นเปลืองงบประมาณมากมาย ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ
           ที่ว่าศูนย์ราชการฯ นี้ช่วยประหยัดพลังงานโดยการลดการใช้พลังงานในระบบปรับอากาศ ซึ่งเป็นระบบที่ต้องใช้พลังงานสูง ด้วยการออกแบบเป็นอาคารปิด ที่ป้องกันความร้อน ความชื้นจากภายนอก มีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่เข้าสู่อาคารให้มีความเหมาะสม การรักษาอุณหภูมิตึกให้เย็นตลอดเวลา ด้วยวัสดุก่อสร้างที่เก็บรักษาความเย็นได้ดีโดยใช้ผนังและพื้นอาคารเก็บสะสมความเย็นไว้ และนำความเย็นที่เก็บไว้มาคายให้ตัวอาคารในเวลากลางวันนั้น เป็นสิ่งที่เหมาะสมจริงหรือไม่ การมีพื้นที่เปิดโล่งขนาดใหญ่กว่าสนามฟุตบอลขนาดใหญ่ เป็นความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุหรือไม่
           อาคารสมัยใหม่ที่เป็นอาคารเขียวที่รักษาสิ่งแวดล้อมได้ดี แถมยังใช้พื้นที่อย่างประหยัดและมีประโยชน์สูงสุดกว่านี้ใช่หรือไม่ ประหยัดพลังงานและลดโลกร้อนได้ดีกว่านี้หรือไม่ หากถามส่วนราชการต่าง ๆ ที่เป็นผู้อยู่อาศัยในอาคาร หลายคนมักจะไม่พอใจกับการจัดพื้นที่ใช้สอย ความสิ้นเปลืองต่าง ๆ การออกแบบที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดว่า สมควรรื้อศูนย์ราชการนี้ แล้วก่อสร้างใหม่หรือไม่
           หากนำที่ดินแปลงนี้มาใช้ประโยชน์สูงสุดเพื่อประเทศชาติ จะสามารถสร้างอาคารได้ถึง 7.184 ล้านตารางเมตร หรือเป็นพื้นที่ใช้สอยสุทธิ 4.3104 ล้านตารางเมตร และใช้เงบประาณในการก่อสร้าง 215,520 ล้านบาทสามารถจุคนได้ถึง 431,040 คน คาดว่าจะสามารถรองรับหน่วยราชการส่วนกลางได้ราวหนึ่งในสี่ของทั่วเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แต่ทั้งนี้ควรรื้ออาคารเดิมทั้งสองอาคารเสียก่อน เนื่องจากก่อสร้างอย่างไม่คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดและดีที่สุดเพื่อประเทศชาติ
           อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งก็คือข้อจำกัดในการก่อสร้างที่ให้ก่อสร้างได้ไม่ถึง 45 เมตร ทั้งที่ตั้งอยู่ห่างจากท้ายรันเวย์ของสนามบินดอนเมืองถึง 4.61 กิโลเมตร หากเทียบกับสนามบินเชียงใหม่ จะเห็นได้ว่าบริเวณใกล้เคียงมีเทือกเขาสูงใหญ่คือดอยสุเทพ แต่ก็ยังสามารถสร้างสนามบินได้โดยแทบไม่มีอุบัติเหตุทั้งที่มีเที่ยวบินถึงเกือบ 40,000 เที่ยวต่อปี และเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.2482 หรือ 75 ปีมาแล้ว และหากคิดระยะทางห่างจากสนามบินเกิน 45 เมตร ก็จะห่างออกไปเพียง 1.33 กิโลเมตรเท่านั้น
           ความสูงของดอยสุเทพ ณ ระดับที่สามารถสร้างตึกสูงเท่าตึกใบหยก 2 ซึ่งเป็นตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทย (สูง 304 เมตร) ก็จะอยู่ในระยะทางประมาณ 2.7 กิโลเมตรจากหัวของสนามบินเชียงใหม่เท่านั้น คือ ณ ความสูง 620 เมตร (316 เมตร ณ ระดับความสูงของสนามบิน บวกด้วยความสูงของอาคารใบหยก 2 ที่ 304 เมตร) และเมื่อวัดไปถึงพระธาตุดอยสุเทพ ก็อยู่ห่างจากสนามบินเชียงใหม่เพียง 5.26 กิโลเมตรเท่านั้น ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การควบคุมความสูงของสนามบินดอนเมือง ออกจะควบคุมเข้มงวดเกินไปจริงๆ
           ยิ่งหากพิจารณาถึงสนามบินไคตัก ซึ่งเป็นสนามบินของฮ่องกง ยิ่งเห็นความแตกต่างที่ชัดเจน สนามบินไคตัก เริ่มใช้งานในปี 2468 ถึงปี 2541 รวมระยะเวลา 73 ปี แต่ต้องปิดตัวเองไปเพราะความแออัดอย่างยิ่งยวดของการจราจรทางอากาศ สนามบินแห่งนี้ถือเป็นจุดเด่นของการท่องเที่ยวฮ่องกงในสมัยก่อนก็ว่าได้ เพราะเครื่องบินๆ ต่ำมาก จนดูคล้ายจะชนอาคาร แต่ก็แทบไม่เคยมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ณ สนามบินแห่งนี้เลย กรณีสนามบินไคตักนี้อาจถือเป็นประจักษ์หลักฐานสำคัญหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าการจำกัดความสูงที่เข้มงวดจนเกินไป ถือเป็นการดำเนินการที่เกิดเหตุจริงๆ
           หันกลับมาดูที่ ศูนย์ราชการฯ แห่งนี้มีพื้นที่รวม 449 ไร่ แต่หากพิจารณาจากว่าบริเวณนั้นมีหน่วยราชการทั้งทหารและพลเรือนอยู่เป็นจำนวนมาก และนำมาพัฒนาร่วมกัน พื้นที่ดังกล่าวนี้จะมีขนาดถึง 4.16 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,600 ไร่เลยทีเดียว ซึ่งมีขนาดมากกว่าเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและสัมพันธวงศ์รวมกัน (3.347 ตารางกิโลเมตร) ถึง 24% หรือมีขนาดถึง 75% ของเขตบางรัก
           เขตบางรักมีประชากรอยู่ 46,114 คน หรือ 8,324 คนต่อตารางกิโลเมตร ในขณะที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตสัมพันธวงศ์มีประชากรรวมกันถึง 77,024 คน หรือ 23,107 คนต่อตารางกิโลเมตร และหากพัฒนาเยี่ยงสิงคโปร์ที่ให้คนอยู่ในอาคารสูง ก็จะมีความหนาแน่นของประชากร 8,000 คนต่อตารางกิโลเมตรเลยทีเดียว หากนำพื้นที่ศูนย์ราชการฯ และพื้นที่ราชการโดยรอบขนาด 4.16 ตารางกิโลเมตร มาพัฒนาด้วยอัตราความหนาแน่นที่ 8,000 คนต่อตารางกิโลเมตร ก็จะมีประชากรอยู่ได้ถึง 33,280 คนเลยทีเดียว
ภาพที่ 6: ขนาดที่ดินศูนย์ราชการฯ และพื้นที่ราชการโดยรอบรวม 4.16 ตารางกิโลเมตร
           ในการทำศูนย์ราชการฯ สมควรที่จะวางแผนการขนส่งแต่แรก แต่ในประเทศไทยการวางแผนดำเนินการได้อย่างยากลำบาก ศูนย์ราชการสร้างเสร็จแล้ว แต่ไม่มีระบบคมนาคมที่ดี สิ่งที่ควรดำเนินการก็คือ
           1. การสร้างทางด่วนเชื่อมตรงกับดอนเมืองโทลเวย์ เพื่อการระบายการจราจร
           2. การสร้างทางด่วนเชื่อมตรงกับทางด่วนขั้นที่ 2 แจ้งวัฒนะ เพื่อการระบายการจราจร
           3. การสร้างรถไฟฟ้า (มวลเบา) เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่ถนนกรุงเทพฯ - นนทบุรี
           4. การสร้างรถไฟฟ้า (มวลเบา) เชื่อมรถไฟฟ้า BTS และ MRT
           5. การสร้างรถไฟฟ้ามวลเบา วิ่งเชื่อมอาคารต่าง ๆ ภายในศูนย์ราชการ
           หากดำเนินการดังกล่าว จึงจะทำให้ศูนย์ราชการฯ มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เป็นศูนย์รวมของหน่วยราชการได้แทบทั้งหมด แทนที่จะเป็นเฉพาะหน่วยราชการใหม่ ๆ และหน่วยราชการเดิมบางส่วนที่ขยายตัวเป็นหลัก ทั้งนี้รถไฟฟ้าที่ควรสร้างอาจเป็นแบบมวลเบา หรือรถไฟฟ้าตามปกติก็ได้
           พื้นที่ 2,600 ไร่ หรือ 4.16 ตารางกิโลเมตรในพื้นที่ของศูนย์ราชการฯ และส่วนราชการโดยรอบนี้ สามารถนำมาพัฒนาได้อย่างมหาศาล ดังนี้
           1. พื้นที่ดินที่ใช้ก่อสร้างให้เพียง 50% หรือ 2.08 ตารางกิโลเมตรของทั้งหมด 4.16 ตารางกิโลเมตร
           2. ณ พื้นที่ดินที่ใช้ก่อสร้าง 2.08 ตารางกิโลเมตรหรือ หากสามารถสร้างได้ 10 เท่าของขนาดที่ดิน ก็จะสามารถสร้างได้ถึง 20.8 ล้านตารางเมตร
