หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ความเป็นมาของระเบียบชุดนักเรียนไทย อังกฤษและอเมริกา

โพสท์โดย Dante Inferno

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ดูเหมือนสังคมไทยจะมีความตื่นตัวมากขึ้นต่อระบบการศึกษาในประเทศ ตั้งแต่เรื่องเนื้อหาแบบเรียน ไปจนถึงเรื่องกฎระเบียบ สังคมไทยเองก็มีการรับรู้และกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อย่างมาก อาจเพราะด้วยยุคข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว ทำให้ประเด็นเล็กๆสามารถถูกจุดให้ติดได้และลุกลามดังไฟทุ่ง

ประเด็นที่ร้อนแรงที่สุดตอนนี้คงหนีไม่พ้นประเด็นชุดนักเรียน-นักศึกษา ที่มีการถกเถียงกันมากมายระหว่างฝั่งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บทความนี้แปลและเรียบเรียงขึ้นจากส่วนหนึ่งในเปเปอร์ของผู้เขียนเรื่อง School Uniform in Thailand; comparing to British and American เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ที่มาของชุดนักเรียนในประเทศไทย และต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่หลายคนมักอ้างถึงเป็นประจำเพื่อเปรียบเทียบและเพื่อให้เห็นการพัฒนาการ ของสังคม ที่อำนาจผ่านกฎระเบียบพยายามเข้าแทรกซึมผ่านเครื่องแบบในระบบการศึกษา

ความเป็นมาของระเบียบชุดนักเรียนไทย

ชุดนักเรียนของไทยเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยการวางรากฐานการศึกษาไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ราว พ.ศ. 2428 โดยเครื่องแบบนักเรียนในยุคแรกประกอบไปไปด้วย

1. หมวกฟาง มีผ้าพันหมวกสีตามสีประจำโรงเรียน ติดอักษรย่อนามโรงเรียนที่หน้าหมวก
2. เสื้อราชปะแตนสีขาว ดุมทอง
3. กางเกงไทย (กางเกงขาสั้นอย่างที่นักเรียนใช้อยู่ในปัจจุบัน)
4. ถุงเท้าขาว หรือดำ
5. รองเท้าดำ

ทั้งนี้ ถุงเท้า รองเท้า ในขณะนั้นเป็นของราคาแพง จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีทุกคน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีใช้

เอกสารข้อกำหนดอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการแต่งกายเครื่องแบบนักเรียนเกิดขึ้นภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475 ในสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2482 และตามด้วย ระเบียบกระทรวงธรรมการ ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2482 ซึ่งกำหนดรายละเอียดยิบย่อยมากมายตั้งแต่หัว(หมวก)จรด(รอง)เท้า ทั้งของชายและหญิง แยกประเภทโรงเรียน

ข้อกำหนดเรื่องเครื่องแบบนี้ถูกเปลี่ยนแปลงหลายครั้งตามสถานการณ์ เช่นในช่วงสงครามโลก เสื้อผ้าขาดแคลน จึงต้องลดกฎระเบียบลงให้น้อยลง

ในปัจจุบันประเทศไทยได้ใช้กฎระเบียบการแต่งกาย ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 ประกอบกับระเบียบปฏิบัติของโรงเรียนต่าง ๆ เอง

ความเป็นมาของชุดเครื่องแบบนักเรียนในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา

เครื่องแบบนักเรียนในประเทศอังกฤษเกิดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรี่ที่8 (พ.ศ.2034-2090)โดยเครื่องแบบนักเรียนในยุคแรกนั้นไม่ได้ถูกใส่โดยนักเรียนชั้นสูง หากแต่เป็นนักเรียนยากจนที่ใส่ เพื่อเป็นการแยกระหว่างนักเรียนจากโรงเรียนยากไร้กับโรงเรียนอื่น อีกกว่า300ปีต่อมา ที่นักเรียนในโรงเรียนรัฐบาลเริ่มมีการใส่เครื่องแบบ โดยเครื่องแบบในสมัยนั้นถูกเรียกว่า “bluecoat” หรือ “เสื้อคลุมสีน้ำเงิน” เพราะเครื่องแบบหลักนั้นคือเสื้อโค๊ทยาวคล้ายแจ๊กเกตสีน้ำเงิน ซึ่งสีน้ำเงินเป็นสีที่ถูกที่สุดในการย้อมผ้าในขณะนั้นและยังเป็นสีซึ่งสื่อถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนอีกด้วย

