วิธีการจำสูตร,คำศัพท์ ได้โดยไม่ต้องใช้แม้แต่ความพยายามที่จะจำ
วันนี้เปิ้ลกลับมาอีกครั้งกับกระทู้เนื้อหาดีๆในการฝึกภาษาอังกฤษคะ โดยในวันนี้เปิ้ลจะมาพูดถึงวิธีการจำโดยไม่ต้องจำและวิธีจำคำศัพท์ที่ออกเสียงไม่ตรงตัว บางคนเริ่มสงสัยแล้วว่าทำได้ด้วยหรอ ถ้าหากย้อนไปในการศึกษาในสมัยก่อนๆหรือปัจจุบันจะมีอาจารย์หลายท่านเคยให้เราท่องสูตรต่างๆ คำศัพท์ หรือแม้แต่การคัด เพื่อให้เรานั้นสามารถจำข้อมูลเหล่านั้นได้ แต่จริงๆแล้วยังมีหลายวิธีที่สามารถทำให้เรารับข้อมูลเหล่านั้นเข้ามา
นั้นก็คือการใช้ภาพคะ เพราะสมองของเราจดจำภาพได้ดีกว่าการท่องจำ หากใครนึกภาพไม่ออกเดี๋ยวเปิ้ลจะยกตัวอย่างง่ายๆให้ฟังนะคะ เชื่อไหมคะว่ามีหลายอย่างรอบตัวเราที่เราเพียงแค่เห็นมันบ่อยเราก็จำได้เองโดยไม่ต้องมานั่งท่อง หรือแม้แต่มานั่งพยายามที่จะจำ
ลองมาเล่นเกมสนุกๆกันนะคะเพื่อทำให้เห็นว่าทุกท่านจริงๆแล้วเคยใช้วิธีจำโดยไม่ต้องจำ มาแล้วหลายต่อหลายครั้งแต่แค่เราไม่รู้ตัว พร้อมแล้วเริ่มเลยนะคะ เปิ้ลจะบอกชื่อสีต่างๆ แล้วให้ เพื่อนๆพี่ๆ ช่วยกันบอกว่าชื่อของธนาคารนั้นคืออะไร ให้เวลา3วินาทีต่อ1ข้อนะคะ
1สีม่วง 2 สีเขียว 3 สีชมพู 4สีฟ้า 5สีส้ม 6สีเหลือง 7สีเขียวอีกเขียวหนึง หลายๆท่าน สามารถตอบได้แทบไม่ต้องคิดเลยใช่ไหมคะ แต่บางอันอาจจะใช้เวลาคิดเยอะกว่า เพราะบางสีที่กำหนดไปเป็นธนาคารที่มาใหม่กว่าทุกอันและไม่ได้เห็นบ่อยนัก
เราสามารถจดจำสี ภาพ ได้เป็นอย่างดีโดยที่เราไม่ต้องมาพยายามที่จะจำ แต่จุดสำคัญคือการใช้ความถี่ให้เราเห็นสิ่งนั้นบ่อย สายตา และสมองจะทำงานร่วมกัน เหมือนที่เราจำสีธนาคารได้มากมาย อย่างไม่น่าเชื่อโดยที่ไม่เคยมีใครมาให้เราท่องจำหรือแม้แต่สีของค่ายโทรศัพท์มือถือเป็นต้น
แล้วเราจะมาประยุกต์ใช้อย่างไรกันดี ?
คำตอบง่ายมากๆเลยคะ สำหรับใครที่ต้องจำสูตร คำศัพท์ เราลองหากระดาษA4แล้วนำสีมาเขียนตัวใหญ่ๆ ติดไว้ยังที่ๆเราสามารถเห็นได้บ่อยๆเช่น ห้องน้ำ ห้องนอน โต๊ะทำงาน เมื่อเราเห็นบ่อยๆ สมองเริ่มทำงาน โดยที่เราไม่รู้สึกว่าเรากำลังจำนะ เพราะเวลาสมองทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกฝนอะไรบ่อยๆ แรกๆอาจไม่เห็นผล แต่พอใช้เวลายาวนานไปจนสะสมสิ่งเหล่านั้นมากพอ มันจะออกเป็นผลลัพท์มาอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งกระบวนการทำงานของสมองนั้นเราไม่รู้สึกได้เหมือนเวลา เราโดนตี โดนหยิก
แต่หากใครอยากจะทำให้เร็วขึ้นก็สามารถมองและอ่านบ่อยๆ มองด้วยสมาธิ พิจารณา แต่อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่า การเก็บข้อมูลในสมองมีทั้งในแบบระยะสั้นและระยะยาว เหมือนที่บางเรื่องเราจำได้แล้วช่วงเวลาหนึ่งเราก็ลืมกับบางเรื่องที่เราสามารถจดจำได้อย่างยาวนาน
ซึ่งการเปลี่ยนความจำระยะสั้นให้เป็นความจำระยะยาวนั้น อาจจะต้องอาศัยการทบทวนช่วย
ตัวอย่างเช่น
- เขียนตัวใหญ่
- เขียนให้สั้นและกระชับถ้าเป็นสูตร
- ใช้สีสันช่วยได้
เช่นคำว่า purpose บางคนอาจจะอ่านออกเสียงว่า เพอร์โพส แต่จริงๆนั้นคือ เพอ'เพิส ให้เราลองหาเสียงคำที่ใกล้เคียงมาจำดูนะคะ อย่างเปิ้ลๆใช้คำว่า แพมเพิส เวลาเจอคำนี้หรือต้องใช้คำนี้ก็จะนึกถึงภาพแพมเพิส จริงๆใช้ได้กับทุกภาษานะคะ อย่างภาษาจีนก็มีหลายคำที่เสียง2-3คำติดกันแล้ว คล้ายๆคำ หรือประโยคสั้นๆของไทย
เพราะการออกเสียงนั้นสำคัญมาก หากเราออกเสียงผิดก็จะทำให้ผู้สนทนาด้วยไม่เข้าใจในความหมายเพราะมีหลายคำที่เป็นคำพ้องเสียง ความหมายก็จะต่างกันไป
จริงๆแล้วการจำ นอกจากภาพ เปิ้ลว่าสมองเราจะจดจำกลอน เพลง เสียงได้เป็นอย่างดี เหมือนเวลาเราได้ยินเสียงคนใกล้ตัวบ่อยๆ เราก็จำได้ ได้ยินเพลงบ่อยๆ เรากลับร้องเนื้อได้ หรือการนำเพลงกรุงเทพมหานคร มาแต่งทำนอง เรากลับจำได้ง่ายกว่าการมาท่องชื่อกรุงเทพเต็มๆซะอีก ลองเอาไปประยุกต์ใช้กันดูนะคะ
สุดท้ายนี้อยากให้ลองเอาวิธีการนี้ไปใช้ดูนะคะ เปิ้ลเชื่อว่าหลายๆท่านคงรู้หมดแล้ว แต่ก็มีอีกหลายๆท่านที่ยังไม่เคยทราบมาก่อน แล้วพบกันใหม่ในกระทู้หน้านะคะ สวัสดีคะ