หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

น้ำกัดเซาะ! ภัยเงียบที่กลืนกินผืนแผ่นดิน

โพสท์โดย Aumsaza

น้ำกัดเซาะ! ภัยเงียบที่กลืนกินผืนแผ่นดิน 

“การกัดเซาะ” เป็นหนึ่งในกระบวนการธรรมชาติที่ส่งผลกระทบทำให้พื้นผิวหน้าดินหรือหินโดนทำลาย กร่อนกะเทาะ เคลื่อนตัว เปลี่ยนรูป หรือพังทลาย ซึ่งเกิดได้จากทิศทางการไหลของน้ำ ฝน ลม ภูมิอากาศ หรือเกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ เช่น การทำเกษตร การตัดไม้ทำลายป่า และการเจริญเติบโตของเมือง 

สำหรับการกัดเซาะตามธรรมชาติส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ จนมนุษย์ไม่ทันสังเกตเห็น ซึ่งบางครั้งอาจใช้เวลานานหลายชั่วอายุคน เช่น แพะเมืองผี จ.แพร่ และ สามพันโบก จ.อุบลราชธานี ซึ่งจากการศึกษาของนักธรณีวิทยาพบว่าทั้ง 2 แห่งเกิดจากถูกน้ำกัดเซาะมานานนับล้านปี ทว่า การกัดเซาะจากธรรมชาติก็ไม่ได้รังสรรค์สิ่งสวยงามเสมอไป แต่หลายครั้งกลับเป็นมหันตภัยเงียบที่กลืนกินผืนแผ่นดิน ค่อยๆ รุกคืบเข้ามาใกล้ จนส่งผลกระทบแบบไม่ทันตั้งตัว โดยในบทความนี้จะพาไปดูผลกระทบและแนวทางป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการกัดเซาะดังกล่าว 

 

ตัวอย่าง ภาพแพะเมืองผี (ที่มา : https://www.facebook.com/Phaemuangphi/

 

การกัดเซาะของน้ำในแม่น้ำที่ค่อยๆ พังทลายตลิ่งลงมาทีละนิด 

นับเป็นปัญหาหลักของคนไทย เนื่องจากวิถีชีวิตคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมักจะอาศัยใกล้ชิดอยู่ริมแม่น้ำ ซึ่งจากงานวิจัยของ มนิษฐา ไรแสง ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาน้ำกัดเซาะที่อยู่อาศัยริมน้ำของชุมชนซอยวัดหลังบ้าน เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม พบว่า การกัดเซาะทำให้ลักษณะทางกายภาพมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาโดยเฉพาะบริเวณริมตลิ่งซึ่งเกิดจากมีปริมาณการไหลของน้ำสูง ยิ่งกระแสน้ำไหลเร็วมากเท่าไรก็จะยิ่งมีการกัดเซาะที่รุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ทำลายพื้นที่ทำกิน และทำลายพื้นที่อยู่อาศัย โดยสามารถป้องกันได้ด้วยการออกแบบโครงสร้างที่อยู่อาศัยให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และการทำพนังกั้นน้ำแบบธรรมชาติควบคู่กับโครงสร้างแบบถาวรเพื่อช่วยรักษาริมตลิ่งให้คงทน 

 

ตัวอย่าง ภาพที่อยู่อาศัยชุมชนซอยวัดหลังบ้าน เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม1 

 

ตัวอย่าง ภาพจำลองลักษณะที่อยู่อาศัยที่โดนน้ำกัดเซาะชุมชนซอยวัดหลังบ้าน เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม1 

(1ที่มา : มนิษฐา ไรแสง แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำกัดเซาะที่อยู่อาศัยริมน้ำ  
: กรณีศึกษาชุมชนซอยวัดหลังบ้าน เทศบาลเมือง สมุทรสงคราม) 

 

ทะเลสาบจากธรรมชาติและทะเลสาบฝีมือมนุษย์ ความงดงามที่ค่อยๆ กัดเซาะผืนดิน 

เมื่อพูดถึงแหล่งน้ำสำคัญอย่างทะเลสาบ สถานที่แรกที่หลายคนนึกถึงก็คือทะเลสาบสงขลา แหล่งน้ำธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ขนาดกว่า 1,000 กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง และเป็นพื้นที่ประมงและเกษตรพื้นบ้านมาอย่างยาวนานหลายชั่วอายุคน แต่ในปัจจุบันทะเลสาบสงขลาเป็นอีกพื้นที่ที่กำลังประสบปัญหาถูกน้ำกัดเซาะกินพื้นที่ชายฝั่งเป็นบริเวณกว้าง โดยจากการรายงานของหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์พบว่า ปัญหาน้ำกัดเซาะชายฝั่งของทะเลสาบสงขลาเกิดมานานกว่า 10 ปี สาเหตุจากลมเปลี่ยนทิศทาง และการก่อสร้างโครงสร้างรุกล้ำชายหาด ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็ได้มีความพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งการเติมทรายเสริมชายหาด และการรื้อโครงสร้างที่รุกล้ำชายหาด ซึ่งตามหลักวิศวกรรมระบุว่า หาดทรายที่ใกล้กับสิ่งก่อสร้างชายฝั่งจะเกิดการสะสมของทรายด้านต้นเขื่อน ส่วนด้านท้ายเขื่อนชายหาดจะถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง แต่จากความพยายามแก้ไขปัญหาของภาครัฐไม่เพียงแค่ไม่สามารถลดปัญหาการกัดเซาะได้เท่านั้น แต่ยังประสบปัญหาเดียวกับชาวชุมชนชายหาดบ้านท่าบอน คือทัศนียภาพอันสวยงามโดนบดบัง ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและการทำอาชีพ 

นอกจากทะเลสาบสงขลาและทะเลสาบตามธรรมชาติอื่น ๆ ที่เสี่ยงต่อการโดนน้ำกัดเซาะแล้ว ทะเลสาบที่เกิดขึ้นโดยฝีมือการสร้างของมนุษย์ก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่นิยมมีทะเลสาบในโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งเป็นความสวยงามที่แฝงไปด้วยข้อควรระวัง ทางที่ดีควรเลือกบ้านริมทะเลสาบที่ออกแบบทำแนวป้องกันดินพังทลายไว้อย่างดี เลือกทำเลที่ตั้งบ้านไม่ให้อยู่บริเวณมุมโค้งน้ำ ซึ่งมีความเสี่ยงจะโดนกัดเซาะได้ง่าย นอกจากนี้ อาจทำให้ผิวดินบริเวณใกล้เคียงมีความอ่อนตัว ดินไถลทรุดง่ายกว่าบริเวณอื่นด้วย ตัวอย่างเช่น 

 

 

ตัวอย่าง ภาพการกั้นน้ำด้วย Geobag (ที่มา : https://bangkokgabions.com/geobag/

 

 

ตัวอย่าง ภาพการแก้ปัญหาน้ำกัดเซาะทะเลสาบของโรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์ 

 

กระแสน้ำในท้องทะเลหรือคลื่นที่ค่อยๆ กัดเซาะชายฝั่ง 

นอกจากคนไทยส่วนใหญ่จะมีชีวิตผูกพันกับแม่น้ำแล้ว คนไทยอีกส่วนก็ยังผูกพันกับท้องทะเล ซึ่งถือเป็นแหล่งทำเงินให้ประเทศติดเป็นอันดับต้นๆ โดยปัจจุบันไทยเรามีพื้นที่ติดทะเล 23 จังหวัด มีแนวชายฝั่งยาวรวม 3,151 กิโลเมตร แต่จากการรายงานของหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์พบว่า การกัดเซาะของคลื่นชายฝั่งได้ค่อยๆ กัดกร่อนก่อหายนะทำลายทั้งการท่องเที่ยว และวิถีชีวิตในชุมชน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 

ชาวบ้านชายหาดบ้านท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากชายฝั่งถูกกัดเซาะ โดยเฉพาะจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคมทำให้คลื่นซัดเข้าหาฝั่งอย่างรุนแรง ทำลายหน้าดิน สิ่งปลูกสร้าง บ้าน ที่อยู่อาศัย ถนนหนทาง ฯลฯ และแม้ว่าภาครัฐจะเข้าไปสร้างกำแพงกันคลื่นแต่คลื่นยังซัดกระโจนข้ามกำแพงเข้ามาสร้างความเสียหายเหมือนเดิม โดยจากการรายงานของศูนย์พัฒนาการสื่อสารภัยพิบัติ ไทยพีบีเอส จะเห็นว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่เพียงแค่ไม่สามารถป้องกันคลื่นกัดเซาะได้เท่านั้น แต่ยังทำลายสภาพแวดล้อม บดบังทัศนียภาพ ทำลายบรรยากาศของสถานที่ท่องเที่ยว และทำลายวิถีชีวิตของชุมชนเพราะชาวบ้านไม่สามารถจอดเรือประมงได้เหมือนเดิม 

 

ตัวอย่าง ภาพการกัดเซาะ ชุมชนชายหาดบ้านท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา2 

 

ตัวอย่าง ภาพกำแพงกันคลื่นที่พังเสียหาย ชุมชนชายหาดบ้านท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา2 

(2ที่มา : กองบรรณาธิการ DXC ไทยพีบีเอส : เสียงจากคนริมเล “กำแพงหินกันคลื่น สู่ภัยพิบัติ) 

 

สำหรับแนวทางป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่งนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและความแรงของคลื่นลม ได้แก่ 

1) กำแพงกันคลื่น มีหลายรูปแบบแตกต่างไปตามสภาพแวดล้อมและความรุนแรงของคลื่น 

2) เขื่อนกันคลื่น เน้นสลายความรุนแรงของคลื่นให้ลดแรงกระทบน้อยลง และหักเหทิศทางคลื่นไม่ให้เข้ากระทบฝั่ง 

3) รอดักทราย เพื่อดักทรายไม่ให้ไหลไปตามกระแสคลื่น 

4) เติมทราย หรือสร้างหาดใหม่ 

5) ปลูกป่าชายเลนเป็นกำแพงกันคลื่นธรรมชาติ แต่ถ้าสุดท้ายเล็งเห็นแล้วว่าไม่สามารถหยุดการกัดเซาะชายฝั่งได้ก็อาจต้องใช้มาตรการถ่อยร่นของชายฝั่ง ด้วยการเวนคืนที่ดินและอพยพชาวบ้านไปยังที่ปลอดภัย 

 

ที่มา 

หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ออนไลน์ “https://www.posttoday.com/business/406424” 

วิทยานิพนธ์ “มนิษฐา ไรแสง แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำกัดเซาะที่อยู่อาศัยริมน้ำ : กรณีศึกษาชุมชนซอยวัดหลังบ้าน เทศบาลเมือง สมุทรสงคราม” 

https://dxc.thaipbs.or.th/expert-pool/กัดเซาะชายฝั่ง-สาธารณ/ 

โพสท์โดย: Aumsaza
อ้างอิงจาก: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ออนไลน์ “https://www.posttoday.com/business/406424”
วิทยานิพนธ์ “มนิษฐา ไรแสง แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำกัดเซาะที่อยู่อาศัยริมน้ำ : กรณีศึกษาชุมชนซอยวัดหลังบ้าน เทศบาลเมือง สมุทรสงคราม”
https://dxc.thaipbs.or.th/expert-pool/กัดเซาะชายฝั่ง-สาธารณ/
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Aumsaza's profile


โพสท์โดย: Aumsaza
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
อลังการปาร์ตี้วันเกิด "ชูชัย" โชว์เพชร 5000 ล้าน..ช็อตเด็ด! ถูก "ไนกี้" อุ้มลงน้ำ และ "ตงตง" ควง "เจนี่" ลงสระหนุ่มสอบบรรจุครูสำเร็จ แก้บนมโนราห์รำถวาย "พ่อแก่พันล้าน"ประเทศไทยและมาเลเซีย: ความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการเชื่อมต่อทางรถไฟและการสร้างทางรถไฟหนัง อโนรา (Anora) คว้ารางวัลที่เมืองคานส์ครั้งที่ 77ลิซ่าออกงานคู่เฟรเดอริกอีกแล้ว ยังไงดีนะพระเจ้าซุกจง กษัตริย์แห่งโชซอน ที่มีพระมเหสีมากที่สุดถึง 4 พระองค์วิธีการรับมือกับคนเจ้าเล่ห์ที่จ้องจะเล่นงานเรา!นักสำรวจคนแรกของโลกที่ไปสำรวจ Doorway to Hell อื้อหือ...น่าหวาดเสียว
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
หนุ่มสอบบรรจุครูสำเร็จ แก้บนมโนราห์รำถวาย "พ่อแก่พันล้าน"ญี่ปุ่นจัดเทศกาลเก่าแก่ "สาดน้ำอุ่นใส่กัน"ประเทศที่มีแรงงานจากประเทศไทย อาศัยอยู่เพื่อทำงานจำนวนมากที่สุด
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
เงินเดือนนักบิน อาชีพในฝันที่ค่าตอบแทนไม่ธรรมดาชาวกะเหรี่ยง เผ่าพันธุ์แห่งขุนเขา ผู้พิทักษ์ผืนป่าและวัฒนธรรมยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยสนใจไหม"ช่างเชื่อมใต้น้ำ"อาชีพที่กำลังขาดแคลนแต่รายได้ต่อเดือนสูงถึง9.9แสนบาท!!
ตั้งกระทู้ใหม่