ในปี 1870 มีการออกระเบียบการศึกษาชั้นต้น 1870 (Elementary Education Act 1870) ทำให้การศึกษาชั้นต้นมีการแพร่หลายในประเทศอังกฤษและเวลส์ เครื่องแบบนักเรียนได้รับความนิยมและแพร่หลายขึ้นมากขึ้น นักเรียนทุกคนมีเครื่องแบบเป็นของตัวเอง เครื่องแบบนักเรียนในยุค 1920’s ประกอบไปได้เสื้อสูทกั๊ก(blazer) เนคไท และกางเกงขายาวสุภาพ
ในปี 1960 ความนิยมของเครื่องแต่งกายชุดนักเรียนเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากการปฎิวัติสังคม (social revolution) หลังสงครามโลกครั้งที่2 เครื่องแบบยิบย่อยที่มีราคาแพงก็ไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป บวกกับการปฎิวัติของหนุ่มสาว ในยุค60 แนวคิดทางชนชั้นและระเบียบที่กักกันเสรีภาพถูกท้าทายโดยคนหนุ่มสาว โรงเรียนหลายแห่งยกเลิกเครื่องแบบนักเรียนลงในที่สุด

ในสหรัฐอเมริกา โรงเรียนรัฐส่วนใหญ่ไม่มีการบังคับให้ใส่เครื่องแบบนักเรียน หากจะมีเพียงกฎเล็กๆน้อยๆหรือ dress codes เช่น การกำหนดความยาวของกระโปรงไม่ให้สั้นเกินควร หรือเรื่องรอยสักที่ไม่เหมาะสม (รอยสักรูปโป๊ หรือสัญลักษณ์แก๊ง) อย่างไรก็ดีในช่วงปีที่ผ่านมาอ้างอิงจาก National Association of Elementary School Principals (NAESP) โรงเรียนหลายแห่งในสหรัฐฯมีการกำหนดเครื่องแบบเพิ่มมากขึ้น จาก3% ในปี 1997 เป็น 21% ในปี 2000 และในปี 2009 มีโรงเรียนถึง 21รัฐ ที่มีการกำหนดให้นักเรียนสวมเครื่องแบบ

อย่างไรก็ดี ทั้งสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ไม่ปรากฎว่ามีกฎข้อบังคับในการแต่งกายในระดับอุดมศึกษา(มหาวิทยาลัย) แต่อย่างใด

ข้อถกเถียงและข้อโต้แย้ง

ข้อถกเถียงเรื่องเครื่องแบบนักเรียนในสหรัฐอเมริกาเริ่มมีขึ้นในราวปี 1980 โดยมีการยกเหตุผลว่าการมีเครื่องแบบนักเรียนนั้นเป็นการลิดรอนกักกันความคิดแบบปัจเจกและเสรีภาพในการแสดงออก ถึงแม้ว่าฝ่ายสนับสนุนจะยกเหตุผลว่าการมีอยู่ของเครื่องแบบนั้นจะทำให้ผู้ปกครองและตัวนักเรียนลดแรงกดดันจากค่านิยมแฟชั่นและเป็นการประหยัดเงินในการหาซื้อเสื้อผ้าใหม่ๆ

ฝ่ายที่สนับสนุนการใช้เครื่องแบบนั้นอ้างว่าการใส่เครื่องแบบ จะทำให้ผู้เรียนสนใจกับการเรียนมากกว่ามัวแต่สนใจชุดที่ใส่ และการทำงานเมื่อเรียนจบหลายแห่งก็มีเครื่องแบบของบริษัทที่บังคับ การมีเครื่องแบบก็จะทำให้นักเรียนได้เตรียมตัวไปสู่การทำงานในอนาคต ทั้งนี้ความสำคัญของเครื่องแบบอีกอย่างหนึ่งคือมันจะทำให้ความรุนแรงในสังคมลดลงไปด้วย เช่นกลุ่มอันธพาลก็จะไม่สามารถแยกแยะเด็กออกได้ว่าอยู่กลุ่มที่เป็นอริกันหรือปล่าว (ในอเมริกานั้นกลุ่มแก๊งค์จะมีชุดเสื้อผ้าประจำกลุ่ม)

อย่างไรก็ดี ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการใส่ชุดนักเรียนนั้นให้เหตุผลว่า มันเป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิเหนือร่างกายของเด็กที่จะเลือกว่าสิ่งไหนเหมาะสมและน่าสนใจต่อเขา ทั้งนี้การต้องซื้อเครื่องแบบนักเรียนหาใช่การประหยัดไม่ หากแต่เป็นการเพิ่มภาระโดยใช่เหตุ โดยเฉพาะกับครอบครัวที่มีลูกหลายคน การอ้างเรื่องลดความรุนแรงของกลุ่มอันธพาลนั้นก็เหลวไหล เพราะไม่ว่าจะมีหรือไม่มีเครื่องแบบนั้น อันธพาลก็พร้อมที่จะทำร้ายหรือใช้ความรุนแรงได้ทุกเมื่ออยู่ดี

