โฉมหน้าแมววิเชียรมาศตัวแรกที่ไทยส่งไปอังกฤษ เมื่อ 129 ปีก่อน
แมววิเชียรมาศเป็นแมวโบราณ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยตำแหน่งแต้ม และตาสีฟ้า เป็นแมวที่เมื่อผสมกับสายพันธุ์ไหนตำแหน่งแต้มจะปรากฏในแมวชนิดนั้นด้วยและเป็นต้นกำเนิดแมวกว่า 40 สายพันธุ์
ลักษณะของแมววิเชียรมาศคือจะมีแต้มสีครั่ง หรือสีน้ำตาลไหม้ ที่บริเวณหน้า หูสองข้าง เท้าทั้งสี่ หาง และ อวัยวะเพศ รวมเก้าแห่งทั้งตัวผู้และตัวเมีย นับว่าเป็น แมวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนแมวอื่น แมววิเชียรมาศ เมื่อแรกเกิดขนจะสีขาวล้วน เมื่อลูกแมวมีอายุได้ 3 วัน ตำแหน่งแต้มจะเริ่มเข้มขึ้น
ในสมัยก่อนผู้ที่เลี้ยงแมววิเชียรมาศ จะเป็นพระมหากษัตริย์หรือราชวงศ์ มีบันทึกไว้ว่าแมวสายพันธุ์วิเชียรมาศเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร (พิธีขึ้นบ้านใหม่) สืบทอดมาตั้งแต่สมัยรัชการที่ 1 ซึ่งตรงกับวันที่ 6 พฤษภาคม 2493 สมัยนั้นยังเรียก แมวว่า “วิฬาร์” แมววิเชียรมาศเป็นหนึ่งเดียวในสายพันธุ์แมวไทยโบราณที่มีโอกาสเข้าร่วมพิธีนี้
ในสมัยรัชกาลที่ 5 แมววิเชียรมาศเป็นทูตสันถวไมตรี ปี พ.ศ.2427 ทรงมอบแมววิเชียรมาศ 1 คู่ ให้นายโอเวน กูลด์ (Owen Gould) กงสุลอังกฤษ นำแมวไปฝากน้องสาวที่ประเทศอังกฤษ อีกหนึ่งปีต่อมาแมวคู่นี้เข้าประกวดในงานแมว ที่ The Crystal Palace กรุงลอนดอน ผลปรากฏว่าได้รางวัลชนะเลิศ ทำให้ชาวอังกฤษต่างชื่นชม และเลี้ยงแมววิเชียรมาศกันมากในศตวรรษที่ 20
คำว่า “วิเชียร” หมายถึง “เพชร” คำว่า “มาส” หมายถึง “พระจันทร์” ซึ่งเป็นที่มา ของชื่อ เพชรแห่งดวงจันทร์ (Moon Diamond)