           3. หากใช้พื้นที่เพื่อการเป็นสำนักงานหรือการพาณิชย์อื่น ๆ เพียง 50% หรือ 10.4 ล้านตารางเมตร ก็ยังมากกว่าอาคารสำนักงานในกรุงเทพมหานครทั้งหมดรวมกัน 8 ล้านตารางเมตร สามารถใส่อาคารราชการได้เกือบทั้งหมด รวมทั้งอาคารอื่น ๆ เช่น หอประชุม โรงแรม ที่พักอาศัยได้อีกด้วย
           ยิ่งหากเชิญชวนให้ภาคเอกชนมาร่วมลงทุน ก็จะยิ่งจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นอย่างมากจากการพัฒนาในเชิงพาณิชย์เช่นนี้ ยกตัวอย่างเช่น โรงแรม หอประชุม ศูนย์แสดงสินค้า รถไฟมวลเบา ศูนย์การค้า ศูนย์อาหาร ก็สามารถให้ภาคเอกชนมาสร้างได้ โดยจัดสรรพื้นที่ให้ก่อสร้างแทนที่จะสร้างใช้สอยเอง แต่ต้องทำสัญญาให้รัดกุม เพื่อว่า จะได้ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง ไม่เสียค่าโง่เช่นที่ผ่านมา
           การวางแผนพัฒนาเมืองต้องอาศัยแนวคิดเชิงปฏิวัติ ไม่ใช่แค่ปฏิสังขรณ์ "ปะผุ" ไปวัน ๆ ซึ่งไม่อาจทำให้เมืองน่าอยู่ได้ ส่วนบางคนเห็นแก่ไขปัญหาเมืองได้ยาก ก็คิดแต่จะ "ล้มกระดาน" ด้วยการย้ายเมืองหลวง ผมก็ได้แต่บอกว่าแนวคิดย้ายเมืองหลวงนี้ใช้ไม่ได้หรอกครับ บางประเทศอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เขายังไม่คิดย้าย การย้ายเมืองหลวงทำได้แต่ส่วนราชการ แต่เมืองหลวงทางเศรษฐกิจย้ายไม่ได้ เช่น กรุงเนปิดอว์กับนครย่างกุ้ง กรุงแคนบรากับนครซิดนีย์ กรุงบราซิเลียกับนครเซาเปาโล กรุงวอชิงตันดีซีกับนครนิวยอร์ก เป็นต้น
           ต้องปฏิวัติแนวคิดการพัฒนาเมืองให้ได้ เพื่อลูกหลานไทยของเราเอง
ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1694.htm

เนื้อหาโดย: doctorsopon
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
doctorsopon's profile


โพสท์โดย: doctorsopon
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สื่อดัง "วอยซ์ทีวี" ประกาศปิดกิจการ 31 พ.ค.นี้ เลิกจ้างพนักงานกว่า 100 ชีวิต ด้าน "แขก คำผกา"เคลื่อนไหวแล้ว พฤติกรรมและวัฒนธรรมแปลกประหลาด แต่เป็นเรื่องปกติของผู้คนในอิตาลี ที่คุณอาจจะสงสัยและไม่รู้มาก่อน!ปลัดทรงสืบ แฝงนั่งชิลล์อยู่ริมหาดจอมเทียน เจอเหตุรัวปืน3 นักษัตรที่การเงินเด่น มีโชคด้านการลงทุน เสี่ยงดวงช่วงนี้ชาวกัมพูชา เดือดทั้งประเทศ ถ่ายรูปล้อเล่นกับรูปปั้นม้าน้ำเขมรโป๊ะแตก! โชว์ "มงกุฎร่ายรำ" เขมรโบราณอายุพันปี ชาวเน็ตไทยตามแหก ลั่น แบบนี้ที่สำเพ็งมีขายเยอะเลย!!ญี่ปุ่นสั่งกั้นมุมภเขาไฟฟูจิ! เหตุ นนท. ทำพิษคืนชีพผักเหี่ยวแบบง่ายๆ..ให้กลับมาสดใสอีกครั้งเขมรมาเหนือเมฆ เรียกประชาชนที่อยู่รอบนครวัดมาให้ทำการปรับปรุงบ้านใหม่ ให้เน้นรูปทรงบ้านให้เป็นทรงโบราณ นักท่องเที่ยวมาเที่ยวจะได้ฟินๆ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ผู้นำจากนานาชาติร่วมกันแถลงการณ์ เรียกร้องให้ฮามาสปล่อยตัวประกันในกาซานอร์เวย์: ดินแดนแห่งสวัสดิการ "เงินก้อนโตตั้งแต่เกิด" จริงหรือ?พ้นขีดอันตรายแล้ว ! นศ.มธ หนุ่มถูกแทงปมไม่อยากเลิกราพายุสุริยะ ถึงโลกในวันนี้
กระทู้อื่นๆในบอร์ด บ้าน คอนโด ที่ดิน
ห้องชุดราคาแพงที่สุดในประเทศไทยไอเดียแต่งสวนข้างบ้านรู้จักกับ บ้านดิน คืออะไร?8 เทคนิคเลือกบ้าน ช่วยให้อยู่แล้วไม่ร้อน
ตั้งกระทู้ใหม่