จะเห็นได้ชัดว่าหากมาเปรียบเทียบกับประเทศไทย ข้อถกเถียงเหล่านี้ ก็ยังคงวนเวียนอยู่ในหน้าสื่อสังคมออนไลน์ทุกวัน หากแต่จะมีเรื่องเกียรติศักดิ์ศรีพ่วงท้ายเข้ามาด้วย ฝ่ายสนับสนุนมักยกประเด็นชุดนักเรียน-นักศึกษาพระราชทาน หรือความภาคภูมิใจต่อสถาบันการศึกษา โดยที่ไม่สนใจประเด็นสากลอย่างสิทธิเสรีภาพเหนือร่างกาย และการแสดงออก ประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายก็เป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน โดยฝ่ายสนับสนุนมักจะเป็นบุคคลจำพวกที่ไม่เดือดเนื้อร้อนกระเป๋าต่อค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งเครื่องแบบอันมีเกียรติ แต่ไม่เคยนึกถึงอีกหลายคนที่เดือดร้อนต่อภาระนี้ ดังจะเห็นได้จากข่าวที่ผู้ปกครองหลายคนแห่กันเข้าโรงรับจำนำในช่วงก่อนเปิดเทอม เพื่อหาซื้ออุปกรณ์และชุดเครื่องแบบให้ลูกหลาน

การถกเถียงเรื่องการมีอยู่ของเครื่องแบบนักเรียนนั้นมีมาอย่างต่อเนื่องทั้งในสหรัฐอเมริกาและไทย มันได้ก้าวล่วงและส่งผลสะเทือนตั้งแต่ปัญหาความปลอดภัยของเด็กไปจนถึงเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคล ประเด็นสิทธิและสาธารณประโยชน์ถูกยกมาถกเถียงกันมากที่สุดในสหรัฐฯ ต่างจากในไทยที่มักยกเรื่องเกียรติภูมิและความภาคภูมิใจที่ฟังดูเป็นเรื่องที่ตื้นเขินพอสมควรมาเป็นประเด็นหลักของฝ่ายสนับสนุน

ขอบคุณที่มา: http://prachatai.com/journal/2013/09/48726
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Dante Inferno's profile


โพสท์โดย: Dante Inferno
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
24 VOTES (4/5 จาก 6 คน)
VOTED: iLay, แมวฮั่ว แมวขี้น้อยใจ, Tabebuia, นางเบิร์ด, zerotype, Dante Inferno
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
จากหลอนกลายเป็นฮา หนุ่มเจอต้นเหตุผีอำ ชาวเน็ตแห่แชร์คลิปสุดไวรัล"แช่หรือไม่แช่? อ.เจษฎ์ชี้ชัด ซีอิ๊ว-ซอสหอยนางรม หลายบ้านทำผิด!"ตำรวจเตือนหญิงขับสกุ๊ตเตอร์ไฟฟ้าขึ้นถนนใหญ่ เจอสวนกลับ ถ้าห้ามขับไปบอกร้านว่าห้ามขายสิเหยื่อปลัดสาวเมาขับ เสียชีวิตเพิ่ม9 อาหารกินแล้ว 'หน้าเด็ก' ช่วยชะลอความแก่ อาหารต้านริ้วรอย หาทานง่าย ดีต่อสุขภาพปลัดสาวเมาขับ ชนเด็กเสียชีวิตขนม เม้นท์ เลี้ยงลูกเป็นเพื่อนกันนะ หลังครูเต้ยโพสต์คลิปเพจดัง เเฉ แก๊งทริปน้ำไม่อาบชนพระเเล้วหนี้"Dabbawala" อาชีพเก่าแก่แห่งเมืองมุมไบ"ผู้บริหารมาม่าไขปริศนา ยอดขายพุ่งเพราะเศรษฐกิจแย่ หรือแค่คิดไปเอง?"จับแก๊งค้ารถเถื่อนเพจ 'เจ้าชาย รถหลุด'ตำรวจสกัดจับกลุ่ม ทริปน้ำไม่อาบ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
น.1 จ่อแถลงคดีหมอบุญ ฉ้อโกง เช็คเด้ง"ผู้บริหารมาม่าไขปริศนา ยอดขายพุ่งเพราะเศรษฐกิจแย่ หรือแค่คิดไปเอง?"จับแก๊งค้ารถเถื่อนเพจ 'เจ้าชาย รถหลุด'ฮาลั่น! คำตอบของหนูน้อยไร้เดียงสาที่มาประกวดนางนพมาศ..รับรองขำแน่นอน
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
"Dabbawala" อาชีพเก่าแก่แห่งเมืองมุมไบจากชายถังแตกสู่ดาวค้างฟ้า เพราะหนัง Rockyหมอแล็บแพนด้าเตือนภัย! แข่งกินเหล้าไว-กินเหล้าทน เสี่ยงเสียชีวิตจากแอลกอฮอล์เป็นพิษแบบเฉียบพลัน10 เทคนิคปรุงอาหารให้อร่อยโดดเด่น โดยไม่ง้อผงชูรส
ตั้งกระทู้ใหม่