รู้ยัง!!..ทำไมแต่ละเดือนถึงมีจำนวนวันไม่เท่ากันนิ?
ทำไมแต่ละเดือนถึงมีจำนวนวันไม่เท่ากัน?
“ปฎิทินเกรกอเรียน” (Gregorian Calendar) หรือปฎิทินสมัยใหม่ที่เราใช้กันทุกวันนี้มีที่มาเริ่มตั้งแต่สมัยโรมัน
ปฏิทินโรมันฉบับแรกที่เป็นทางการจะมีเพียงแค่ 10 เดือนเท่านั้น และในแต่ละเดือนจะมี 30 หรือ 31 วันสลับกันไป รวมแล้วมีทั้งหมด 304 วัน
โดยจะเริ่มนับจากเดือนมีนาคมเป็นเดือนแรกไปจนถึงธันวาคมและให้ชื่อ 4 เดือนแรก (Martius,Aprilis,Maius,Junius) ตามชื่อของเทพเจ้าสำคัญ
เดือนแรกหรือเดือนมีนาคมเป็นเทพเจ้าแห่งสงครามที่ชาวโรมันให้ความเคารพเป็นพิเศษ ส่วนเดือนที่เหลือหมายถึงเดือนที่ 5-10 (Quintilis, Sextilis,September,October,November and December)
แต่ต่อมาภายหลังในสมัยของกษัตริย์ "นูมา ปอมปิเลียส" (Numa Pompilius) ได้มีการเพิ่มเดือนเข้าไปอีก 2 เดือนคือ เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์
อย่างไรก็ดี ในสมัยของกษัตริย์จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้มีการปรับเปลี่ยนระบบปฏิทินใหม่ และให้ชื่อว่า “ปฏิทินจูเลียน” โดยได้เปลี่ยนแปลง
(1) การตั้งต้นปีจากเดือนมีนาคมมาเป็นเดือนมกราคม
(2) กำหนดให้จำนวนวันในหนึ่งเดือนมี 30 หรือ 31 วันสลับกันไปคือ ให้เดือนคี่มี 31 วันและเดือนคู่มี 30 วัน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ให้มี 29 วันในปีปกติสุรทิน
(3) เปลี่ยนชื่อเดือนกรกฎาคมจากเดิมคือ "ควินติลิส" (Quintilis) ให้เป็น "จูไล" (July) ตามชื่อของจูเลียส ซีซาร์อีกด้วย
ต่อมาในสมัยของกษัตริย์ "ออกัสตัส ซีซาร์" (Augustus Caesar) ได้เปลี่ยน
(1) ชื่อเดือนสิงหาคมจาก "เซกติลิส" (Sextilis) เป็น "ออกัส" (August)
(2) เพิ่มวันให้มี 31 วัน เพื่อให้เท่ากับเดือนของจูเลียส ซีซาร์ ด้วยการไปลดวันในเดือนกุมภาพันธ์ให้เหลือ 28 วันในปีปกติ
จากการเพิ่มวันในเดือนสิงหานี่เองทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนจำนวนวันใหม่ ทำให้เดือนกันยายนและพฤศจิกายนมี 30 วันและเดือนตุลาคมกับธันวาคมมี 31 วัน
โชคดีที่บ้านเรามีวิธีจำง่ายๆคือ ลงท้ายด้วย “คม” มี 31 วันส่วน “ยน” มี 30 วัน โดยชื่อเดือนนั้น ตั้งโดยกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ โดยทรงใช้ตำราจักรราศี ซึ่งแสดงการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปีตามวิชาโหราศาสตร์